ประจวบคีรีขันธ์ - ลูกช้างป่ากุยบุรีวัยเดือนเศษ ที่ตกหล่มอยู่กลางป่ากุยบุรีล้มแล้ว สัตวแพทย์เผยติดเชื้ออย่างรุนแรง
วันนี้ (6 เม.ย.) นายสัตวแพทย์ จามร ศักดินันท์ สัตวแพทย์ประจำสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ลูกช้างป่ากุยบุรีวัยเดือนเศษ ที่ตกหล่มอยู่กลางป่า ได้ล้มลงแล้วเมื่อช่วงกลางคืนที่ผ่านมา (5 เม.ย.) หลังจากที่ทีมสัตวแพทย์จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชจากที่ต่างๆ และจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ระดมกำลังช่วยเหลือและดูแลรักษาลูกช้างป่าที่ได้รับบาดเจ็บจากการตกหล่ม อยู่นานกว่า 1 สัปดาห์
รวมทั้งการนำมาเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หัวหิน อย่างเต็มที่ก็ยังไม่สามารถยื้อชีวิตลูกช้างป่าตัวนี้ได้ หลังลูกช้างล้ม
ทีมแพทย์ได้ผ่าพิสูจน์ซากลูกช้างพบสาเหตุของการเสียชีวิตมาจากการติดเชื้ออย่างรุนแรงจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน ทั้งนี้ ลูกช้างป่าติดหล่มอยู่นานหลายวันทำให้ขาดน้ำนมของแม่ช้างและน้ำดื่มตามธรรมชาติเป็นระยะเวลานาน ซึ่งโดยปกติลูกช้างจะกินนมแม่ช้างจนอายุประมาณ 4 ปี จึงจะหย่านม ซึ่งจะส่งผลดีทำให้ร่างกายลูกช้างแข็งแรงไม่เจ็บป่วยได้ง่าย
การขาดนมแม่ช้างเป็นเวลานานทำให้ร่างกายลูกช้างอ่อนแอมาก จึงติดเชื้อได้ง่าย เมื่อร่างกายไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ ทำให้ช้างล้มหรือตายในที่สุด ท่ามกลางความเสียชีวิตใจของทุกฝ่ายที่พยายามช่วยเหลือลูกช้างตัวนี้อย่างเต็มกำลังความสามารถแล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้นำลูกช้างป่าไปฝังไว้ในป่ายาง ใกล้ศาลปะกำช้าง ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยทำพิธีสงฆ์ตามความเชื่อในท้องถิ่น พร้อมสวดอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ลูกช้างป่าตัวนี้ด้วย
วันนี้ (6 เม.ย.) นายสัตวแพทย์ จามร ศักดินันท์ สัตวแพทย์ประจำสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ลูกช้างป่ากุยบุรีวัยเดือนเศษ ที่ตกหล่มอยู่กลางป่า ได้ล้มลงแล้วเมื่อช่วงกลางคืนที่ผ่านมา (5 เม.ย.) หลังจากที่ทีมสัตวแพทย์จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชจากที่ต่างๆ และจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ระดมกำลังช่วยเหลือและดูแลรักษาลูกช้างป่าที่ได้รับบาดเจ็บจากการตกหล่ม อยู่นานกว่า 1 สัปดาห์
รวมทั้งการนำมาเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หัวหิน อย่างเต็มที่ก็ยังไม่สามารถยื้อชีวิตลูกช้างป่าตัวนี้ได้ หลังลูกช้างล้ม
ทีมแพทย์ได้ผ่าพิสูจน์ซากลูกช้างพบสาเหตุของการเสียชีวิตมาจากการติดเชื้ออย่างรุนแรงจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน ทั้งนี้ ลูกช้างป่าติดหล่มอยู่นานหลายวันทำให้ขาดน้ำนมของแม่ช้างและน้ำดื่มตามธรรมชาติเป็นระยะเวลานาน ซึ่งโดยปกติลูกช้างจะกินนมแม่ช้างจนอายุประมาณ 4 ปี จึงจะหย่านม ซึ่งจะส่งผลดีทำให้ร่างกายลูกช้างแข็งแรงไม่เจ็บป่วยได้ง่าย
การขาดนมแม่ช้างเป็นเวลานานทำให้ร่างกายลูกช้างอ่อนแอมาก จึงติดเชื้อได้ง่าย เมื่อร่างกายไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ ทำให้ช้างล้มหรือตายในที่สุด ท่ามกลางความเสียชีวิตใจของทุกฝ่ายที่พยายามช่วยเหลือลูกช้างตัวนี้อย่างเต็มกำลังความสามารถแล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้นำลูกช้างป่าไปฝังไว้ในป่ายาง ใกล้ศาลปะกำช้าง ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยทำพิธีสงฆ์ตามความเชื่อในท้องถิ่น พร้อมสวดอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ลูกช้างป่าตัวนี้ด้วย