สุโขทัย - สาธารณสุขฯ เล็งดันผลิต“รางจืดแคปซูล” พร้อมผลักเข้าบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ เชื่อช่วยขับพิษได้ หลังตรวจพบมีสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรไทยสูง ระบุมกราฯปีนี้ ทั้งเพชบูรณ์ ปทุมธานี บุรีรัมย์ ระยอง สุราษฎร์ฯ เจอเลือดเกษตรกรปนเปื้อน 51%
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากผลการเฝ้าระวังโรคพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรแถบ จ.เพชรบูรณ์ ปทุมธานี บุรีรัมย์ ระยอง และสุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนมกราคม 2554 พบเกษตรกรมีสารเคมีตกค้างในเลือด เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 51
ขณะที่การเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือ 5 จังหวัด เมื่อปี 2553 พบว่า เกษตรกรใน จ.สุโขทัย มีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงที่สุด ร้อยละ 64 รองลงมา คือ ตาก ร้อยละ 60, อุตรดิตถ์ ร้อยละ 54, พิษณุโลก ร้อยละ 50 และเพชรบูรณ์ พบร้อยละ 42
กระทรวงจึงให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้พร้อมทั้งให้ตรวจเลือดซ้ำ และให้กินสมุนไพรรางจืดเพื่อขับพิษออก
สำหรับการใช้รางจืดในการขับพิษออกจากร่างกายนั้น มีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบของตัวยา ให้ทันสมัยและกินง่ายขึ้น โดยให้องค์การเภสัชกรรมวิจัย และผลิตรางจืดเป็นชนิดแคปซูล เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสลายพิษได้รวดเร็วกว่าวิธีการกินแบบต้มใบสด หรือตากแห้งทำเป็นแบบชาชงทั่วไป
“คาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 2-3 เดือนนี้ โดยจะเสนอให้คณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ พิจารณาให้รางจืดชนิดแคปซูล อยู่ในบัญชียาหลัก จะได้ใช้ในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศ เพื่อทดแทนยานำเข้า”
รมช.สาธารณสุขบอกอีกว่า นอกจากนี้จะหาทางส่งเสริมเกษตรกรที่มีอยู่ 14.1 ล้านคนทั่วประเทศ ให้ปลูกต้นรางจืด อย่างน้อยบ้านละ 1 ต้น และในปีนี้ จะให้ อสม.ที่มี 1 ล้านคนทั่วประเทศ ปลูกรางจืดคนละ 1 ต้น เพื่อให้เป็นบ้านตัวอย่างในชุมชนด้วย
ขณะที่ นพ.ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอีกทาง สสจ.สุโขทัย ได้จัด “โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส” เพื่อปกป้องสุขภาพของเกษตรกร ให้ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี และประชาชนจะได้บริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัยด้วย
นพ.ชิโนรสกล่าวว่า สุโขทัยมีเกษตรกรเกือบ 4 แสนคน ส่วนใหญ่ยังใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดอันตรายทั้งผู้ใช้ และผู้บริโภค ขณะที่ผลการตรวจคัดกรองเกษตร ในพื้นที่เสี่ยง 4 อำเภอ ได้แก่ สวรรคโลก, ศรีสำโรง, กงไกรลาศ และอำเภอเมืองสุโขทัย จำนวน 4,192 ราย พบผู้มีผลเลือดไม่ปลอดภัย ร้อยละ 16.72
ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นปัญหาระดับชาติ พิษมีทั้งชนิดเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก มองเห็นภาพลางเลือน อาเจียน ปวดท้อง และชนิดเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย แสดงอาการภายหลัง ที่อันตรายที่สุด คือ โรคมะเร็ง
อย่างไรก็ตาม คาดหวังว่าโครงการนี้จะทำให้เกษตรกรหันกลับมาสู่ระบบเกษตรอินทรีย์มากขึ้น และใช้สารเคมีน้อยลง
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากผลการเฝ้าระวังโรคพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรแถบ จ.เพชรบูรณ์ ปทุมธานี บุรีรัมย์ ระยอง และสุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนมกราคม 2554 พบเกษตรกรมีสารเคมีตกค้างในเลือด เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 51
ขณะที่การเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือ 5 จังหวัด เมื่อปี 2553 พบว่า เกษตรกรใน จ.สุโขทัย มีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงที่สุด ร้อยละ 64 รองลงมา คือ ตาก ร้อยละ 60, อุตรดิตถ์ ร้อยละ 54, พิษณุโลก ร้อยละ 50 และเพชรบูรณ์ พบร้อยละ 42
กระทรวงจึงให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกให้ความรู้พร้อมทั้งให้ตรวจเลือดซ้ำ และให้กินสมุนไพรรางจืดเพื่อขับพิษออก
สำหรับการใช้รางจืดในการขับพิษออกจากร่างกายนั้น มีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบของตัวยา ให้ทันสมัยและกินง่ายขึ้น โดยให้องค์การเภสัชกรรมวิจัย และผลิตรางจืดเป็นชนิดแคปซูล เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสลายพิษได้รวดเร็วกว่าวิธีการกินแบบต้มใบสด หรือตากแห้งทำเป็นแบบชาชงทั่วไป
“คาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 2-3 เดือนนี้ โดยจะเสนอให้คณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ พิจารณาให้รางจืดชนิดแคปซูล อยู่ในบัญชียาหลัก จะได้ใช้ในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั่วประเทศ เพื่อทดแทนยานำเข้า”
รมช.สาธารณสุขบอกอีกว่า นอกจากนี้จะหาทางส่งเสริมเกษตรกรที่มีอยู่ 14.1 ล้านคนทั่วประเทศ ให้ปลูกต้นรางจืด อย่างน้อยบ้านละ 1 ต้น และในปีนี้ จะให้ อสม.ที่มี 1 ล้านคนทั่วประเทศ ปลูกรางจืดคนละ 1 ต้น เพื่อให้เป็นบ้านตัวอย่างในชุมชนด้วย
ขณะที่ นพ.ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอีกทาง สสจ.สุโขทัย ได้จัด “โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส” เพื่อปกป้องสุขภาพของเกษตรกร ให้ปลอดภัยจากการใช้สารเคมี และประชาชนจะได้บริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัยด้วย
นพ.ชิโนรสกล่าวว่า สุโขทัยมีเกษตรกรเกือบ 4 แสนคน ส่วนใหญ่ยังใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดอันตรายทั้งผู้ใช้ และผู้บริโภค ขณะที่ผลการตรวจคัดกรองเกษตร ในพื้นที่เสี่ยง 4 อำเภอ ได้แก่ สวรรคโลก, ศรีสำโรง, กงไกรลาศ และอำเภอเมืองสุโขทัย จำนวน 4,192 ราย พบผู้มีผลเลือดไม่ปลอดภัย ร้อยละ 16.72
ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นปัญหาระดับชาติ พิษมีทั้งชนิดเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก มองเห็นภาพลางเลือน อาเจียน ปวดท้อง และชนิดเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย แสดงอาการภายหลัง ที่อันตรายที่สุด คือ โรคมะเร็ง
อย่างไรก็ตาม คาดหวังว่าโครงการนี้จะทำให้เกษตรกรหันกลับมาสู่ระบบเกษตรอินทรีย์มากขึ้น และใช้สารเคมีน้อยลง