ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - “ยิ่งลักษณ์” เผยประชุม กปส.รับฟังแผนดำเนินงานของโครงการหลวงระยะ 5 ปี-เตรียมส่ง รมต.ช่วยงาน พร้อมเล็งประสานนำแนวทางอนุรักษ์ป่าโครงการหลวงร่วมบูรณาการกับ กยน.แก้ปัญหาน้ำ ชี้ระยะยาวต้องสร้างแผนจัดการน้ำทั้งระบบให้ได้ เล็งระดมข้อมูลใหม่ ก่อนเดินหน้าวางแผนแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นถึงปลายน้ำ ยันถึงน้ำมากต้องมีทางออก
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ที่มูลนิธิโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ในวันนี้ (10 ก.พ.) ว่า ได้หารือกันเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานของโครงการหลวง พร้อมทั้งรับทราบแผนการทำงานของโครงการหลวง ทั้งในปี 2555 และที่จะทำต่อจากนี้ไปอีก 4 ปี
ในภาพรวมแล้ว แผนการดำเนินงานของโครงการหลวงจะเน้นทั้งในเรื่องของการวิจัย การพัฒนา การส่งเสริมเกษตรกร และด้านการตลาด โดยตนได้มอบหมายให้รัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้าไปช่วยขยายผลในส่วนต่างๆ เช่น การสร้างรายได้ให้กับชุมชน หรือการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ยังได้หารือกันถึงการอนุรักษ์ป่าและการดูแลรักษาพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญอย่างหนึ่งของโครงการหลวง ที่สอดคล้องกับแนวทางการทำงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ซึ่งจะได้มีการประสานให้เกิดการทำงานร่วมกัน โดยจะมอบหมายให้กรพะทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประสานกับโครงการหลวง รวมทั้งบูรณาการกับ กยน.เพื่อให้เกิดเอกภาพในการพิจารณาว่า จะบริหารจัดการพื้นที่ต้นน้ำในแต่ละแห่งอย่างไร ทั้งในเรื่องของการปลูกป่า การอนุรักษ์หน้าดิน การกำหนดพื้นที่ชะลอน้ำ และพื้นที่สำหรับส่งเสริมการทำการเกษตร ก่อนที่จะกำหนดตัวผู้รับผิดชอบ เพื่อเร่งดำเนินการในพื้นที่เร่งด่วน เพื่อเตรียมการรองรับสาถนการณ์น้ำในช่วง 3-4 เดือนต่อจากนี้
นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังได้กล่าวถึงการเตรียมการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำ ว่า ที่ผ่านมา แม้จะมีการประสานงานกันอยู่แล้ว แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างทำให้งานยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งตนก็ขอน้อมรับในเรื่องดังกล่าว โดยได้เร่งประสานและติดตามความคืบหน้าไปยังทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเตรียมที่จะนำปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาพิจารณาเพื่อให้เกิดการบูรณาการการจัดการน้ำทั้งระบบ จากที่ในปัจจุบันยังไม่มีการบูรณาการกันอย่างจริงจัง
ในระยะยาวจะต้องมีการพิจารณาในทุกด้าน ตั้งแต่การตรวจสอบพื้นที่ต้นน้ำ ว่า มีอยู่ที่ใดบ้าง และจะบริหารจัดการอย่างไร จุดไหนควรปลูกป่ารักษาสภาพแวดล้อมเอาไว้ ขณะที่พื้นที่กลางน้ำจะต้องดูในเรื่องของการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร การรองรับน้ำและระบายน้ำได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งต้องพิจารณาเรื่องของการคำนวณปริมาณน้ำและความสามารถในการรองรับน้ำทั้งระบบ เพราะในปัจจุบันข้อมูลสถิติที่มีอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่สามารถยึดถือข้อมูลเดิมๆ มาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ จำเป็นจะต้องทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนจัดการน้ำทั้งหมด
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า การทำงานดังกล่าวทุกฝ่ายจะต้องเข้าใจในเรื่องของระบบนิเวศและธรรมชาติของน้ำ รวมทั้งมีแนวความคิดที่เป็นเอกภาพเดียวกันก่อน จากนั้นจึงจะมาพิจารณาทั้งในเรื่องของการอนุรักษ์ การจัดการและการระบายน้ำต่อไป
ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่พูดว่าจะต้องก่อสร้างหรือทำโครงการใหญ่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเท่านั้น แต่จะมุ่งไปที่การดึงทุกฝ่ายให้เข้ามาร่วมแรงร่วมใจกันในการแก้ปัญหา เพราะรู้ว่าปัญหาดังกล่าวจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการทำงาน และต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือทำให้ระบบการจัดการน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีน้ำมากต้องมีทางออกและทางระบาย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ที่มูลนิธิโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ในวันนี้ (10 ก.พ.) ว่า ได้หารือกันเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานของโครงการหลวง พร้อมทั้งรับทราบแผนการทำงานของโครงการหลวง ทั้งในปี 2555 และที่จะทำต่อจากนี้ไปอีก 4 ปี
ในภาพรวมแล้ว แผนการดำเนินงานของโครงการหลวงจะเน้นทั้งในเรื่องของการวิจัย การพัฒนา การส่งเสริมเกษตรกร และด้านการตลาด โดยตนได้มอบหมายให้รัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เข้าไปช่วยขยายผลในส่วนต่างๆ เช่น การสร้างรายได้ให้กับชุมชน หรือการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ยังได้หารือกันถึงการอนุรักษ์ป่าและการดูแลรักษาพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญอย่างหนึ่งของโครงการหลวง ที่สอดคล้องกับแนวทางการทำงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ซึ่งจะได้มีการประสานให้เกิดการทำงานร่วมกัน โดยจะมอบหมายให้กรพะทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประสานกับโครงการหลวง รวมทั้งบูรณาการกับ กยน.เพื่อให้เกิดเอกภาพในการพิจารณาว่า จะบริหารจัดการพื้นที่ต้นน้ำในแต่ละแห่งอย่างไร ทั้งในเรื่องของการปลูกป่า การอนุรักษ์หน้าดิน การกำหนดพื้นที่ชะลอน้ำ และพื้นที่สำหรับส่งเสริมการทำการเกษตร ก่อนที่จะกำหนดตัวผู้รับผิดชอบ เพื่อเร่งดำเนินการในพื้นที่เร่งด่วน เพื่อเตรียมการรองรับสาถนการณ์น้ำในช่วง 3-4 เดือนต่อจากนี้
นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังได้กล่าวถึงการเตรียมการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำ ว่า ที่ผ่านมา แม้จะมีการประสานงานกันอยู่แล้ว แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างทำให้งานยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งตนก็ขอน้อมรับในเรื่องดังกล่าว โดยได้เร่งประสานและติดตามความคืบหน้าไปยังทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเตรียมที่จะนำปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาพิจารณาเพื่อให้เกิดการบูรณาการการจัดการน้ำทั้งระบบ จากที่ในปัจจุบันยังไม่มีการบูรณาการกันอย่างจริงจัง
ในระยะยาวจะต้องมีการพิจารณาในทุกด้าน ตั้งแต่การตรวจสอบพื้นที่ต้นน้ำ ว่า มีอยู่ที่ใดบ้าง และจะบริหารจัดการอย่างไร จุดไหนควรปลูกป่ารักษาสภาพแวดล้อมเอาไว้ ขณะที่พื้นที่กลางน้ำจะต้องดูในเรื่องของการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร การรองรับน้ำและระบายน้ำได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งต้องพิจารณาเรื่องของการคำนวณปริมาณน้ำและความสามารถในการรองรับน้ำทั้งระบบ เพราะในปัจจุบันข้อมูลสถิติที่มีอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่สามารถยึดถือข้อมูลเดิมๆ มาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ จำเป็นจะต้องทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนจัดการน้ำทั้งหมด
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า การทำงานดังกล่าวทุกฝ่ายจะต้องเข้าใจในเรื่องของระบบนิเวศและธรรมชาติของน้ำ รวมทั้งมีแนวความคิดที่เป็นเอกภาพเดียวกันก่อน จากนั้นจึงจะมาพิจารณาทั้งในเรื่องของการอนุรักษ์ การจัดการและการระบายน้ำต่อไป
ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่พูดว่าจะต้องก่อสร้างหรือทำโครงการใหญ่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเท่านั้น แต่จะมุ่งไปที่การดึงทุกฝ่ายให้เข้ามาร่วมแรงร่วมใจกันในการแก้ปัญหา เพราะรู้ว่าปัญหาดังกล่าวจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการทำงาน และต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือทำให้ระบบการจัดการน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีน้ำมากต้องมีทางออกและทางระบาย