คกก.การแพทย์ มีมติเพิ่มเงินรักษา 7 โรคมะเร็ง จาก 5 หมื่น เป็น เกือบ 3 แสน เสนอ คกก.ประกันสังคม 26 เม.ย.นี้
วันนี้ (21 เม.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงมติในการประชุมของคณะกรรมการการแพทย์ ว่า จะมีการประชุมของคณะกรรมการประกันสังคมในวันที่ 26 เมษายนนี้ โดยจะพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการการแพทย์ได้เห็นชอบในการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา 7 โรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่และสำไส้ใหญ่ส่วนปลาย จากเดิมในวงเงินที่นอกเหนือจากเหมาจ่ายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท เพิ่มเป็น 272,100 บาท โดยจะรักษาตามมาตรฐานและแนวทางที่กำหนด โดยคาดว่า จะสามารถประกาศใช้ภายใน 1 เดือนหลังจากที่บอร์ด สปส.พิจารณาเสร็จ
นายสมเกียรติ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความหวังขึ้น เพราะโรคมะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่มีค่าใช้จ่ายสูง การปรับเพิ่มค่ารักษาโรคมะเร็งครั้งนี้ จะทำให้ได้ประโยชน์ในเรื่องของคุณภาพ ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับสิ่งที่ดีขึ้น เพราะหากวงเงินน้อย โรงพยาบาลก็จะต้องประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาได้ไม่เต็มที่
“เราได้ปรับปรุงทั้ง 2 อย่าง ทั้งด้านคุณภาพที่ต้องเพิ่มสิ่งที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ และเรื่องการบริการโดยมีแนวคิดสร้างโรงพยาบาลต้นแบบของประกันสังคม ซึ่งเป็นที่ที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ตลอด ทำให้ไม่รู้สึกว่าเป็นผู้ป่วยชั้น 2 เพราะต้องถือว่าผู้ประกันตนเป็นเจ้าของเงินในกองทุน” นายสมเกียรติ กล่าว
ด้านนพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ เปิดเผยว่า มีผู้ประกันตนเป็นโรคมะเร็งกว่า 2 หมื่นคน โดยพบว่าการรักษาด้วยยาตัวใหม่นั้นได้ผลดี ซึ่งการเข้าถึงตัวยาเหล่านี้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องปรับการจ่ายเงินที่นอกเหนือจากการเหมาจ่ายให้เพิ่มมากขึ้น และในที่เกินวงเงินนี้ก็มีผู้ป่วยประมาณ 1,000 คน ที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นล้าน ซึ่งทางประกันสังคมก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่สำหรับโรงพยาบาลที่ไม่สามารถกำหนดแนวทางการรักษาได้ตรงกับมาตรฐาน จะไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามวงเงินที่จะเพิ่มขึ้น ต้องเบิกได้ตามอัตราเดิมคือไม่เกิน 50,000 บาท
ส่วนผู้ประกันตนที่เป็นมะเร็งชนิดอื่น ยังอยู่ในการศึกษาเพิ่มเติมของคณะกรรมการการแพทย์ เช่น มะเร็งตับ และมะเร็งขั้วปอด นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ยกเลิกการจำกัดจำนวนครั้งการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ปรับปรุงกฎเกณฑ์การให้ยากระตุ้นเม็ดเลือดให้ได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ ยกเลิกกรณีการเข้ารับการรักษาฉุกเฉินที่กำหนดไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ยกเลิกการเข้ารักษาไม่เกิน 180 วันต่อปี ให้รักษาได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มสิทธิทางทันตกรรม เช่น เรื่องฟันเทียม
นพ.สุรเดช กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการปรับวิธีการจ่ายเงินสำหรับผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก คณะกรรมการได้พิจารณา ว่า มีโรคร้ายแรงอะไรบ้างที่ผู้ประกันตนป่วยแล้วโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษา ทำให้ผู้ประกันตนเสียหาย ซึ่งพบว่ามีอยู่ไม่กี่กลุ่มที่มีการถกเถียงว่าจะรับเป็นผู้ป่วยในหรือไม่ ทั้งนี้ ในกลุ่มโรคดังกล่าวจะไม่ใช้วิธีการเหมาจ่ายแต่จะตั้งเป็นกองทุนเฉพาะ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ป่วยในไม่ได้เป็นโรคเฉพาะทางทั้งหมด คณะกรรมการ เห็นว่า อาจไม่มีความจำเป็นที่โรงพยาบาลทั่วไปต้องรับเป็นผู้ป่วยในทั้งหมด โดยรวมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีปัญหา
