xs
xsm
sm
md
lg

แมลงดำหนามอาละวาดกัดกินยอดมะพร้าวชาวสวนเมืองเพชรเสียหายยับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นี่คือ แมลงดำหนามมะพร้าว เป็นแมลงศัตรูสำคัญของพืชตระกูลปาล์ม
เพชรบุรี - แมลงดำหนามอาละวาดหนักกัดกินยอดมะพร้าวชาวสวน ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี เสียหายจำนวนมาก

นี่คือ ภาพของแมลงดำหนามที่เกษตรกรทำสวนมะพร้าว จับได้จากยอดอ่อนของต้นมะพร้าว โดยแมลงชนิดนี้กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เป็นอย่างมาก

โดยในตำบลบางครก ถือเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพปลูกมะพร้าวเพื่อทำน้ำตาลมะพร้าวจำหน่ายแต่ปัจจุบันหลังจากมีแมลงดำหนามแพร่ระบาดอย่างหนักทำให้ยอดอ่อนมะพร้าวเริ่มแห้ง ส่งผลให้ไม่สามารถทำน้ำตาลจากยอดมะพร้าวได้ เนื่องจากแมลงดำหนามที่เพาะไข่และเมื่อเป็นตัวอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงบริเวณส่วนยอดของมะพร้าวจนหมด

อีกทั้งมะพร้าวไม่ออกผลทำให้ผลมะพร้าวห้าวที่เกษตรกรส่วนหนึ่งที่ปลูกมะพร้าวเพื่อเก็บผลขายพบว่ามะพร้าวให้ผลผลิตน้อยลงถึงแม้ขณะนี้ราคามะพร้าวจะสูงขึ้นถึงลูกล่ะกว่า 10 บาท แต่เกษตรกรก็มีรายได้ที่ลดลงจากเดิม

นายแอ๊ต ม่วงทาราม เกษตรกรทำสวนมะพร้าว เปิดเผยว่า ปีนี้แมลงดำหนามระบาดอย่างรุ่นแรงทำให้มะพร้าวที่ปลูกไว้ในสวนกว่า 30 ไร่ ถูกแมลงดำหนามกัดกินยอดอ่อนเกือบทั้งหมด ส่งผลทำให้มะพร้าวไม่ติดดอกออกผลได้เต็มที่เหมือนเดิม

ด้าน นายศักดิ์ชาย วังทอง เกษตรจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า จากการได้รับข้อมูลความเสียหายจากเกษตรกรอำเภอบ้านแหลมแล้วว่ามีกว่า 1,000 ไร่ ที่เกษตรกรได้รับผลกระทบจากแมลงดำหนาม โดยที่ผ่านมาได้มีการเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาโดยการใช้แตนเบียน แต่ก็ไม่เป็นผลเนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอ

อีกทั้งไม่ต้องการให้เกษตรกรใช้สารเคมีเข้าไปทำลายแมลงดำหนาม เนื่องจากจะส่งผลทำให้สารเคมีสะสมและเจือปน เนื่องจากชาวบ้านมีอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าวจึงเป็นการลำบากในการที่จะกำจัด แต่หากเกษตรกรรายใดที่ปลูกมะพร้าวไว้เพื่อจำหน่ายผลสามารถให้ดำเนินการใช้สารเคมีจำพวกคาร์บาริล หรือ อิมิดาโคลพริต ฉีดพ่นเพื่อทำลายแมลงดำหนามได้ทันที

สำหรับแมลงดำหนามมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูสำคัญของพืชตระกูลปาล์ม พบระบาดรุนแรงในมะพร้าว ทำให้ผลผลิตมะพร้าวไม่มีคุณภาพและมีปริมาณลดลง ขาดความสวยงามเนื่องจากมะพร้าวเป็นโรคหัวหงอก ตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็ง ลำตัวค่อนข้างแบน ขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร

ส่วนหัวและท้องมีสีน้ำตาล อกมีสีเหลืองปนส้ม ปีกมีสีดำ มักซ่อนตัวอยู่ตามใบอ่อนหรือใบที่ยังไม่คลี่ ระยะตัวเต็มวัยมีอายุขัย 3-6 เดือน ไข่ ตัวเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว หรือเป็นแถว 2-4 ฟอง ใต้ใบที่ยังไม่คลี่ ไข่มีลักษณะยาว ค่อนข้างแบน รูปร่างคล้ายแคปซูล มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ระยะไข่ประมาณ 5 วัน จึงฟักเป็นตัวหนอน ตลอดอายุขัยตัวเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 100 ฟอง หนอน มีสีขาวบริเวณด้านข้างของลำตัวมีลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมา

ปลายสุดของส่วนท้องมีหนาม รูปร่างคล้ายคีมยื่นออกมา 1 คู่ หนอนมี 4 วัย ระยะหนอนประมาณ 30-40 วันดักแด้ มีสีน้ำตาลเข้ม มีปีก 2 คู่ ยาว 1 ใน 2 ของลำตัว หนอนที่เจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหารและเข้าดักแด้ในกาบใบมะพร้าว ระยะดักแด้ประมาณ 4-7 วัน





กำลังโหลดความคิดเห็น