พะเยา - ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ห่วงผลผลิตข้าวโพดใต้โครงการ Contract Farming กับลาว ปีละไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน อาจเข้าประเทศไม่ได้ หลังการเปิด AFTA เนื่องจาก พะเยาไม่มีด่านตรวจพืช
นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดพะเยา โดยมีคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากภาครัฐ และเอกชน รวมถึงผู้แทนของกรมการค้าต่างประเทศเข้าร่วมประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายของจังหวัด โดยเฉพาะเรื่องการเตรียมความพร้อมเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA ที่เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.53 ในลักษณะไม่มีโควตา และภาษีเป็นศูนย์
นายเชิดศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนผลผลิตข้าวของพะเยาไม่เป็นห่วง เนื่องผลผลิตมีคุณภาพต่างชาติให้การยอมรับมาตลอด แต่เป็นห่วงเรื่องผลผลิตข้าวโพด ที่พะเยาได้ทำสัญญา กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ลักษณะ Contract Farming ที่มีผลผลิตต่อปี ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน อาจเข้าประเทศไม่ได้ หลังเปิด AFTA เนื่องจากติดขัดเรื่องมาตรการนำเข้า ที่จุดผ่อนปรนชายแดน-ลาว บ้านฮวก (กิ่วหก) หมู่ที่ 12 ต.ภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยาไม่มีด่านตรวจพืชตามมาตรฐานของ AFTA ซึ่งอาจจะส่งกระทบกับจังหวัดพะเยา และเกษตรกรที่เข่าร่วมโครงการได้
ด้านนายจรัส กิตติสมบูรณ์สุข ผู้เชี่ยวชาญ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA นั้น จะมีข้อผูกพันตามชนิดของผลผลิต ซึ่งจังหวัดพะเยา ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือ ข้าวและข้าวโพด โดยภาพรวมแล้วจะได้ประโยชน์มากกว่า แต่ก็มีผลกระทบบ้าง เช่น อาจมีการนำข้าวที่ไม่มีคุณภาพผสมกับข้าวไทย ส่วนข้าวโพดการนำเข้าก็จะมีมาตรการควบคุมหลายเรื่องเช่นกัน อาทิ ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำหนดสินค้า , ใบรับรองสุขภาพอนามัยพืช ที่สำคัญ คือด่านศุลกากรจะต้องมีด่านตรวจพืช จึงจะสามารถนำผลผลิตเข้าได้
สำหรับบางจังหวัดที่ไม่มีด่านตรวจพืช อาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง โดยเฉพาะข้าวโพดที่ทำสัญญาตามโครงการ Contract Farming แต่อย่างไรก็ตามสามารถขอรับการสนับสนุนด่านตรวจพืชเฉพาะกิจของจังหวัดใกล้เคียงได้ กรณีจังหวัดพะเยาก็สามารถขอจากด่านศุลกากรเชียงของ จ.เชียงรายได้
นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดพะเยา โดยมีคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากภาครัฐ และเอกชน รวมถึงผู้แทนของกรมการค้าต่างประเทศเข้าร่วมประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายของจังหวัด โดยเฉพาะเรื่องการเตรียมความพร้อมเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA ที่เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.53 ในลักษณะไม่มีโควตา และภาษีเป็นศูนย์
นายเชิดศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนผลผลิตข้าวของพะเยาไม่เป็นห่วง เนื่องผลผลิตมีคุณภาพต่างชาติให้การยอมรับมาตลอด แต่เป็นห่วงเรื่องผลผลิตข้าวโพด ที่พะเยาได้ทำสัญญา กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ลักษณะ Contract Farming ที่มีผลผลิตต่อปี ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน อาจเข้าประเทศไม่ได้ หลังเปิด AFTA เนื่องจากติดขัดเรื่องมาตรการนำเข้า ที่จุดผ่อนปรนชายแดน-ลาว บ้านฮวก (กิ่วหก) หมู่ที่ 12 ต.ภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยาไม่มีด่านตรวจพืชตามมาตรฐานของ AFTA ซึ่งอาจจะส่งกระทบกับจังหวัดพะเยา และเกษตรกรที่เข่าร่วมโครงการได้
ด้านนายจรัส กิตติสมบูรณ์สุข ผู้เชี่ยวชาญ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA นั้น จะมีข้อผูกพันตามชนิดของผลผลิต ซึ่งจังหวัดพะเยา ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือ ข้าวและข้าวโพด โดยภาพรวมแล้วจะได้ประโยชน์มากกว่า แต่ก็มีผลกระทบบ้าง เช่น อาจมีการนำข้าวที่ไม่มีคุณภาพผสมกับข้าวไทย ส่วนข้าวโพดการนำเข้าก็จะมีมาตรการควบคุมหลายเรื่องเช่นกัน อาทิ ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำหนดสินค้า , ใบรับรองสุขภาพอนามัยพืช ที่สำคัญ คือด่านศุลกากรจะต้องมีด่านตรวจพืช จึงจะสามารถนำผลผลิตเข้าได้
สำหรับบางจังหวัดที่ไม่มีด่านตรวจพืช อาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง โดยเฉพาะข้าวโพดที่ทำสัญญาตามโครงการ Contract Farming แต่อย่างไรก็ตามสามารถขอรับการสนับสนุนด่านตรวจพืชเฉพาะกิจของจังหวัดใกล้เคียงได้ กรณีจังหวัดพะเยาก็สามารถขอจากด่านศุลกากรเชียงของ จ.เชียงรายได้