นครปฐม - เลขาธิการมูลนิชัยพัฒนา บอกคนไทยทั้งชาติ ควรรับงานต่อจากพ่อ เพื่อรักษาแผ่นดินให้คงอยู่ และยั่งยืนเพื่อลูกหลานต่อไป ชี้ เห็นพระทัยที่ทรงงานเพื่อให้คนไทยมีความสุข จนพระวรกายเหน็ดเหนื่อยมากแล้ว
วันนี้ (20 ม.ค.) ที่อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา อ.เมือง จ.นครปฐม ภายในงานเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ล้นเกล้าของชาวไทย” โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ร่วมกับคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดนครปฐม องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีการเสวนาในหัวข้อ “ล้นเกล้าฯ ในดวงใจ” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา, อาจารย์สันทัด ตัณฑนันทน์ รองประธานมูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9, ดร.อุทัย ดุลยเกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้บรรยายถึงพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงงานเพื่อคนไทยในเรื่องต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนชาวไทยมาถึง 65 ปี โดยเฉพาะเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และโดยไม่ใช่เรื่องแค่การรักษาแค่น้ำ แต่หมายถึงจะรักษาแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่อย่างไร โดยหมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เป็นธรรมชาติที่มีความสำคัญที่ต้องเก็บไว้ให้คนรุ่นหลังให้คงอยู่ต่อไป
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นถึงความสำคัญของป่ามานานแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังเห็นว่า มีข่าวการตัดไม้ทำลายป่าทุกวัน พระองค์ทรงทำทุกทางเกี่ยวกับเรื่องดิน เพราะมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องน้ำ ทรงพยายามฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นดินที่สมบูรณ์พระองค์ทรงใช้เวลา 7 ปี ในการฟื้นฟู ห้วยทราย ที่ จังหวัดเพชรบุรี หรือที่ เขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดเพชรบุรี ทรงใช้ความสามารถในการแก้ปัญหา จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ รวมถึงที่แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี ที่มีน้ำเน่าเหม็นให้กลับมาเป็นน้ำที่ใสสะอาด โดยวิธีธรรมชาติล้วนๆ ไม่ต้องไปใช้โรงกรองน้ำที่ต้องใช้ไฟฟ้ามากมาย มีเพียงพลังงานจากลม แสงแดด การตกตะกอน ตามธรรมชาติ และพืชต่างๆ ที่มาช่วย ซึ่งถึงว่าพืชหลายๆ ชนิดนั้นยังมีค่ามากกว่าคนที่ไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับแผ่นดินด้วยซ้ำ พระองค์ทรงใช้ธรรมะ คือ ธรรมชาติที่มีอยู่และเป็นที่เห็นว่าธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์นั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่เคยมีธรรมชาติที่ไหนมาเรียกเก็บเงินเรา และเรามีของฟรีอยู่เราต้องรู้จักการนำมาใช้
