ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - เชียงใหม่เตรียมเดินหน้าขอคืนพื้นที่รุกล้ำแม่น้ำปิง 7 ช่วง 20 กม.พร้อมเตรียมขุดลอก-ขยายแม่น้ำให้กว้าง 90 ม.เชื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ แต่ยังหวั่นปัญหารุกล้ำรุนแรงหลายที่โดยเฉพาะเขตตัวเมือง เชื่องานยาก-ใช้เวลานาน ย้ำ เน้นเจรจาก่อนเป็นหลักส่วนหากไม่ได้ผลค่อยบังคับใช้กฎหมาย
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่ห้องประชุม 4 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ คณะกรรมการเจรจาขอคืนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกเพื่อขุดลอกขยายแม่น้ำปิง ได้จัดการประชุมครั้งที่ 1/2555 ขึ้น โดยมี นายอดิศร กำเนิดศิริ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุม และมีตัวแทนจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
คณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากแผนการแก้ไขการรุกล้ำลำน้ำปิงและลำน้ำอื่น จากข้อสั่งการของคณะทำงานจัดทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการจังหวัดเชียงใหม่ ตามคำสั่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 2920/2554 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการจังหวัดเชียงใหม่
โดยในการประชุมในครั้งแรกของคณะกรรมการชุดนี้ ได้มีการหารือกันถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำแม่น้ำปิงและการขุดลอกขยายแม่น้ำปิง โดยคณะกรรมการมีแผนที่จะทำการรังวัดและตรวจสอบการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ขอบเขตแม่น้ำปิงทั้ง 2 ฝั่ง หลังจากพบว่าพื้นที่ตั้งแต่เหนือสะพานนวรัฐขึ้นไป 10 กิโลเมตร และใต้สะพานนวรัฐลงมา 10 กิโลเมตร มีการเข้าทำประโยชน์ที้งที่ไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ จำนวน 1,0333 แปลง
นอกจากนี้ คณะกรรมการยังมีแผนการที่จะดำเนินการขุดลอกขยายแม่น้ำปิง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ภายใต้เป้าหมายที่จะขยายความกว้างของแม่น้ำปิงให้ได้ไม่ต่ำกว่า 90 เมตร หลังจากที่ในปัจจุบันความกว้างของแม่น้ำปิงในหลายๆ จุดนั้นไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าว โดยบางจุดพบว่ามีความกว้างเฉลี่ยเพียง 50 เมตรเท่านั้น
สำหรับการวางแผนขุดลอกขยายแม่น้ำปิงจะทำใน 7 ช่วง ได้แก่ 1.สะพานป่าตันถึงสะพานรัตนโกสินทร์ 2.สะพานรัตนโกสินทร์ถึงสะพานนครพิงค์ 3.สะพานนครพิงค์ถึงโรงแรมเพชรงาม 4.โรงแรมเพชรงามถึงวัดชัยมงคล 5.วัดชัยมงคลถึงโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกประถม 6.โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกประถามถึงฝายหนองผึ้ง และ 7.ฝายหนองผึ้งถึงวัดเจดีย์เหลี่ยม รวมระยะทางตลอดทั้ง 7 ช่วงประมาณ 20 กิโลเมตร
ในที่ประชุมยังได้หารือกันถึงพื้นที่ในช่วงต่างๆ ที่อาจจะต้องทำการเจรจาหรือขอคืนพื้นที่จากการรุกล้ำแม่น้ำปิง โดยได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายถึงปัญหาในการขอคืนพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่หลายๆ จุดอย่าในย่านชุมชนและตัวเมืองซึ่งมีประชาชนอยู่อาศัยและก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ ซึ่งในทางปฏิบัติการขอให้รื้อถอนหรืออพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวอาจมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน
ขณะเดียวกัน กรณีดังกล่าวยังมีปัญหาในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากที่ผ่านมามีความพยายามในการดำเนินการขุดลอกแม่น้ำปิงมาตั้งแต่ครั้งรัฐบาลในสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการฟ้องร้องผู้ที่รุกล้ำแม่นน้ำปิงรวมทั้งขอให้รื้อถอนแล้วหลายราย แต่ปรากฏว่าคดีกลับหมดอายุความ ไม่มีความคืบหน้าหรือยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลอีกเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ นายอดิศร ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเจรจาขอคืนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกเพื่อขุดลอกขยายแม่น้ำปิงได้กล่าวกับที่ประชุม ว่า ในเบื้องต้นคณะกรรมการจะต้องกำหนดแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวขึ้นก่อน เพื่อเตรียมนำเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้ตความเห็นชอบต่อไป
