กระบี่ - เกษตรจังหวัดกระบี่ เตือนชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระวัง หนอนปลอกเล็กระบาด ทำผลผลิตลด พบเห็นรีบทำลาย
นายไพศาล โรจน์สราญรมย์ เกษตรจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่าในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม มักจะมีการระบาดของหนอนปลอกเล็กในปาล์มน้ำมัน จึงขอเตือนให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดกระบี่เฝ้าระวัง และหากพบการระบาดให้รีบกำจัดทันที ลักษณะการทำลายของหนอนปลอกเล็กจะกัดแทะผิวใบทำให้ใบแห้งเห็นเป็นสีน้ำตาล ทางใบจะเป็นรู ขาดแหว่ง ถ้าหากการทำลายรุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง
ทำให้ปาล์มน้ำมันชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง รูปร่างลักษณะของหนอนปลอกเล็ก ไข่มีสีครีม วางไข่เป็นกลุ่มในซากดักแด้ของตัวเมีย หนอนที่ฟักออกจากไข่จะมีสีน้ำตาลไหม้ หัวสีดำ ตัวหนอนจะแทะผิวใบผสมกับใยที่ออกมาจากปากสร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง ตัวเต็มวัยเพศเมียจะไม่มีปีก อาศัยอยู่ในปลอกรอการผสมพันธุ์จากตัวผู้ ซึ่งมีปีก การแพร่กระจายของหนอนปลอกเล็กอาศัยแรงลมพัดพาหนอนปลอกขนาดเล็ก ซึ่งชอบใช้สายใยปล่อยตัวห้อยลงมา แกว่งไปมาตามลม ทำให้หนอนปลอกเล็กระบาดจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่ง
เกษตรจังหวัดกระบี่ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวทางการป้องกันกำจัดหนอนปลอกเล็กขอให้เกษตรกรทำลายหนอน เมื่อเริ่มพบหนอนเพียงเล็กน้อย ควรตัดทางที่หนอนอาศัยอยู่ไปทำลาย พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียและใช้สารเคมีคาร์บาริล อัตรา 25 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หากพบการระบาดทำลายของหนอนปลอกเล็กดังกล่าว แจ้งการระบาด ได้ที่เกษตรหมู่บ้าน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่
นายไพศาล โรจน์สราญรมย์ เกษตรจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่าในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม มักจะมีการระบาดของหนอนปลอกเล็กในปาล์มน้ำมัน จึงขอเตือนให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดกระบี่เฝ้าระวัง และหากพบการระบาดให้รีบกำจัดทันที ลักษณะการทำลายของหนอนปลอกเล็กจะกัดแทะผิวใบทำให้ใบแห้งเห็นเป็นสีน้ำตาล ทางใบจะเป็นรู ขาดแหว่ง ถ้าหากการทำลายรุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง
ทำให้ปาล์มน้ำมันชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง รูปร่างลักษณะของหนอนปลอกเล็ก ไข่มีสีครีม วางไข่เป็นกลุ่มในซากดักแด้ของตัวเมีย หนอนที่ฟักออกจากไข่จะมีสีน้ำตาลไหม้ หัวสีดำ ตัวหนอนจะแทะผิวใบผสมกับใยที่ออกมาจากปากสร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง ตัวเต็มวัยเพศเมียจะไม่มีปีก อาศัยอยู่ในปลอกรอการผสมพันธุ์จากตัวผู้ ซึ่งมีปีก การแพร่กระจายของหนอนปลอกเล็กอาศัยแรงลมพัดพาหนอนปลอกขนาดเล็ก ซึ่งชอบใช้สายใยปล่อยตัวห้อยลงมา แกว่งไปมาตามลม ทำให้หนอนปลอกเล็กระบาดจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่ง
เกษตรจังหวัดกระบี่ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวทางการป้องกันกำจัดหนอนปลอกเล็กขอให้เกษตรกรทำลายหนอน เมื่อเริ่มพบหนอนเพียงเล็กน้อย ควรตัดทางที่หนอนอาศัยอยู่ไปทำลาย พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียและใช้สารเคมีคาร์บาริล อัตรา 25 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หากพบการระบาดทำลายของหนอนปลอกเล็กดังกล่าว แจ้งการระบาด ได้ที่เกษตรหมู่บ้าน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่