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวต่อว่า วันนี้รู้หรือไม่ว่า น้ำ 100 หยด รักษาได้เพียง 8 หมด อีก 92 หยดอย่างที่รู้กัน จังหวัดนครปฐม ก็ได้รับผลกระทบมาแล้ว คือ หมายถึงการจัดการบริหารน้ำไม่ดี มันก็เป็นอย่างที่เกิดขึ้นน้ำมันก็มา และหากใครมองว่าน้ำเป็นศัตรูก็ถือว่าบ้าแล้ว น้ำมีประโยชน์มาก แต่เรากลับนำมาใช้ไม่เป็น น้ำก็เหมือนเงิน มีเยอะก็ต้องมีการนำไปฝากธนาคาร และการเก็บน้ำที่ดีที่สุด ก็คือ การขุดกักเก็บไว้ ตามทฤษฎีที่เคยบอก 30 เปอร์เซ็นต์ คือ น้ำที่เก็บไว้ใช้ ตรงไหนทำเขื่อนได้ก็ทำเก็บไว้ อย่างจังหวัดกาญจนบุรี น้ำก็นำมาทำไฟได้ ก็คือ ไฟฟ้า เรียกว่าน้ำ คือ ของวิเศษ ตรงไหนควรเก็บตรงไหน ควรปลูกป่า เพื่อกักเก็บน้ำ อยู่ที่การบริหารจัดการ
เมื่อ 30 ปีที่แล้ว พระบามทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกผมไปดูเรื่องน้ำมันปาล์ม ผมก็ยังสงสัยว่าจะไปดูทำไมเมื่อไบโอดีเซล ตอนนั้นมีราคาต้นทุน ลิตรละ 9 บาท ในขณะที่น้ำมันดีเซลตอนนั้นมีราคาจำหน่าย 10 สลึง ท่านก็ทรงไปร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดวิจัยและจดสิทธิบัตร ตอนนั้นผมก็ไม่เข้าใจจริงๆ แต่ด้วยการตัดความรำคาญท่านก็ทรงบอกว่าทำไปเถอะ แต่วันนี้เห็นผลแล้วว่าราคาน้ำมันดีเซลเป็นเช่นไร ถ้าเราทำมาต่อและวิจัยและปลูกต้นปาล์มไว้ตั้งแต่ตอนนี้ตอนนี้เราก็ไม่ลำบาก ไม่ทุกข์ ก็ตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่เอาตัวเราเองเป็นที่ตั้งก่อน ส่วนเรื่องน้ำ เมื่อ 16 ปี ที่แล้ว เมื่อปี 38 พระองค์ทรงได้ให้หลักการไว้แล้ว แต่ก็ไม่มีรัฐบาลใดเลยที่สนใจทำจนมาถึงวันนี้ดีแต่การพูดว่าเอาอยู่ ทั้งๆ ที่จริงเอาไม่อยู่
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวอีกว่า วันนี้เราต้องคิดว่าน้ำฝนหยดแรนกที่ตกลงมาจะตกตรงไหน ชัดเจนคือที่สูงบนยอดเขาทางเหนือ เมื่อฝนตกมีป่าไม้ ป่าก็ทำหน้าที่กักเก็บน้ำไว้ให้แต่วันนี้ป่าถูกตัดไปเยอะ ไม่มีใครไปเปิดบัญชีธนาคารน้ำเอาไว้ เมื่อน้ำมาจากป่าเยอะก็ลงมามากเป็นธรรมดา วันนี้เราต้องหาที่เก็บน้ำ สร้างเขื่อนตรงไหนเหมาะต้องสร้าง ทั่วโลกไม่มีใครเอาชนะน้ำได้ แม้แต่ญี่ปุ่นที่อยู่กับคลื่นสึนามิมาเป็นร้อยปี เจอไปครั้งล่าสุด ก็ต้องยอมรับ พระองค์ทรงให้ความเห็นว่า น้ำมาอย่าไปขวางหรือกั้น ให้เขามาแล้วเดี่ยวก็ไปแต่โดยดี หรือเมื่อ 2 วันก่อน ได้มีกระแส เกี่ยวกับ Flood way หรือทางน้ำ ก็ใช่รถก็ต้องการถนน น้ำก็ต้องการทางน้ำเหมือนกัน อย่างจังหวัดนครปฐม หลายคนก็บอกว่าอย่าให้น้ำเข้าเมือง สุดท้ายน้ำก็ไปอยู่ตามทุ่งนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้แนวทางว่าไม่ต้องไปขุดคลอง เค้ามาไม่นาน เราทำทางดิน หรือคันดินเป็นทางน้ำก้เพียงพอ ซึ่งบนคันดินยังทำเป็นถนนได้ด้วย
ถึงตรงนี้ เราต้องมากำหนดแล้วว่าตรงไหนจะทำทางน้ำ ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ยอม แต่หากมีการเจรจาว่าปีไหนหากมีการผันน้ำผ่าน จะมีการชดเชยให้ ปีไหนไม่มีน้ำผ่านชาวนาก็ทำนาได้ตามปกติ อย่างนี้ชาวนาชอบและรับได้ เรื่องนี้ต่างชาติก็ทำกันมาทั้งหมดและเป็นแบบนี้ เข้าหลักตรงไหนควรเก็บตรงไหน ควรให้น้ำผ่าน แต่วันนี้เราก็ไม่รู้เป็นเช่นไร บึงบอระเพ็ดจากที่มีพื้นที่รับน้ำได้ 1.3 แสนกว่าไร่ ตอนนี้เหลือ 3 หมื่นไร่ แถมยังมีการกำหนดโฉนดเป็นบ้านเรือนและยังมีที่ทำงานราชการอยู่บนนั้นด้วย วันนี้ผมเห็นพระทัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก ท่าทรงให้แนวคิดมานาน แต่พอเกิดเรื่องขึ้นเพิ่งขุดภาพที่เคยทรงให้แนวทางไว้มาดู เหมือนบทเพลง 16 ปีแห่งความหลัง
