ศูนย์ข่าวศรีราชา- เมืองพัทยาแต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะชายหาด หวังฟื้นโครงการถมทะเลเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
วันนี้ (3 มี.ค.) นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เป็นประธานการประชุมร่วม กับคณะสมาชิกสภาเมืองพัทยา หัวหน้าส่วนราชการ และคณะที่ปรึกษา เพื่อร่วมหารือแนวทาง การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะโครงการปรับสภาพภูมิทัศน์ และโครงการขยายชายหาดเมืองพัทยา
นายอิทธิพล เปิดเผยว่า สำหรับเมืองพัทยาถือว่า เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญจึงจำเป็นต้องการมีปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชายหาดเมืองพัทยาซึ่งถือว่าเป็นจุดขายนั้นจากการรับรายงานพบว่า ปัจจุบันมีสภาพชายหาดที่คับแคบลง เนื่องจากมีการกัดเซาะอย่างรุนแรงซึ่งหากปล่อยไว้ต่อไป ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการท่องเที่ยวได้ จึงได้มีการนำเสนอแนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น 1 ชุด เพื่อมาศึกษาแนวทางทั้งการถมทะเล การปรับภูมิทัศน์ชายหาด รวมทั้งการขยายถนน และโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว
ด้าน นายพิเชษฐ์ อุทัยวัฒนานนท์ ผอ.สำนักการช่างเมืองพัทยา กล่าวชี้แจงว่า สำหรับชายหาดเมืองพัทยานั้นมีความยาวกว่า 3 กม.กว้าง 10-20 เมตร และถือว่ามีการกัดเซาะอย่างรุน แรงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ซึ่งหากปล่อยไว้ต่อไป อาจทำให้ชายหาดแคบลงกว่าเดิมมาก
ทั้งนี้ สำหรับการถมทะเลนั้นแต่เดิมในปี 2533 รัฐบาลได้เคยจ้างบริษัทไจก้า จากประ เทศญี่ปุ่นเข้ามาศึกษาและมีแผนงานโครงการในการพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาถึง 9 โครงการในงบกว่า 3,600 ล้านบาท เช่น การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น โดยมี 1 ในนี้มีโครงการถมทะเลในงบประมาณ 666 ล้านบาทรวมอยู่ด้วย แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมไม่เห็นชอบด้วย โดยแย้งว่า ชายหาดพัทยาไม่มีปัญหาการกัดเซาะเป็นนัยยะสำคัญ จึงทำให้โครงการต้องถูกระงับไป แต่ก็ได้มีการสั่งการให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเข้ามาทำการศึกษาผลกระทบ เรื่องการกัดเซาะในเวลา 3 ปี ซึ่งก็พบว่าไม่มีการกัดเซาะตามที่กล่าวอ้าง
อย่างไรก็ตาม หลังจาก 3 ปีไปแล้ว พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์มากขึ้น จึงทำให้ชายหาดถูกกัดเซาะไปมากกินพื้นที่หลายไร่ซึ่งถือว่ามีนัยยะสำคัญ ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการทบทวนโดยทำการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมใหม่ เพื่อร้องขอในการถมทะเลใหม่อีกครั้ง ซึ่งหากมีการลงรายละเอียดในเรื่องภูมิศาสตร์ และการกัดเซาะที่เกิดขึ้นจริงก็คงทำให้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดได้
ที่สำคัญ เมืองพัทยาได้เคยทำการศึกษาและดูเรื่องของทรายที่จะนำมาถมทะเลแล้ว โดยพบว่าในพื้นที่จังหวัดระยองมีสภาพทรายที่เหมาะกับการดำเนินการ โดยจะมีการขนถ่ายทางทะเลเพื่อนำมาสูบถมซึ่งแบ่งระยะการทำงานออกเป็น 5 ช่วง และจะทำให้ชายหาดพัทยามีพื้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50 เมตร
