ลำปาง - โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการสูญเสียกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าในเขตพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย และพร้อมจ่ายไฟฟ้าตลอดทั้งปีไม่ต่ำกว่า 91% เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
นายชณิกร เด่นแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (อรม.) กล่าวว่า จากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นมา ส่งผลให้ปัจจุบันกำลังผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศลดลง
ทั้งนี้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ โรงไฟฟ้าสูบกลับลำตะคองชลลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา โรงไฟฟ้าเอที ไบโอพาวเวอร์ จังหวัดพิจิตร และโรงไฟฟ้าโรจนะ จังหวัดอยุธยา ไม่สามารถเดินเครื่องได้ ทำให้สูญเสียกำลังผลิตกว่า 670 เมกะวัตต์ รวมถึงโรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ทำให้สถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องเพิ่มกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อให้กำลังการผลิตสำรองมีเพียงพอต่อการใช้ในประเทศ
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีกำลังผลิตติดตั้งรวม 2,400 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าสูงสุดต่อปีได้ประมาณ 20,000 ล้านหน่วย นับเป็นโรงไฟฟ้าหลักของประเทศที่ต้องเดินเครื่องตลอดเวลา เพื่อรักษาความมั่นคงของพลังงานในประเทศ และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าให้มีราคาถูก
ปัจจุบันฝ่ายบำรุงรักษาแม่เมาะรับมือกับสถานการณ์ด้านพลังงานในประเทศ ภายใต้เป้าหมายรักษาความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าแม่เมาะในช่วง 5 ปีข้างหน้า ไม่ให้ต่ำกว่า 91% ผ่านการควบคุมตัวแปร 3 ประการ ได้แก่ การบำรุงรักษาตามวาระไม่ให้เกิน 5% การหยุดเดินเครื่องนอกแผนไม่ให้เกิน 3% และการลดกำลังการผลิตไม่ให้เกิน 1%
ทั้งนี้ ฝ่ายบำรุงรักษาฯได้วางแผนกลยุทธ์ 4 ข้อ เพื่อรักษากำลังการผลิตและการบำรุงรักษาให้เป็นไปตามเป้า ได้แก่
1. แผนการปรับปรุงความพร้อมจ่าย คือ การลดความสูญเสียจากอุปกรณ์ที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่ หม้อน้ำ และเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งมีปัญหาการสูญเสียรวมกันกว่า 50% ของความสูญเสียทั้งหมด
2. รักษาความมั่นคง เนื่องจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีอายุการใช้งานสูง และอุปกรณ์อะไหล่บางตัวหายาก หรือยกเลิกการผลิตไปแล้ว ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์ใดเสี่ยงต่อการการสูญเสียการผลิต จะมีปรับปรุง โดยเปลี่ยนรุ่นอุปกรณ์ เปลี่ยนแบบ หรือหาอะไหล่ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้มาซ่อมบำรุง
3. ปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยมีแผนเปลี่ยนกังหันไอน้ำ ของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 12-13 เพื่อลดการใช้พลังงานในการผลิตให้น้อยลง แต่ได้กำลังไฟฟ้าเท่าเดิม
โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าหลักที่มีหน้าที่รองรับภารกิจครั้งนี้ ทำให้ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งเร่งการบำรุงรักษาตามวาระของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 6 ให้เสร็จภายในกำหนด และเลื่อนการบำรุงรักษาตามวาระของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 7 ออกไปจากกำหนดเดิมคือต้องเริ่มวันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ และรอให้สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่สภาวะปกติ
นายชณิกร เด่นแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (อรม.) กล่าวว่า จากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นมา ส่งผลให้ปัจจุบันกำลังผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศลดลง
ทั้งนี้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ โรงไฟฟ้าสูบกลับลำตะคองชลลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา โรงไฟฟ้าเอที ไบโอพาวเวอร์ จังหวัดพิจิตร และโรงไฟฟ้าโรจนะ จังหวัดอยุธยา ไม่สามารถเดินเครื่องได้ ทำให้สูญเสียกำลังผลิตกว่า 670 เมกะวัตต์ รวมถึงโรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ทำให้สถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องเพิ่มกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อให้กำลังการผลิตสำรองมีเพียงพอต่อการใช้ในประเทศ
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีกำลังผลิตติดตั้งรวม 2,400 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าสูงสุดต่อปีได้ประมาณ 20,000 ล้านหน่วย นับเป็นโรงไฟฟ้าหลักของประเทศที่ต้องเดินเครื่องตลอดเวลา เพื่อรักษาความมั่นคงของพลังงานในประเทศ และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าให้มีราคาถูก
ปัจจุบันฝ่ายบำรุงรักษาแม่เมาะรับมือกับสถานการณ์ด้านพลังงานในประเทศ ภายใต้เป้าหมายรักษาความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าแม่เมาะในช่วง 5 ปีข้างหน้า ไม่ให้ต่ำกว่า 91% ผ่านการควบคุมตัวแปร 3 ประการ ได้แก่ การบำรุงรักษาตามวาระไม่ให้เกิน 5% การหยุดเดินเครื่องนอกแผนไม่ให้เกิน 3% และการลดกำลังการผลิตไม่ให้เกิน 1%
ทั้งนี้ ฝ่ายบำรุงรักษาฯได้วางแผนกลยุทธ์ 4 ข้อ เพื่อรักษากำลังการผลิตและการบำรุงรักษาให้เป็นไปตามเป้า ได้แก่
1. แผนการปรับปรุงความพร้อมจ่าย คือ การลดความสูญเสียจากอุปกรณ์ที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่ หม้อน้ำ และเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งมีปัญหาการสูญเสียรวมกันกว่า 50% ของความสูญเสียทั้งหมด
2. รักษาความมั่นคง เนื่องจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีอายุการใช้งานสูง และอุปกรณ์อะไหล่บางตัวหายาก หรือยกเลิกการผลิตไปแล้ว ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์ใดเสี่ยงต่อการการสูญเสียการผลิต จะมีปรับปรุง โดยเปลี่ยนรุ่นอุปกรณ์ เปลี่ยนแบบ หรือหาอะไหล่ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้มาซ่อมบำรุง
3. ปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยมีแผนเปลี่ยนกังหันไอน้ำ ของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 12-13 เพื่อลดการใช้พลังงานในการผลิตให้น้อยลง แต่ได้กำลังไฟฟ้าเท่าเดิม
โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าหลักที่มีหน้าที่รองรับภารกิจครั้งนี้ ทำให้ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งเร่งการบำรุงรักษาตามวาระของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 6 ให้เสร็จภายในกำหนด และเลื่อนการบำรุงรักษาตามวาระของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 7 ออกไปจากกำหนดเดิมคือต้องเริ่มวันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ และรอให้สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่สภาวะปกติ