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวต่อไปอีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่รัฐบาล ไม่ได้มีอำนาจไปสั่งการกระทรวงทบวงกรม แต่ทรงทำด้วยพระองค์เอง ท่านก็อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ อย่างเมื่อปี 38 ที่ทรงให้แนวทางเรื่องการจัดการน้ำไม่มีใครปฏิบัติตามก็ไม่เห็นมีใครต้องรับโทษ และทรงทำทุกอย่างทั้ง เป็นเอกสาร ภาพยนตร์ หนังสือ และทำให้ทุกจังหวัด ท่านทรงทำประโยชน์ให้กับประชาชนไม่ได้ทำเพื่อหวังกำไร ใครบริจาคผ่านมูลนิธิ ท่านก็ทรงคืนสู่ประชาชนทุกบาททุกสตางค์ พระองค์หวังให้ประชาชนกลับมาดูแลแผ่นดินของตัวเองบ้าง เรามีอยู่มีกินบนแผ่นดินนี้ ต้องมีจิตสำนึกรักษาแผ่นดิน จะรอให้ต่างชาติเข้ามาก็มีแต่จะเข้ามาเอาประโยชน์เท่านั้น คนไทยต้องรักษาแผ่นดิน ซึ่งก่อนที่จะทำหน้าที่ต้อง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
วันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานหนักกว่า 65 ปี แม้สมองจะยังดีเยี่ยมจดจำทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่การเดินทำให้ลำบาก ผลก็เกิดจากการทรงงานเพื่อคนไทยอย่างหนักมาตลอดถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะกลับมารับหน้าที่สานต่องานของพระองค์ได้แล้ว เพราะพระองค์ได้ทรง ทรงทำตามที่เคยได้ตรัสไว้คือ การครองแผ่นดิน การครองไม่ใช่การปกครอง ซึ่งแตกต่างกัน และที่สำคัญทรงได้มอบสิ่งล้ำค่า คือ ประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม เราต้องทำหน้าที่ได้แล้ว คือการรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมที่ดี มีความรักชาติ และรับช่วงทำให้ประเทศเจริญขึ้นและต้องช่วยกันทำเพื่อลูกหลานที่ต้องใช้แผ่นดินอีกต่อไปให้คงเดิม ด้วย
วันนี้ (20 ม.ค.) ที่อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา อ.เมือง จ.นครปฐม ภายในงานเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ล้นเกล้าของชาวไทย” โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ร่วมกับคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดนครปฐม องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีการเสวนาในหัวข้อ “ล้นเกล้าฯ ในดวงใจ” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา, อาจารย์สันทัด ตัณฑนันทน์ รองประธานมูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9, ดร.อุทัย ดุลยเกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
ซึ่ง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้บรรยายถึงพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงงานเพื่อคนไทยในเรื่องต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ปวงชนชาวไทยมาถึง 65 ปี โดยเฉพาะเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และโดยไม่ใช่เรื่องแค่การรักษาแค่น้ำ แต่หมายถึงจะรักษาแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่อย่างไร โดยหมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เป็นธรรมชาติที่มีความสำคัญที่ต้องเก็บไว้ให้คนรุ่นหลังให้คงอยู่ต่อไป
