xs
xsm
sm
md
lg

รพ.จุฬาภรณ์เปิดตัวอุปกรณ์รังสีรักษาโรคมะเร็งเครื่องใหม่ สุดยอดนวัตรกรรมรายแรกในเอเชียแปซิฟิก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
ศูนย์ข่าวศรีราชา - โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดตัวอุปกรณ์รังสีรักษาโรคมะเร็งเครื่องใหม่ สุดยอดนวัตรกรรมรายแรกในเอเชียแปซิฟิก

วันนี้ (29 เม.ย. 54) ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นประ ธานในการเปิดตัว “อุปกรณ์รังสีรักษาโรคมะเร็ง แวเรียน รุ่นทรูบีม แห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก” ภายในงานการประชุมวิชาการประจำปี สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี

ศ.นพ.พิทยภูมิ เปิดเผยว่าปัจจุบันมะเร็งเป็นโรคที่ค่าชีวิตคนไทยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีผู้ป่วยประมาณ 1.2 แสนคน โดยมีผู้ชายจะเป็นมะเร็งมากที่สุด รองลงมาคือปอดและลำไส้ใหญ่ ส่วนผู้หญิงจะเป็นมะเร็งปากมดลูก และเต้านม จากกรณีนี้ทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์จึงทำการศึกษาค้นคว้าถึงวิธีการรักษา ล่าสุดได้สั่งซื้ออุปกรณ์รังสีรักษา แวเรียน รุ่นทรูบีม มูลค่ากว่า 200 ล้านบาทที่มีความทันสมัยมาใช้ และถือเป็นแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก

ที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลได้เปิดบริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยเทคนิครังสีภาพนำวิถี หรือ IGRT เป็นแห่งแรกและปีนี้ยังได้นำอุปกรณ์รังสีรักษาแวเรียน มาเพิ่มเติม โดยอุปกรณ์นี้จะเป็นอุปกรณ์ฉายรังสี 3 มิติที่มีอัตราความแรงของรังสีมากกว่าเดิมถึง 4 เท่า จึงทำให้ลดเวลาในการฉายรังสีแก่ผู้ป่วยที่แต่เดิมจะกินเวลากว่า 20 นาทีให้เหลือเพียง 3-5 นาที

ขณะที่เนื้อเยื่อที่อาจเกิดผลกระทบจากการฉายรังสีนั้นน้อยลงกว่าระบบเดิมอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ตรงเป้าและช่วยให้ผู้ป่วยลดความเจ็บปวด และร่นระยะเวลาการพักฟื้น ตลอดจนภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย

โดยนับว่าเป็นการสนอง ตอบพระปณิธานใน ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่ปรารถนาจะช่วยผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและมีโอกาสขาดจากการเป็นโรคมะเร็งมากที่สุด ซึ่งการนี้ทางโรงพยาบาลยินดีที่จะรับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาจากทุกพื้น ที่หรือในเครือข่ายโรงพยาบาลแห่งอื่น รวมทั้งผู้ป่วยจากการประสานงานร่วมกับคณะแพทย์ พอสว.ด้วย โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำการติดตั้งและสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2554 นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น