นายพิเชษฐ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะที่โครงการพัฒนาอื่นๆ อย่างกรณีของพัทยาใต้ เมืองพัทยาเองก็เคยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในงบประมาณกว่า 10 ล้านบาท เพื่อเข้ามาดำเนินการจัดทำผังแม่บทในการพัฒนา โดยมีการนำเสนอการก่อสร้างทางเดินรถอ้อมด้านหลังโครงการวอล์คกิ้งสตรีท หรืออาคาร 101 รายพัทยาใต้ โดยจะมีการก่อสร้างถนนลอยฟ้าตั้งอยู่บนคานในระยะ 40 เมตรวนอ้อมด้านหลัง ขนาดความยาวกว่า 2.7 กม.เพื่อไปบรรจบกับท่าเทียบเรือพัทยาใต้ แหลมบาลีฮาย ซึ่งจะทำให้การจราจรคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น ป้องกันการบุกรุกของผู้ประกอบการ จัดระ เบียบการท่องเที่ยว และถือเป็นการพัฒนาเสริมสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
ทั้งนี้ พบว่า เมื่อนำโครงการเสนอขอจัดสรรงบประมาณไปยังภาครัฐบาล ก็ถูกถอนออกจากการประชุม โดนชี้ว่าติดมติ ครม.เดิมที่มีคำสั่งให้ทำการรื้อถอนอาคารลุกล้ำ 101 ราย ซึ่งเรื่องนี้เห็นควรให้มีการทบทวนว่าเป็นโครงการที่เกิดประโยชน์และนำเสนอไปใหม่ เพื่อขอให้ ครม.ทบทวนมติ จากนั้นจึงดำเนินการเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการหารือ ถึงแนวทางการปรับขยายเส้นทางการจราจรบนถนนสายชายหาดพัทยา เนื่องจากปัจจุบันมีสภาพคับแคบไม่เพียงพอต่อจำนวนยานยนต์ ที่สัญจรไปมา แต่พบว่าการดำเนินการเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด
อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวมีการชี้แจงว่าตามการประกาศผังเมืองเดิมของจังหวัดชลบุรี และเมืองพัทยานั้นมีการกันแนวเขตบริเวณริมทางในระยะ 8 เมตร ซึ่งสามารถดำเนินการได้ โดยในอดีตนั้นเคยมีการหารือร่วมกับผู้ประกอบการและชุมชน แต่ก็ได้รับการคัดค้าน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยรวม จึงทำให้โครงการถูกระงับไป แต่หากจะดำเนินการจริงก็สามารถกระทำได้โดยทำการเสนอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินตลอดแนว ซึ่งจะได้มีการหารืออีกครั้ง
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวมีมติเห็นชอบตามการเสนอ พร้อมทำการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการในโครงการฟื้นฟูบูรณะชายหาดเมืองพัทยา โดยจะมีการเชิญหน่วยงานที่สำคัญอย่าง กรมขนส่งทางน้ำ,กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมหารือ ก่อนทำรายงานผลการศึกษา เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเพื่อจัดทำต่อไป
วันนี้ (3 มี.ค.) นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เป็นประธานการประชุมร่วม กับคณะสมาชิกสภาเมืองพัทยา หัวหน้าส่วนราชการ และคณะที่ปรึกษา เพื่อร่วมหารือแนวทาง การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะโครงการปรับสภาพภูมิทัศน์ และโครงการขยายชายหาดเมืองพัทยา
นายอิทธิพล เปิดเผยว่า สำหรับเมืองพัทยาถือว่า เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญจึงจำเป็นต้องการมีปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชายหาดเมืองพัทยาซึ่งถือว่าเป็นจุดขายนั้นจากการรับรายงานพบว่า ปัจจุบันมีสภาพชายหาดที่คับแคบลง เนื่องจากมีการกัดเซาะอย่างรุนแรงซึ่งหากปล่อยไว้ต่อไป ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการท่องเที่ยวได้ จึงได้มีการนำเสนอแนวคิดในการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น 1 ชุด เพื่อมาศึกษาแนวทางทั้งการถมทะเล การปรับภูมิทัศน์ชายหาด รวมทั้งการขยายถนน และโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว
