xs
xsm
sm
md
lg

สสจ.ภูเก็ตจัดสัมมนาป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สสจ.ภูเก็ต สัมมนาป้องกันโรคปัญญาอ่อน จากงานตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด เพื่อ พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานการควบคุมป้องกันโรค

วันนี้ (26 เม.ย.54) ที่ห้องประชุมจามจุรี 1 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน นายแพทย์ศักดิ์ แท่นชัยสกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมสัมมนาป้องกันโรคปัญญาอ่อน จากงานตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด โดยมี นางอำไพพรรณ ภววัฒนานุสรณ์ นักวิชาการสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ชำนาญการพิเศษ ดร.วิยะดา เจริญศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติ การ การตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด แพทย์หญิงธิดา ขวัญนา กุมารแพทย์ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พงษ์สันติ์ สีจันทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน และมีเข้าผู้ร่วมสัมมนา ฯ กว่า 70 คน จากหน่วยงานโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทุกแห่ง และศูนย์บริการเทศบาลนครภูเก็ต

นางอำไพพรรณ กล่าวว่า จากสถานการณ์ควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ และเป็นการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดของจังหวัดภูเก็ต โดยมีผลการดำเนินการ ประกอบด้วยผลการตรวจคัดกรองไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 299 ราย พบว่ามีค่าไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 150 ไมโครกรัม /ลิตร คิดเป็นร้อย 41 และผลการตรวจคัดกรอง TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ของทารกแรกเกิด พบว่า จำนวน 545 รายมีค่า THS > 11.25 มิลลิยูนิต /ลิตร คิดเป็นร้อยละ 7.34 ของทารกที่มีค่า THS ปกติ

จากข้อมูลข้างต้นมีแนวโน้มและข้อบ่งชี้ว่า หญิงตั้งครรภ์บริโภคสารไอโอดีนไม่เพียงพอ และความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์ที่จะขาดสารไอโอดีนร่วมด้วย ซึ่งจะต้องดำเนินการเฝ้าระวังแก้ไขปัญหา การจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้ จึงเป็นวิธีการที่แก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังป้องกันโรคดังกล่าว โดยผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาจะได้รับทราบ นโยบาย กลยุทธ์ และเทคนิคการเก็บตรวจอย่างส่งตรวจ โดยกรมวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกันโรคปัญญาอ่อน

ด้านนายแพทย์ศักดิ์ กล่าวว่า จากสาเหตุเด็กไทยมีปัญหา IQ ต่ำ และพัฒนาการล่าช้าโดยเฉลี่ยในรอบ 12 ปี ที่ผ่านมาเด็กไทยอายุ 6-12 ปี มีระดับ IQ ลดลงจาก 91 จุด เหลือ 88 จุด ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยที่ WHO กำหนดไว้ที่ 90-110 และยังต่ำกว่าระดับ 104 ซึ่งเป็นระดับเชาว์ปัญญาของเด็ก ๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ร้อยละ 88.5 เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน ร้อยละ 67.7 ซึ่งค่าปกติพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นก็เนื่องจากมารดาได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอในขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นการเฝ้าระวังโดยการตรวจกรองปัสสาวะในหญิงตั้งครรภ์ ก็เพื่อจะได้ควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอ เช่นกระจายเม็ดเสริมไอโอดีนตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ครั้งแรก จนถึงระยะให้นมบุตร และในทารกแรกเกิดต้องได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ โดยการตรวจ TSH (Thyroid Stimulating Hormone) เพื่อจะได้เฝ้าระวังการขาดสารไอโอดีนได้ตั้งแต่แรกเกิด

“ดังนั้นการจัดประชุมในวันนี้ จึงเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ซึ่งเป็นงานนโยบายเร่งรัดดำเนินการ” นายแพทย์ศักดิ์ กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น