นครปฐม - สำนักงานประมงจังหวัดนครปฐม แจ้งเตือนภัยเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทต่างๆ ให้ระมัดระวังเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์น้ำที่เลี้ยงเนื่องจาก อาจเกิดการตาย ในช่วงนี้
นายสมโภชน์ กริบกระโทก ประมงจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ได้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ทำให้อากาศและอุณหภูมิของน้ำลดต่ำลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำของเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงไว้ได้ โดยอาจเกิดอาการเครียดและกินอาหารน้อยลง ความแข็งแรงและความทนทานต่อโรคลดต่ำลง ประกอบกับเชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่กระจายได้ง่ายในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ
สำหรับโรคปลา ที่มักเกิดในช่วงหน้าหนาวซึ่งมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอย่างมาก คือ โรคอียูเอส (Epizootic Ulcerative Syndrome; EUS) ซึ่งเป็นโรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง และควบคุมขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE และเรียกโรคชนิดนี้ในชื่อของ “โรคระบาดปลา” หรือ “โรคเน่าเปื่อย”
โดยลักษณะอาการที่ปรากฏภายนอกของปลาที่ป่วยเป็น สังเกตได้จากปลาจะมีแผลเลือดออกตามซอกเกล็ด แผลเน่าเปื่อย แผลหลุมลึกกระจายตามส่วนหัวและผิวลำตัว เซลล์ตับ ม้าม และไตเกิดความผิดปกติ จนเสื่อมและตายได้ เชื้อราชนิดนี้มีกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อน
โดยบางครั้งอาจพบร่วมกับการได้รับเชื้อโรคชนิดอื่นๆ เช่น ปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส ซึ่งเพิ่มความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น สำหรับชนิดของปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดนี้ได้ง่าย ได้แก่ ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาแรด ปลาบู่ และปลาสร้อย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มียาและสารเคมีที่จะใช้ฆ่าเชื้อราที่ฝังอยู่ภายในเนื้อเยื่อปลาได้ แต่ถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อราต่างๆจะเจริญเติบโตได้ช้าลง ในขณะเดียวกันปลาจะมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้นและจะหายป่วยได้เองในระยะต่อมา
อนึ่ง สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ กรมประมง ได้เสนอแนะนำแนวทางการควบคุมโรคระบาดในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกรดังนี้
1. เกษตรกรควรวางแผนระยะเวลาการเลี้ยงปลาให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หรือควรเว้นการเลี้ยงปลาในช่วงปลายฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว
2. ควรมีบ่อพักน้ำใช้เพื่อใช้ในฟาร์มได้เพียงพอตลอดฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว
3. เลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับฤดูกาล และหากจะเลี้ยงปลาในช่วงฤดูหนาว ควรเลือกชนิดปลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดน้อย เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาไม่มีเกล็ด
4. หากพบปลาป่วยเป็นโรคอียูเอสในแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้รีบปิดทางน้ำเข้าและหยุดการ เติมน้ำจากธรรมชาติเข้ามาในบ่อโดยทันที
5. ในระหว่างที่ไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ ให้ควบคุมปริมาณการให้อาหาร
6. ควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อ โดยใช้ปูนขาวในอัตรา 60 - 100 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
7. หากพบว่าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสีย โดยสังเกตว่ามีก๊าซผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อให้ใช้เกลือสาด บริเวณดังกล่าว ประมาณ 200 - 300 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
8. หากพบปลาตายในบ่อเลี้ยงให้กำจัดโดยการฝังหรือเผา
และ 9. เมื่ออากาศเริ่มเข้าสู่สภาวะที่เหมาะสม (อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น) และพบว่าปลาใน ธรรมชาติหายป่วยควรเปลี่ยนถ่ายน้ำตามความเหมาะสม และให้อาหารปลาได้ตามปกติ
ทั้งนี้ หากเกษตรกรพบปลาป่วยที่มีลักษณะอาการของโรคระบาดปลาดังกล่าว สามารถแจ้งกับสำนักงานประมงอำเภอทุกอำเภอ และสำนักงานประมงจังหวัดนครปฐมพร้อมขอรับคำแนะนำเบื้องต้น ได้ที่โทรศัพท์ 034-340035-6 ในวันและเวลาราชการ หรือหากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคปลาน้ำจืด สามารถติดต่อได้ที่สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด โทรศัพท์ 0-2579-4122
