ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – นักวิชาการสิ่งแวดล้อม สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ ระบุคุณภาพอากาศเมืองเชียงใหม่ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ยอมรับเป็นห่วงสถานการณ์ไฟป่าอาจรุนแรงกว่าที่ผ่านมาเนื่องจากความแห้งแล้งของอากาศทำให้มีความเสี่ยงสูง เผยสั่งคุมเข้มห้ามหาของป่าในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย หลังพบมีการเผาซ้ำซาก โดยประสานขอกำลังทหารลาดตระเวนถึงสิ้นเดือนเมษายน ขณะเดียวกันหนุนทุกท้องถิ่นออกข้อบัญญัติควบคุมการเผาเพื่อให้สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายสัญญา ทุมตะขบ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยสถานการณ์ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็กของจังหวัดเชียงใหม่ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กถือว่าดีกว่าและยังคงอยู่ในระดับตามเกณฑ์มาตรฐาน
ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเกษตรกรให้ความร่วมมือในการชะลอการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกออกไปก่อน ขณะที่จังหวัดใกล้เคียงมีการเผากันแล้ว อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถไว้วางใจได้และต้องมีการเฝ้าระวังใกล้ชิด เพราะตามปกติการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เผาปลูกของเชียงใหม่มักจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป
ในส่วนของไฟป่านั้น พบว่ามีสถิติการเกิดสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงเดิมๆ ทั้งอำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และดอยสะเก็ด ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและอากาศหนาวที่ยาวนาน ทำให้ความชื้นในอากาศต่ำเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า
โดยเรื่องการจัดการไฟป่านั้น ในปีนี้ทางสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดจ้างอาสาสมัครป้องกันไฟป่าจำนวน 255 หมู่บ้าน แล้ว เพื่อทำหน้าที่ในการทำแนวกันไฟ สอดส่องดูแลและดับไฟป่าหากเกิดเหตุ สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีจำนวนจำกัดอีกทางหนึ่งด้วย เชื่อว่าน่าจะช่วยบรรเทาปัญหาลงไปได้อีกระดับหนึ่ง
ขณะเดียวกัน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในปีนี้ทางเจ้าหน้าที่จะมีการดูแลเข้มงวดไม่ให้มีการเข้าไปหาและเก็บของป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อย่างเด็ดขาด เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีหลายจุดที่มีการเกิดไฟป่าซ้ำซากจากการเข้าไปเก็บของป่า
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ดอยสุเทพ ที่มีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่ที่สุด
โดยนอกจากการตรวจตราผู้เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่อุทยานแล้ว ยังจะมีประสานขอกำลังทหารจากมณฑลทหารบกที่ 33 เพื่อออกลาดตระเวนในพื้นที่เขตอุทยานอีกด้วยด้วย ซึ่งการดำเนินการนี้จะมีการเข้มงวดไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน ที่พ้นช่วงเสี่ยงการเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็กไปแล้ว ทั้งนี้หากพบว่ามีผู้ฝ่าฝืนเข้าไปเก็บของป่า ล่าสัตว์และมีการเผา จะจับกุมดำเนินการตามกฎหมายทันที
นอกจากนี้นายสัญญา กล่าวถึงการนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อควบคุมการเผาที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาคุณภาพอากาศว่า สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องของการควบคุมการเผาออกมาบังคับใช้ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งได้ดำเนินการไปแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อให้การควบคุมและจัดการกับปัญหาสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากมีกฎระเบียบรองรับ โดยขั้นตอนการออกข้อบัญญัติก่อนนำไปบังคับใช้จะต้องมีการระดมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในท้องถิ่นด้วย เพื่อให้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีเมื่อมีการประกาศใช้ข้อบัญญัติ
นายสัญญา ทุมตะขบ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยสถานการณ์ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็กของจังหวัดเชียงใหม่ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กถือว่าดีกว่าและยังคงอยู่ในระดับตามเกณฑ์มาตรฐาน
ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเกษตรกรให้ความร่วมมือในการชะลอการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกออกไปก่อน ขณะที่จังหวัดใกล้เคียงมีการเผากันแล้ว อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถไว้วางใจได้และต้องมีการเฝ้าระวังใกล้ชิด เพราะตามปกติการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เผาปลูกของเชียงใหม่มักจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป
ในส่วนของไฟป่านั้น พบว่ามีสถิติการเกิดสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงเดิมๆ ทั้งอำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และดอยสะเก็ด ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและอากาศหนาวที่ยาวนาน ทำให้ความชื้นในอากาศต่ำเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า
โดยเรื่องการจัดการไฟป่านั้น ในปีนี้ทางสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดจ้างอาสาสมัครป้องกันไฟป่าจำนวน 255 หมู่บ้าน แล้ว เพื่อทำหน้าที่ในการทำแนวกันไฟ สอดส่องดูแลและดับไฟป่าหากเกิดเหตุ สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีจำนวนจำกัดอีกทางหนึ่งด้วย เชื่อว่าน่าจะช่วยบรรเทาปัญหาลงไปได้อีกระดับหนึ่ง
ขณะเดียวกัน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในปีนี้ทางเจ้าหน้าที่จะมีการดูแลเข้มงวดไม่ให้มีการเข้าไปหาและเก็บของป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อย่างเด็ดขาด เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีหลายจุดที่มีการเกิดไฟป่าซ้ำซากจากการเข้าไปเก็บของป่า
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ดอยสุเทพ ที่มีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่ที่สุด
โดยนอกจากการตรวจตราผู้เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่อุทยานแล้ว ยังจะมีประสานขอกำลังทหารจากมณฑลทหารบกที่ 33 เพื่อออกลาดตระเวนในพื้นที่เขตอุทยานอีกด้วยด้วย ซึ่งการดำเนินการนี้จะมีการเข้มงวดไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน ที่พ้นช่วงเสี่ยงการเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็กไปแล้ว ทั้งนี้หากพบว่ามีผู้ฝ่าฝืนเข้าไปเก็บของป่า ล่าสัตว์และมีการเผา จะจับกุมดำเนินการตามกฎหมายทันที
นอกจากนี้นายสัญญา กล่าวถึงการนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อควบคุมการเผาที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาคุณภาพอากาศว่า สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องของการควบคุมการเผาออกมาบังคับใช้ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งได้ดำเนินการไปแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อให้การควบคุมและจัดการกับปัญหาสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากมีกฎระเบียบรองรับ โดยขั้นตอนการออกข้อบัญญัติก่อนนำไปบังคับใช้จะต้องมีการระดมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในท้องถิ่นด้วย เพื่อให้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีเมื่อมีการประกาศใช้ข้อบัญญัติ