จันทบุรี - รมช.พาณิชย์ เปิดงานวันกุ้งจันท์ตะวันออกแฟร์ ครั้งที่ 14 ชี้ สถานการณ์กุ้งปี 53 หลังเปิดเสรีอาเซียน อาจมีการสวมสิทธิของชาติอื่น พาณิชย์พร้อมดำเนินมาตรการตอบโต้ทางค้า ขณะที่ยอดการผลิตกุ้งปี 52 ไทยส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก สร้างรายได้กว่า 90,000 ล้านบาทเข้าประเทศ
เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมเคพีแกรนด์ จันทบุรี นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานวันกุ้งจันท์ตะวันออกแฟร์ ครั้งที่ 14 พร้อมเป็นวิทยากรพิเศษบรรยากาศในหัวข้อ การผลิตกุ้ง 53 ในภาวะโลกผันผวน โดยมีนายพูลศักดิ์ ประนุทณรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย อธิบดีกรมประมง นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจันทบุรี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งภาคเอกชน ทั่วภาคตะวันออก กว่า 500 คนเข้าร่วมในพิธีเปิดพร้อมรับฟังการบรรยาย
นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ได้เปิดเผยว่า การจัดงานวันกุ้งจันท์ตะวันออกแฟร์ และเทศกาลกินกุ้งจันท์ ประจำปี 2553 ในระหว่างวันที่ 23-24 มกราคม 2553 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในธุรกิจการเลี้ยงกุ้งจากทั่วประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งรับทราบข้อมูลข่าวสารการตลาด และยุทธศาสตร์กุ้งจากทางภาครัฐ เพื่อพัฒนาให้ธุรกิจกุ้งไทยเกิดความยั่งยืนท่ามกลางภาวะผันผวนโลก
จังหวัดจันทบุรีมีการเพาะเลี้ยงกุ้งตลอดแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 108 กิโลเมตร รวมพื้นที่กว่า 19,000 ไร่ ใน 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง ,ขลุง ,แหลมสิงห์ และอำเภอนายายอาม ผลิตกุ้งได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในปี 2552 สามารถผลิดภุ้งได้กว่า 57,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 12 จากทั่วประเทศ และสามารถส้รางเม็ดเงินเข้าจังหวัดจันทบุรีได้เป็นอันดับต้นๆปีละ กว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2553 นี้ ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งยังมีความวิตกในการเปิดเขตการค้าเสรี ซึ่งการแข่งขันในเวทีการค้าระหว่างประเทศจะมีความรุนแรงมากขึ้น และต้องเจอกับมาตรการกีดกันทางการค้า
ขณะที่นายอลงกรณ์ ได้บรรยายในหัวข้อ การผลิตกุ้ง 53 ในภาวะโลกผันผวน โดยกล่าวถึงสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมกุ้งของไทยมีศักยภาพการผลิตสูงถึง ร้อยละ 25 ของการผลิตกุ้งทั้งหมดของโลก สามารถส่งออกได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก สร้างรายได้เข้าประเทศ ปีละกว่า 90,000 ล้านบาท
ทั้งนี้เป็นผลมาจากผู้เลี้ยงกุ้งของไทยมีการเลี้ยงแบบพัฒนา เพื่อการส่งออก ได้มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลทั้งหมด และการแปรรูปมีมาตรฐานการผลิตเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งส่งเสริมสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยทางอาหารที่ดีมาโดยตลอด
นายอลงกรณ์ ยังเปิดเผยว่า ปี 2553 นี้ มีการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน อาจจะส่งผลให้มีการนำเข้ากุ้งมาสวมสิทธิเป็นกุ้งไทยแล้วส่งออก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มความเข็มงวด ตรวจสอบการแอบอ้าง การสวมสิทธิแหล่งกำเนิด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของสินค้าส่งออกของไทย โดยแนะให้ภาคเกษตรกรก็ต้องรวมตัวป้องกันปัญหาดังกล่าว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้มีการพูดคุยกับภาคเอกชน ถึงการวางมาตรการป้องกันและตอบโต้ทางการค้า โดยจะกำหนดกลยุทธ์ แนวทางการแก้ปัญหาและให้ข้อแนะนำในการต่อสู้ในแต่ละขั้นตอนของการไต่สวน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
พร้อมกับเสริมสร้างการตลาดในการรักษาตลาดคู่ค้าเดิม และเร่งรัดการเจาะตลาดใหม่ โดยใช้การตลาดเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้ค้าและผู้บริโภคในต่างประเทศ เกิดความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งของไทย
ส่วนทางด้านตลาดภายในประเทศนั้น ได้สนับสนุนให้ทำข้อตกลงซื้อขายผลผลิตระหว่างเกษตรกร และผุ้ประกอบการให้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรผู้ผลิตว่ามีตลาดรองรับผลผลิต และผู้ประกอบการจะได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพในปริมาณตามความต้องการอีกด้วยยละ 12 จากทั่วประเทศ และสามารถส้รางเม็ดเงินเข้าจังหวัดจันทบุรีได้เป็นอันดับต้นๆปีละ กว่า 6,000 ล้านบาท พัฒนาให้ธุรกิจ ซึ่งดูจากแนวโน้มแล้วหากความต้องการบริโภคกุ้งในปี 2553 เพิ่มขึ้น ราคาก็จะมีการปรับตัวสูงขึ้น โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งของไทยสามารถผลิตกุ้งคุณภาพเพิ่มขึ้นได้อีกตามความต้องการของตลาดอย่างแน่นอน ซึ่งจะถือเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ลี้ยงกุ้งอย่างแน่นอน
เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมเคพีแกรนด์ จันทบุรี นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานวันกุ้งจันท์ตะวันออกแฟร์ ครั้งที่ 14 พร้อมเป็นวิทยากรพิเศษบรรยากาศในหัวข้อ การผลิตกุ้ง 53 ในภาวะโลกผันผวน โดยมีนายพูลศักดิ์ ประนุทณรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย อธิบดีกรมประมง นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจันทบุรี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งภาคเอกชน ทั่วภาคตะวันออก กว่า 500 คนเข้าร่วมในพิธีเปิดพร้อมรับฟังการบรรยาย
นายบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ได้เปิดเผยว่า การจัดงานวันกุ้งจันท์ตะวันออกแฟร์ และเทศกาลกินกุ้งจันท์ ประจำปี 2553 ในระหว่างวันที่ 23-24 มกราคม 2553 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในธุรกิจการเลี้ยงกุ้งจากทั่วประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งรับทราบข้อมูลข่าวสารการตลาด และยุทธศาสตร์กุ้งจากทางภาครัฐ เพื่อพัฒนาให้ธุรกิจกุ้งไทยเกิดความยั่งยืนท่ามกลางภาวะผันผวนโลก
จังหวัดจันทบุรีมีการเพาะเลี้ยงกุ้งตลอดแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 108 กิโลเมตร รวมพื้นที่กว่า 19,000 ไร่ ใน 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง ,ขลุง ,แหลมสิงห์ และอำเภอนายายอาม ผลิตกุ้งได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในปี 2552 สามารถผลิดภุ้งได้กว่า 57,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 12 จากทั่วประเทศ และสามารถส้รางเม็ดเงินเข้าจังหวัดจันทบุรีได้เป็นอันดับต้นๆปีละ กว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2553 นี้ ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งยังมีความวิตกในการเปิดเขตการค้าเสรี ซึ่งการแข่งขันในเวทีการค้าระหว่างประเทศจะมีความรุนแรงมากขึ้น และต้องเจอกับมาตรการกีดกันทางการค้า
ขณะที่นายอลงกรณ์ ได้บรรยายในหัวข้อ การผลิตกุ้ง 53 ในภาวะโลกผันผวน โดยกล่าวถึงสถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมกุ้งของไทยมีศักยภาพการผลิตสูงถึง ร้อยละ 25 ของการผลิตกุ้งทั้งหมดของโลก สามารถส่งออกได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก สร้างรายได้เข้าประเทศ ปีละกว่า 90,000 ล้านบาท
ทั้งนี้เป็นผลมาจากผู้เลี้ยงกุ้งของไทยมีการเลี้ยงแบบพัฒนา เพื่อการส่งออก ได้มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลทั้งหมด และการแปรรูปมีมาตรฐานการผลิตเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งส่งเสริมสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยทางอาหารที่ดีมาโดยตลอด
นายอลงกรณ์ ยังเปิดเผยว่า ปี 2553 นี้ มีการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน อาจจะส่งผลให้มีการนำเข้ากุ้งมาสวมสิทธิเป็นกุ้งไทยแล้วส่งออก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มความเข็มงวด ตรวจสอบการแอบอ้าง การสวมสิทธิแหล่งกำเนิด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของสินค้าส่งออกของไทย โดยแนะให้ภาคเกษตรกรก็ต้องรวมตัวป้องกันปัญหาดังกล่าว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้มีการพูดคุยกับภาคเอกชน ถึงการวางมาตรการป้องกันและตอบโต้ทางการค้า โดยจะกำหนดกลยุทธ์ แนวทางการแก้ปัญหาและให้ข้อแนะนำในการต่อสู้ในแต่ละขั้นตอนของการไต่สวน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
พร้อมกับเสริมสร้างการตลาดในการรักษาตลาดคู่ค้าเดิม และเร่งรัดการเจาะตลาดใหม่ โดยใช้การตลาดเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้ค้าและผู้บริโภคในต่างประเทศ เกิดความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งของไทย
ส่วนทางด้านตลาดภายในประเทศนั้น ได้สนับสนุนให้ทำข้อตกลงซื้อขายผลผลิตระหว่างเกษตรกร และผุ้ประกอบการให้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรผู้ผลิตว่ามีตลาดรองรับผลผลิต และผู้ประกอบการจะได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพในปริมาณตามความต้องการอีกด้วยยละ 12 จากทั่วประเทศ และสามารถส้รางเม็ดเงินเข้าจังหวัดจันทบุรีได้เป็นอันดับต้นๆปีละ กว่า 6,000 ล้านบาท พัฒนาให้ธุรกิจ ซึ่งดูจากแนวโน้มแล้วหากความต้องการบริโภคกุ้งในปี 2553 เพิ่มขึ้น ราคาก็จะมีการปรับตัวสูงขึ้น โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งของไทยสามารถผลิตกุ้งคุณภาพเพิ่มขึ้นได้อีกตามความต้องการของตลาดอย่างแน่นอน ซึ่งจะถือเป็นปีทองของเกษตรกรผู้ลี้ยงกุ้งอย่างแน่นอน