ส่วนในขั้นตอนการปฏิบัตินั้นจะเน้นหนักไปที่การเจรจาขอความร่วมมือเป็นหลัก โดยจะใช้กระบวนการทางด้านกฎหมายเป็นขั้นตอนสุดท้าย หากการเจรจากับผู้ที่รุกล้ำพื้นที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่ห้องประชุม 4 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ คณะกรรมการเจรจาขอคืนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกเพื่อขุดลอกขยายแม่น้ำปิง ได้จัดการประชุมครั้งที่ 1/2555 ขึ้น โดยมี นายอดิศร กำเนิดศิริ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุม และมีตัวแทนจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
คณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากแผนการแก้ไขการรุกล้ำลำน้ำปิงและลำน้ำอื่น จากข้อสั่งการของคณะทำงานจัดทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการจังหวัดเชียงใหม่ ตามคำสั่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 2920/2554 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการจังหวัดเชียงใหม่
โดยในการประชุมในครั้งแรกของคณะกรรมการชุดนี้ ได้มีการหารือกันถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำแม่น้ำปิงและการขุดลอกขยายแม่น้ำปิง โดยคณะกรรมการมีแผนที่จะทำการรังวัดและตรวจสอบการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ขอบเขตแม่น้ำปิงทั้ง 2 ฝั่ง หลังจากพบว่าพื้นที่ตั้งแต่เหนือสะพานนวรัฐขึ้นไป 10 กิโลเมตร และใต้สะพานนวรัฐลงมา 10 กิโลเมตร มีการเข้าทำประโยชน์ที้งที่ไม่มีเอกสารสิทธิใดๆ จำนวน 1,0333 แปลง
นอกจากนี้ คณะกรรมการยังมีแผนการที่จะดำเนินการขุดลอกขยายแม่น้ำปิง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ภายใต้เป้าหมายที่จะขยายความกว้างของแม่น้ำปิงให้ได้ไม่ต่ำกว่า 90 เมตร หลังจากที่ในปัจจุบันความกว้างของแม่น้ำปิงในหลายๆ จุดนั้นไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าว โดยบางจุดพบว่ามีความกว้างเฉลี่ยเพียง 50 เมตรเท่านั้น
สำหรับการวางแผนขุดลอกขยายแม่น้ำปิงจะทำใน 7 ช่วง ได้แก่ 1.สะพานป่าตันถึงสะพานรัตนโกสินทร์ 2.สะพานรัตนโกสินทร์ถึงสะพานนครพิงค์ 3.สะพานนครพิงค์ถึงโรงแรมเพชรงาม 4.โรงแรมเพชรงามถึงวัดชัยมงคล 5.วัดชัยมงคลถึงโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกประถม 6.โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกประถามถึงฝายหนองผึ้ง และ 7.ฝายหนองผึ้งถึงวัดเจดีย์เหลี่ยม รวมระยะทางตลอดทั้ง 7 ช่วงประมาณ 20 กิโลเมตร
ในที่ประชุมยังได้หารือกันถึงพื้นที่ในช่วงต่างๆ ที่อาจจะต้องทำการเจรจาหรือขอคืนพื้นที่จากการรุกล้ำแม่น้ำปิง โดยได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายถึงปัญหาในการขอคืนพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่หลายๆ จุดอย่าในย่านชุมชนและตัวเมืองซึ่งมีประชาชนอยู่อาศัยและก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ ซึ่งในทางปฏิบัติการขอให้รื้อถอนหรืออพยพออกจากพื้นที่ดังกล่าวอาจมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน
ขณะเดียวกัน กรณีดังกล่าวยังมีปัญหาในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากที่ผ่านมามีความพยายามในการดำเนินการขุดลอกแม่น้ำปิงมาตั้งแต่ครั้งรัฐบาลในสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการฟ้องร้องผู้ที่รุกล้ำแม่นน้ำปิงรวมทั้งขอให้รื้อถอนแล้วหลายราย แต่ปรากฏว่าคดีกลับหมดอายุความ ไม่มีความคืบหน้าหรือยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลอีกเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ นายอดิศร ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเจรจาขอคืนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกเพื่อขุดลอกขยายแม่น้ำปิงได้กล่าวกับที่ประชุม ว่า ในเบื้องต้นคณะกรรมการจะต้องกำหนดแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวขึ้นก่อน เพื่อเตรียมนำเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้ตความเห็นชอบต่อไป
ส่วนในขั้นตอนการปฏิบัตินั้นจะเน้นหนักไปที่การเจรจาขอความร่วมมือเป็นหลัก โดยจะใช้กระบวนการทางด้านกฎหมายเป็นขั้นตอนสุดท้าย หากการเจรจากับผู้ที่รุกล้ำพื้นที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้