นายสมโภชน์ กริบกระโทก ประมงจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ได้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ทำให้อากาศและอุณหภูมิของน้ำลดต่ำลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำของเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงไว้ได้ โดยอาจเกิดอาการเครียดและกินอาหารน้อยลง ความแข็งแรงและความทนทานต่อโรคลดต่ำลง ประกอบกับเชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่กระจายได้ง่ายในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ
สำหรับโรคปลา ที่มักเกิดในช่วงหน้าหนาวซึ่งมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอย่างมาก คือ โรคอียูเอส (Epizootic Ulcerative Syndrome; EUS) ซึ่งเป็นโรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง และควบคุมขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE และเรียกโรคชนิดนี้ในชื่อของ “โรคระบาดปลา” หรือ “โรคเน่าเปื่อย”
โดยลักษณะอาการที่ปรากฏภายนอกของปลาที่ป่วยเป็น สังเกตได้จากปลาจะมีแผลเลือดออกตามซอกเกล็ด แผลเน่าเปื่อย แผลหลุมลึกกระจายตามส่วนหัวและผิวลำตัว เซลล์ตับ ม้าม และไตเกิดความผิดปกติ จนเสื่อมและตายได้ เชื้อราชนิดนี้มีกลไกการเกิดโรคที่ซับซ้อน
โดยบางครั้งอาจพบร่วมกับการได้รับเชื้อโรคชนิดอื่นๆ เช่น ปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส ซึ่งเพิ่มความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น สำหรับชนิดของปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดนี้ได้ง่าย ได้แก่ ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาแรด ปลาบู่ และปลาสร้อย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มียาและสารเคมีที่จะใช้ฆ่าเชื้อราที่ฝังอยู่ภายในเนื้อเยื่อปลาได้ แต่ถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อราต่างๆจะเจริญเติบโตได้ช้าลง ในขณะเดียวกันปลาจะมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้นและจะหายป่วยได้เองในระยะต่อมา
อนึ่ง สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ กรมประมง ได้เสนอแนะนำแนวทางการควบคุมโรคระบาดในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกรดังนี้
1. เกษตรกรควรวางแผนระยะเวลาการเลี้ยงปลาให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม หรือควรเว้นการเลี้ยงปลาในช่วงปลายฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว
2. ควรมีบ่อพักน้ำใช้เพื่อใช้ในฟาร์มได้เพียงพอตลอดฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว
3. เลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับฤดูกาล และหากจะเลี้ยงปลาในช่วงฤดูหนาว ควรเลือกชนิดปลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดน้อย เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาไม่มีเกล็ด
4. หากพบปลาป่วยเป็นโรคอียูเอสในแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้รีบปิดทางน้ำเข้าและหยุดการ เติมน้ำจากธรรมชาติเข้ามาในบ่อโดยทันที
5. ในระหว่างที่ไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ ให้ควบคุมปริมาณการให้อาหาร
6. ควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อ โดยใช้ปูนขาวในอัตรา 60 - 100 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
7. หากพบว่าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสีย โดยสังเกตว่ามีก๊าซผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อให้ใช้เกลือสาด บริเวณดังกล่าว ประมาณ 200 - 300 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
8. หากพบปลาตายในบ่อเลี้ยงให้กำจัดโดยการฝังหรือเผา
และ 9. เมื่ออากาศเริ่มเข้าสู่สภาวะที่เหมาะสม (อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น) และพบว่าปลาใน ธรรมชาติหายป่วยควรเปลี่ยนถ่ายน้ำตามความเหมาะสม และให้อาหารปลาได้ตามปกติ
ทั้งนี้ หากเกษตรกรพบปลาป่วยที่มีลักษณะอาการของโรคระบาดปลาดังกล่าว สามารถแจ้งกับสำนักงานประมงอำเภอทุกอำเภอ และสำนักงานประมงจังหวัดนครปฐมพร้อมขอรับคำแนะนำเบื้องต้น ได้ที่โทรศัพท์ 034-340035-6 ในวันและเวลาราชการ หรือหากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคปลาน้ำจืด สามารถติดต่อได้ที่สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด โทรศัพท์ 0-2579-4122