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นถึงความสำคัญของป่ามานานแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังเห็นว่า มีข่าวการตัดไม้ทำลายป่าทุกวัน พระองค์ทรงทำทุกทางเกี่ยวกับเรื่องดิน เพราะมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องน้ำ ทรงพยายามฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นดินที่สมบูรณ์พระองค์ทรงใช้เวลา 7 ปี ในการฟื้นฟู ห้วยทราย ที่ จังหวัดเพชรบุรี หรือที่ เขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดเพชรบุรี ทรงใช้ความสามารถในการแก้ปัญหา จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ รวมถึงที่แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี ที่มีน้ำเน่าเหม็นให้กลับมาเป็นน้ำที่ใสสะอาด โดยวิธีธรรมชาติล้วนๆ ไม่ต้องไปใช้โรงกรองน้ำที่ต้องใช้ไฟฟ้ามากมาย มีเพียงพลังงานจากลม แสงแดด การตกตะกอน ตามธรรมชาติ และพืชต่างๆ ที่มาช่วย ซึ่งถึงว่าพืชหลายๆ ชนิดนั้นยังมีค่ามากกว่าคนที่ไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับแผ่นดินด้วยซ้ำ พระองค์ทรงใช้ธรรมะ คือ ธรรมชาติที่มีอยู่และเป็นที่เห็นว่าธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์นั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่เคยมีธรรมชาติที่ไหนมาเรียกเก็บเงินเรา และเรามีของฟรีอยู่เราต้องรู้จักการนำมาใช้
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวต่อว่า วันนี้รู้หรือไม่ว่า น้ำ 100 หยด รักษาได้เพียง 8 หมด อีก 92 หยดอย่างที่รู้กัน จังหวัดนครปฐม ก็ได้รับผลกระทบมาแล้ว คือ หมายถึงการจัดการบริหารน้ำไม่ดี มันก็เป็นอย่างที่เกิดขึ้นน้ำมันก็มา และหากใครมองว่าน้ำเป็นศัตรูก็ถือว่าบ้าแล้ว น้ำมีประโยชน์มาก แต่เรากลับนำมาใช้ไม่เป็น น้ำก็เหมือนเงิน มีเยอะก็ต้องมีการนำไปฝากธนาคาร และการเก็บน้ำที่ดีที่สุด ก็คือ การขุดกักเก็บไว้ ตามทฤษฎีที่เคยบอก 30 เปอร์เซ็นต์ คือ น้ำที่เก็บไว้ใช้ ตรงไหนทำเขื่อนได้ก็ทำเก็บไว้ อย่างจังหวัดกาญจนบุรี น้ำก็นำมาทำไฟได้ ก็คือ ไฟฟ้า เรียกว่าน้ำ คือ ของวิเศษ ตรงไหนควรเก็บตรงไหน ควรปลูกป่า เพื่อกักเก็บน้ำ อยู่ที่การบริหารจัดการ
เมื่อ 30 ปีที่แล้ว พระบามทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกผมไปดูเรื่องน้ำมันปาล์ม ผมก็ยังสงสัยว่าจะไปดูทำไมเมื่อไบโอดีเซล ตอนนั้นมีราคาต้นทุน ลิตรละ 9 บาท ในขณะที่น้ำมันดีเซลตอนนั้นมีราคาจำหน่าย 10 สลึง ท่านก็ทรงไปร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดวิจัยและจดสิทธิบัตร ตอนนั้นผมก็ไม่เข้าใจจริงๆ แต่ด้วยการตัดความรำคาญท่านก็ทรงบอกว่าทำไปเถอะ แต่วันนี้เห็นผลแล้วว่าราคาน้ำมันดีเซลเป็นเช่นไร ถ้าเราทำมาต่อและวิจัยและปลูกต้นปาล์มไว้ตั้งแต่ตอนนี้ตอนนี้เราก็ไม่ลำบาก ไม่ทุกข์ ก็ตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่เอาตัวเราเองเป็นที่ตั้งก่อน ส่วนเรื่องน้ำ เมื่อ 16 ปี ที่แล้ว เมื่อปี 38 พระองค์ทรงได้ให้หลักการไว้แล้ว แต่ก็ไม่มีรัฐบาลใดเลยที่สนใจทำจนมาถึงวันนี้ดีแต่การพูดว่าเอาอยู่ ทั้งๆ ที่จริงเอาไม่อยู่