วันนี้ (21 เม.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงมติในการประชุมของคณะกรรมการการแพทย์ ว่า จะมีการประชุมของคณะกรรมการประกันสังคมในวันที่ 26 เมษายนนี้ โดยจะพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการการแพทย์ได้เห็นชอบในการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา 7 โรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่และสำไส้ใหญ่ส่วนปลาย จากเดิมในวงเงินที่นอกเหนือจากเหมาจ่ายในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท เพิ่มเป็น 272,100 บาท โดยจะรักษาตามมาตรฐานและแนวทางที่กำหนด โดยคาดว่า จะสามารถประกาศใช้ภายใน 1 เดือนหลังจากที่บอร์ด สปส.พิจารณาเสร็จ
นายสมเกียรติ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความหวังขึ้น เพราะโรคมะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่มีค่าใช้จ่ายสูง การปรับเพิ่มค่ารักษาโรคมะเร็งครั้งนี้ จะทำให้ได้ประโยชน์ในเรื่องของคุณภาพ ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับสิ่งที่ดีขึ้น เพราะหากวงเงินน้อย โรงพยาบาลก็จะต้องประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาได้ไม่เต็มที่
“เราได้ปรับปรุงทั้ง 2 อย่าง ทั้งด้านคุณภาพที่ต้องเพิ่มสิ่งที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ และเรื่องการบริการโดยมีแนวคิดสร้างโรงพยาบาลต้นแบบของประกันสังคม ซึ่งเป็นที่ที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ตลอด ทำให้ไม่รู้สึกว่าเป็นผู้ป่วยชั้น 2 เพราะต้องถือว่าผู้ประกันตนเป็นเจ้าของเงินในกองทุน” นายสมเกียรติ กล่าว
ด้านนพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ เปิดเผยว่า มีผู้ประกันตนเป็นโรคมะเร็งกว่า 2 หมื่นคน โดยพบว่าการรักษาด้วยยาตัวใหม่นั้นได้ผลดี ซึ่งการเข้าถึงตัวยาเหล่านี้ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องปรับการจ่ายเงินที่นอกเหนือจากการเหมาจ่ายให้เพิ่มมากขึ้น และในที่เกินวงเงินนี้ก็มีผู้ป่วยประมาณ 1,000 คน ที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นล้าน ซึ่งทางประกันสังคมก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่สำหรับโรงพยาบาลที่ไม่สามารถกำหนดแนวทางการรักษาได้ตรงกับมาตรฐาน จะไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามวงเงินที่จะเพิ่มขึ้น ต้องเบิกได้ตามอัตราเดิมคือไม่เกิน 50,000 บาท
ส่วนผู้ประกันตนที่เป็นมะเร็งชนิดอื่น ยังอยู่ในการศึกษาเพิ่มเติมของคณะกรรมการการแพทย์ เช่น มะเร็งตับ และมะเร็งขั้วปอด นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ยกเลิกการจำกัดจำนวนครั้งการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ปรับปรุงกฎเกณฑ์การให้ยากระตุ้นเม็ดเลือดให้ได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ ยกเลิกกรณีการเข้ารับการรักษาฉุกเฉินที่กำหนดไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ยกเลิกการเข้ารักษาไม่เกิน 180 วันต่อปี ให้รักษาได้อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มสิทธิทางทันตกรรม เช่น เรื่องฟันเทียม
นพ.สุรเดช กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการปรับวิธีการจ่ายเงินสำหรับผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก คณะกรรมการได้พิจารณา ว่า มีโรคร้ายแรงอะไรบ้างที่ผู้ประกันตนป่วยแล้วโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษา ทำให้ผู้ประกันตนเสียหาย ซึ่งพบว่ามีอยู่ไม่กี่กลุ่มที่มีการถกเถียงว่าจะรับเป็นผู้ป่วยในหรือไม่ ทั้งนี้ ในกลุ่มโรคดังกล่าวจะไม่ใช้วิธีการเหมาจ่ายแต่จะตั้งเป็นกองทุนเฉพาะ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ป่วยในไม่ได้เป็นโรคเฉพาะทางทั้งหมด คณะกรรมการ เห็นว่า อาจไม่มีความจำเป็นที่โรงพยาบาลทั่วไปต้องรับเป็นผู้ป่วยในทั้งหมด โดยรวมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีปัญหา