พระนครศรีอยุธยา - สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดความเหลื่อมล้ำผู้ป่วย
วันนี้ (11 พ.ค. 55) นพ.สมพงษ์ บุญสืบชาติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความช่วยร่วมมือ ในการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนไทยของ 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้แนวคิด “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” เพียงแค่แสดงบัตรประชาชนในกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินมาโรงพยาบาล ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที เริ่ม 1 เมษายน นี้ หมอใหญ่กรุงเก่า : แจงนโยบายสร้างความเป็นเอกภาพ ลดความเหลื่อมล้ำาของ 3 กองทุน “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”
จากนโยบายเรื่องด่วนของรัฐบาล เรื่อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาล “นโยบายลดความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน” “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายความถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรคได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคาม ต่อการท้างานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจท้าให้เสียชีวิตได้ทันที
ยกตัวอย่างเช่น หัวใจหยุดเต้น หอบหืดขั้นรุนแรง มีการเขียวคล้ำของปากและเล็บมือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลมทั้งหมด อุบัติเหตุรุนแรงบริเวณใบหน้าและล้าคอ มีเลือดออกมาก ภาวะช็อกจากการเสียเลือดหรือขาดน้ำอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกิดขนาด ถูกสุนัขกัดบริเวณใบหน้าและล้าคอ เป็นต้น
การรักษาทุกที่ หมายความถึง สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ทุกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุด โดยไม่ต้องถูกถามสิทธิก่อนรักษา ไม่ต้องสำรองเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนกว่าอาการจะทุเลาลง
ทั่วถึงทุกคน หมายความถึง ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน ซึ่งได้แก่ กลุ่มข้าราชการไทยและครอบครัว จากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการกรมบัญชีกลาง, กลุ่มประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส้านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลุ่มประชาชนที่มีสิทธิประกันสังคม จากกองทุนประกันสังคม ส้านักงานประกันสังคม
เป้าหมายของความร่วมมือของทั้ง 3 กองทุนครั้งนี้ คือ เมื่อมีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่อาจถึงแก่ชีวิต จะต้องไม่ถูกถามสิทธิ และสามารถรักษาได้ทันทีในทุกพื้นที่ โดยคนไทยทุกคนจะต้องได้รับบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคระหว่าง 3 กองทุนสุขภาพของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ่ายเบี่ยงการรักษา การถามสิทธิก่อนรักษา และต้องสำรองจ่ายเงินก่อนการรักษาของผู้ป่วยฉุกเฉิน อันเป็นอุปสรรคส้าคัญในการบริการจัดการที่ผ่านมา ทั้งนี้ ประชาชนที่อยู่นอกเหนือ 3 กองทุนดังกล่าว ได้แก่ ลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทางรัฐบาลจะด้าเนินการให้ได้รับสิทธิการรักษาโดยเร็ว
นอกจากนี้ สปสช.ยังจะได้จัดระบบประสานงานการชดเชยกับกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ และให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพัฒนาศักยภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาล และระบบส่งต่อผู้ป่วยให้เข้มแข็งขึ้น และได้เร่งประชาสัมพันธ์ สื่อสารเรื่องภาวการณ์ป่วยฉุกเฉิน เพื่อท้าความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนและวิธีการรับบริการโรงพยาบาลเพื่อให้เข้าใจตรงกัน โดยย้ำให้ประชาชนจำหมายเลข ๑๖๖๙ สายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือสอบถาม 1330 สายด่วน สปสช. ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน
วันนี้ (11 พ.ค. 55) นพ.สมพงษ์ บุญสืบชาติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความช่วยร่วมมือ ในการสร้างหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนไทยของ 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้แนวคิด “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” เพียงแค่แสดงบัตรประชาชนในกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินมาโรงพยาบาล ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที เริ่ม 1 เมษายน นี้ หมอใหญ่กรุงเก่า : แจงนโยบายสร้างความเป็นเอกภาพ ลดความเหลื่อมล้ำาของ 3 กองทุน “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”
จากนโยบายเรื่องด่วนของรัฐบาล เรื่อง “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาล “นโยบายลดความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน” “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายความถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรคได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคาม ต่อการท้างานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจท้าให้เสียชีวิตได้ทันที
ยกตัวอย่างเช่น หัวใจหยุดเต้น หอบหืดขั้นรุนแรง มีการเขียวคล้ำของปากและเล็บมือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลมทั้งหมด อุบัติเหตุรุนแรงบริเวณใบหน้าและล้าคอ มีเลือดออกมาก ภาวะช็อกจากการเสียเลือดหรือขาดน้ำอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกิดขนาด ถูกสุนัขกัดบริเวณใบหน้าและล้าคอ เป็นต้น
การรักษาทุกที่ หมายความถึง สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ทุกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุด โดยไม่ต้องถูกถามสิทธิก่อนรักษา ไม่ต้องสำรองเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนกว่าอาการจะทุเลาลง
ทั่วถึงทุกคน หมายความถึง ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน ซึ่งได้แก่ กลุ่มข้าราชการไทยและครอบครัว จากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการกรมบัญชีกลาง, กลุ่มประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส้านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลุ่มประชาชนที่มีสิทธิประกันสังคม จากกองทุนประกันสังคม ส้านักงานประกันสังคม
เป้าหมายของความร่วมมือของทั้ง 3 กองทุนครั้งนี้ คือ เมื่อมีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่อาจถึงแก่ชีวิต จะต้องไม่ถูกถามสิทธิ และสามารถรักษาได้ทันทีในทุกพื้นที่ โดยคนไทยทุกคนจะต้องได้รับบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคระหว่าง 3 กองทุนสุขภาพของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ่ายเบี่ยงการรักษา การถามสิทธิก่อนรักษา และต้องสำรองจ่ายเงินก่อนการรักษาของผู้ป่วยฉุกเฉิน อันเป็นอุปสรรคส้าคัญในการบริการจัดการที่ผ่านมา ทั้งนี้ ประชาชนที่อยู่นอกเหนือ 3 กองทุนดังกล่าว ได้แก่ ลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทางรัฐบาลจะด้าเนินการให้ได้รับสิทธิการรักษาโดยเร็ว
นอกจากนี้ สปสช.ยังจะได้จัดระบบประสานงานการชดเชยกับกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ และให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพัฒนาศักยภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาล และระบบส่งต่อผู้ป่วยให้เข้มแข็งขึ้น และได้เร่งประชาสัมพันธ์ สื่อสารเรื่องภาวการณ์ป่วยฉุกเฉิน เพื่อท้าความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนและวิธีการรับบริการโรงพยาบาลเพื่อให้เข้าใจตรงกัน โดยย้ำให้ประชาชนจำหมายเลข ๑๖๖๙ สายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือสอบถาม 1330 สายด่วน สปสช. ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน