มหาสารคาม - จากความผันผวนของสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงปลากระชังในลำน้ำชีของเกษตรกร ทำให้ปลาที่ใกล้จับขายช็อกตาย ต้องนำไปหมักเป็นปลาร้าไว้ขายแทน
นายมานิจ รุ่งอรุณ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง บ้านดินดำ อำเภอเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า เลี้ยงปลา 40 กระชัง กระชังละ 1,000 ตัว ลงทุนไป 200,000 บาท ส่วนใหญ่จะเป็นปลานิล ระยะนี้ปลากระชังที่ปล่อยไว้ก่อนโตได้ขนาดที่ใกล้จะจับขาย แต่จากสภาพอากาศในตอนกลางวันที่ร้อนจัด พอช่วงกลางคืนสภาพอากาศเย็นจัด อุณหภูมิอยู่ที่ 13 องศาเซลเซียส ทำให้ปลาปรับสภาพไม่ทันช็อกตายบางส่วน
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเกษตรกรแถบอำเภอโกสุมพิสัย เชียงยืน กันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม มีการเลี้ยงปลากระชัง กว่า 300 ราย กว่า 3,000 กระชัง ก็ประสบปัญหาคล้ายๆกัน บางรายต้องหยุดเลี้ยงชั่วคราวหันไปประกอบอาชีพอื่น เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน ธ.ก.ส.มาลงทุน
ส่วนปลาที่ตายไม่ต่ำวันละ 50-100 กิโลกรัม ได้นำไปชำแหละตากแห้ง และนำไปหมักทำปลาร้าจำหน่ายตามหมู่บ้านในราคากิโลกรัมละ 35 บาท หรือ 3 กิโลกรัม 100 บาท รวมถึงเก็บไว้บริโภค ซึ่งการเลี้ยงปลากระชังระยะนี้ จึงต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน
นายมานิจ รุ่งอรุณ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง บ้านดินดำ อำเภอเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า เลี้ยงปลา 40 กระชัง กระชังละ 1,000 ตัว ลงทุนไป 200,000 บาท ส่วนใหญ่จะเป็นปลานิล ระยะนี้ปลากระชังที่ปล่อยไว้ก่อนโตได้ขนาดที่ใกล้จะจับขาย แต่จากสภาพอากาศในตอนกลางวันที่ร้อนจัด พอช่วงกลางคืนสภาพอากาศเย็นจัด อุณหภูมิอยู่ที่ 13 องศาเซลเซียส ทำให้ปลาปรับสภาพไม่ทันช็อกตายบางส่วน
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเกษตรกรแถบอำเภอโกสุมพิสัย เชียงยืน กันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม มีการเลี้ยงปลากระชัง กว่า 300 ราย กว่า 3,000 กระชัง ก็ประสบปัญหาคล้ายๆกัน บางรายต้องหยุดเลี้ยงชั่วคราวหันไปประกอบอาชีพอื่น เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน ธ.ก.ส.มาลงทุน
ส่วนปลาที่ตายไม่ต่ำวันละ 50-100 กิโลกรัม ได้นำไปชำแหละตากแห้ง และนำไปหมักทำปลาร้าจำหน่ายตามหมู่บ้านในราคากิโลกรัมละ 35 บาท หรือ 3 กิโลกรัม 100 บาท รวมถึงเก็บไว้บริโภค ซึ่งการเลี้ยงปลากระชังระยะนี้ จึงต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน