ผู้บริหาร “ซีพีเอฟ” รับวิกฤตเศรษฐกิจโลกหดตัวกระทบไม่มาก ตั้งเป้ายอดส่งออกกุ้งลดลง 15% จากมูลค่าปีนี้ 2,100 ล้านบาท พร้อมหันเพิ่มสัดส่วนตลาดญี่ปุ่นแทนสหรัฐฯ และรักษาสัดส่วนตลาดอียู ขณะเดียวกันชะลอแผนลงทุนขนาดใหญ่ –ปรับลดต้นทุน-เพิ่มศักยภาพการผลิตรับมือวิกฤต
นายสมหมาย เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกชะลอตัวคงจะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหารทะเลลดลง แต่พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป ด้วยการหันไปบริโภคกุ้งที่มีขนาดเล็กและราคาต่ำลง โดยในปี 52 ซีพีเอฟ ตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกกุ้งลดลง 15% จากปีนี้ ที่คาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจกุ้งประมาณ 2,100 ล้านบาท แต่ปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% จากปีนี้ที่ส่งออกุ้งรวม 40,000 หมื่นตัน
สำหรับตลาดส่งออกของบริษัทนั้น ตลาดสหรัฐฯ คงจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้มีปริมาณการส่งออกลดลง แต่ตลาดญี่ปุ่นจะยังคงมีศักยภาพที่ดี เนื่องจากเงินเยนแข็งค่าจากเดิม 117-120 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 90 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้ราคากุ้งแปรรูปส่งออกไปญี่ปุ่นราคาถูกลง
ทั้งนี้ ในปี 52 บริษัทคาดว่าปริมาณการส่งออกกุ้งไปยังประเทศญี่ปุ่นน่าจะเพิ่มขึ้น จากเดิมมีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 25-30% เป็น 33% ขณะเดียวกันจะรักษาสัดส่วนการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ให้ใกล้เคียงกับปีนี้ที่สัดส่วน 45% ส่วนตลาดตะวันออกกลาง มีสัดส่วนเล็กน้อย เพราะไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
“การแข่งขันทางธุรกิจปีหน้าน่าจะรุนแรง ซึ่งบริษัทได้เตรียมมาตรการรับมือ ทั้งเรื่องของการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพผลิต การพัฒนาสายพันธุ์ โดยในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารโรงงานไปหาแนวทางลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพอย่างน้อย 10-15% เพื่อหารือกันอีกครั้ง ก่อนจะนำมาใช้ปฏิบัติ”
นายสมหมาย กล่าวว่า ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ยอดคำสั่งซื้อสินค้ากุ้งจากทุกตลาดทั่วโลกปรับตัวลดลงประมาณ 10% ขณะที่ในปี 52 นี้ บริษัทไม่มีแผนจะลงทุนขนาดใหญ่เพิ่ม แต่จะปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยจะเน้นการผลิตสินค้าแปรรูปมากกว่าการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง
“ผมอยากฝากให้รัฐบาลชุดใหม่เห็นความสำคัญของภาคการเกษตรของไทย พร้อมทั้งกำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติ ทำให้ไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่เข้ามาจะต้องสานต่อ เพื่อทำให้เกษตรกรได้รู้ถึงทิศทางของภาคเกษตรของไทย”
นายสมหมาย เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกชะลอตัวคงจะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริโภคอาหารทะเลลดลง แต่พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป ด้วยการหันไปบริโภคกุ้งที่มีขนาดเล็กและราคาต่ำลง โดยในปี 52 ซีพีเอฟ ตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกกุ้งลดลง 15% จากปีนี้ ที่คาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจกุ้งประมาณ 2,100 ล้านบาท แต่ปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% จากปีนี้ที่ส่งออกุ้งรวม 40,000 หมื่นตัน
สำหรับตลาดส่งออกของบริษัทนั้น ตลาดสหรัฐฯ คงจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้มีปริมาณการส่งออกลดลง แต่ตลาดญี่ปุ่นจะยังคงมีศักยภาพที่ดี เนื่องจากเงินเยนแข็งค่าจากเดิม 117-120 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 90 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้ราคากุ้งแปรรูปส่งออกไปญี่ปุ่นราคาถูกลง
ทั้งนี้ ในปี 52 บริษัทคาดว่าปริมาณการส่งออกกุ้งไปยังประเทศญี่ปุ่นน่าจะเพิ่มขึ้น จากเดิมมีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 25-30% เป็น 33% ขณะเดียวกันจะรักษาสัดส่วนการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ให้ใกล้เคียงกับปีนี้ที่สัดส่วน 45% ส่วนตลาดตะวันออกกลาง มีสัดส่วนเล็กน้อย เพราะไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
“การแข่งขันทางธุรกิจปีหน้าน่าจะรุนแรง ซึ่งบริษัทได้เตรียมมาตรการรับมือ ทั้งเรื่องของการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพผลิต การพัฒนาสายพันธุ์ โดยในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารโรงงานไปหาแนวทางลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพอย่างน้อย 10-15% เพื่อหารือกันอีกครั้ง ก่อนจะนำมาใช้ปฏิบัติ”
นายสมหมาย กล่าวว่า ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ยอดคำสั่งซื้อสินค้ากุ้งจากทุกตลาดทั่วโลกปรับตัวลดลงประมาณ 10% ขณะที่ในปี 52 นี้ บริษัทไม่มีแผนจะลงทุนขนาดใหญ่เพิ่ม แต่จะปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยจะเน้นการผลิตสินค้าแปรรูปมากกว่าการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง
“ผมอยากฝากให้รัฐบาลชุดใหม่เห็นความสำคัญของภาคการเกษตรของไทย พร้อมทั้งกำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติ ทำให้ไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่เข้ามาจะต้องสานต่อ เพื่อทำให้เกษตรกรได้รู้ถึงทิศทางของภาคเกษตรของไทย”