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวอีกว่า วันนี้เราต้องคิดว่าน้ำฝนหยดแรนกที่ตกลงมาจะตกตรงไหน ชัดเจนคือที่สูงบนยอดเขาทางเหนือ เมื่อฝนตกมีป่าไม้ ป่าก็ทำหน้าที่กักเก็บน้ำไว้ให้แต่วันนี้ป่าถูกตัดไปเยอะ ไม่มีใครไปเปิดบัญชีธนาคารน้ำเอาไว้ เมื่อน้ำมาจากป่าเยอะก็ลงมามากเป็นธรรมดา วันนี้เราต้องหาที่เก็บน้ำ สร้างเขื่อนตรงไหนเหมาะต้องสร้าง ทั่วโลกไม่มีใครเอาชนะน้ำได้ แม้แต่ญี่ปุ่นที่อยู่กับคลื่นสึนามิมาเป็นร้อยปี เจอไปครั้งล่าสุด ก็ต้องยอมรับ พระองค์ทรงให้ความเห็นว่า น้ำมาอย่าไปขวางหรือกั้น ให้เขามาแล้วเดี่ยวก็ไปแต่โดยดี หรือเมื่อ 2 วันก่อน ได้มีกระแส เกี่ยวกับ Flood way หรือทางน้ำ ก็ใช่รถก็ต้องการถนน น้ำก็ต้องการทางน้ำเหมือนกัน อย่างจังหวัดนครปฐม หลายคนก็บอกว่าอย่าให้น้ำเข้าเมือง สุดท้ายน้ำก็ไปอยู่ตามทุ่งนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้แนวทางว่าไม่ต้องไปขุดคลอง เค้ามาไม่นาน เราทำทางดิน หรือคันดินเป็นทางน้ำก้เพียงพอ ซึ่งบนคันดินยังทำเป็นถนนได้ด้วย
ถึงตรงนี้ เราต้องมากำหนดแล้วว่าตรงไหนจะทำทางน้ำ ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ยอม แต่หากมีการเจรจาว่าปีไหนหากมีการผันน้ำผ่าน จะมีการชดเชยให้ ปีไหนไม่มีน้ำผ่านชาวนาก็ทำนาได้ตามปกติ อย่างนี้ชาวนาชอบและรับได้ เรื่องนี้ต่างชาติก็ทำกันมาทั้งหมดและเป็นแบบนี้ เข้าหลักตรงไหนควรเก็บตรงไหน ควรให้น้ำผ่าน แต่วันนี้เราก็ไม่รู้เป็นเช่นไร บึงบอระเพ็ดจากที่มีพื้นที่รับน้ำได้ 1.3 แสนกว่าไร่ ตอนนี้เหลือ 3 หมื่นไร่ แถมยังมีการกำหนดโฉนดเป็นบ้านเรือนและยังมีที่ทำงานราชการอยู่บนนั้นด้วย วันนี้ผมเห็นพระทัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก ท่าทรงให้แนวคิดมานาน แต่พอเกิดเรื่องขึ้นเพิ่งขุดภาพที่เคยทรงให้แนวทางไว้มาดู เหมือนบทเพลง 16 ปีแห่งความหลัง
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวต่อไปอีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่รัฐบาล ไม่ได้มีอำนาจไปสั่งการกระทรวงทบวงกรม แต่ทรงทำด้วยพระองค์เอง ท่านก็อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ อย่างเมื่อปี 38 ที่ทรงให้แนวทางเรื่องการจัดการน้ำไม่มีใครปฏิบัติตามก็ไม่เห็นมีใครต้องรับโทษ และทรงทำทุกอย่างทั้ง เป็นเอกสาร ภาพยนตร์ หนังสือ และทำให้ทุกจังหวัด ท่านทรงทำประโยชน์ให้กับประชาชนไม่ได้ทำเพื่อหวังกำไร ใครบริจาคผ่านมูลนิธิ ท่านก็ทรงคืนสู่ประชาชนทุกบาททุกสตางค์ พระองค์หวังให้ประชาชนกลับมาดูแลแผ่นดินของตัวเองบ้าง เรามีอยู่มีกินบนแผ่นดินนี้ ต้องมีจิตสำนึกรักษาแผ่นดิน จะรอให้ต่างชาติเข้ามาก็มีแต่จะเข้ามาเอาประโยชน์เท่านั้น คนไทยต้องรักษาแผ่นดิน ซึ่งก่อนที่จะทำหน้าที่ต้อง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
วันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานหนักกว่า 65 ปี แม้สมองจะยังดีเยี่ยมจดจำทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่การเดินทำให้ลำบาก ผลก็เกิดจากการทรงงานเพื่อคนไทยอย่างหนักมาตลอดถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะกลับมารับหน้าที่สานต่องานของพระองค์ได้แล้ว เพราะพระองค์ได้ทรง ทรงทำตามที่เคยได้ตรัสไว้คือ การครองแผ่นดิน การครองไม่ใช่การปกครอง ซึ่งแตกต่างกัน และที่สำคัญทรงได้มอบสิ่งล้ำค่า คือ ประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม เราต้องทำหน้าที่ได้แล้ว คือการรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมที่ดี มีความรักชาติ และรับช่วงทำให้ประเทศเจริญขึ้นและต้องช่วยกันทำเพื่อลูกหลานที่ต้องใช้แผ่นดินอีกต่อไปให้คงเดิม ด้วย