ด้าน นายพิเชษฐ์ อุทัยวัฒนานนท์ ผอ.สำนักการช่างเมืองพัทยา กล่าวชี้แจงว่า สำหรับชายหาดเมืองพัทยานั้นมีความยาวกว่า 3 กม.กว้าง 10-20 เมตร และถือว่ามีการกัดเซาะอย่างรุน แรงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ซึ่งหากปล่อยไว้ต่อไป อาจทำให้ชายหาดแคบลงกว่าเดิมมาก
ทั้งนี้ สำหรับการถมทะเลนั้นแต่เดิมในปี 2533 รัฐบาลได้เคยจ้างบริษัทไจก้า จากประ เทศญี่ปุ่นเข้ามาศึกษาและมีแผนงานโครงการในการพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาถึง 9 โครงการในงบกว่า 3,600 ล้านบาท เช่น การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น โดยมี 1 ในนี้มีโครงการถมทะเลในงบประมาณ 666 ล้านบาทรวมอยู่ด้วย แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมไม่เห็นชอบด้วย โดยแย้งว่า ชายหาดพัทยาไม่มีปัญหาการกัดเซาะเป็นนัยยะสำคัญ จึงทำให้โครงการต้องถูกระงับไป แต่ก็ได้มีการสั่งการให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเข้ามาทำการศึกษาผลกระทบ เรื่องการกัดเซาะในเวลา 3 ปี ซึ่งก็พบว่าไม่มีการกัดเซาะตามที่กล่าวอ้าง
อย่างไรก็ตาม หลังจาก 3 ปีไปแล้ว พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์มากขึ้น จึงทำให้ชายหาดถูกกัดเซาะไปมากกินพื้นที่หลายไร่ซึ่งถือว่ามีนัยยะสำคัญ ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการทบทวนโดยทำการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมใหม่ เพื่อร้องขอในการถมทะเลใหม่อีกครั้ง ซึ่งหากมีการลงรายละเอียดในเรื่องภูมิศาสตร์ และการกัดเซาะที่เกิดขึ้นจริงก็คงทำให้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดได้
ที่สำคัญ เมืองพัทยาได้เคยทำการศึกษาและดูเรื่องของทรายที่จะนำมาถมทะเลแล้ว โดยพบว่าในพื้นที่จังหวัดระยองมีสภาพทรายที่เหมาะกับการดำเนินการ โดยจะมีการขนถ่ายทางทะเลเพื่อนำมาสูบถมซึ่งแบ่งระยะการทำงานออกเป็น 5 ช่วง และจะทำให้ชายหาดพัทยามีพื้นที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50 เมตร
นายพิเชษฐ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะที่โครงการพัฒนาอื่นๆ อย่างกรณีของพัทยาใต้ เมืองพัทยาเองก็เคยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในงบประมาณกว่า 10 ล้านบาท เพื่อเข้ามาดำเนินการจัดทำผังแม่บทในการพัฒนา โดยมีการนำเสนอการก่อสร้างทางเดินรถอ้อมด้านหลังโครงการวอล์คกิ้งสตรีท หรืออาคาร 101 รายพัทยาใต้ โดยจะมีการก่อสร้างถนนลอยฟ้าตั้งอยู่บนคานในระยะ 40 เมตรวนอ้อมด้านหลัง ขนาดความยาวกว่า 2.7 กม.เพื่อไปบรรจบกับท่าเทียบเรือพัทยาใต้ แหลมบาลีฮาย ซึ่งจะทำให้การจราจรคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น ป้องกันการบุกรุกของผู้ประกอบการ จัดระ เบียบการท่องเที่ยว และถือเป็นการพัฒนาเสริมสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
ทั้งนี้ พบว่า เมื่อนำโครงการเสนอขอจัดสรรงบประมาณไปยังภาครัฐบาล ก็ถูกถอนออกจากการประชุม โดนชี้ว่าติดมติ ครม.เดิมที่มีคำสั่งให้ทำการรื้อถอนอาคารลุกล้ำ 101 ราย ซึ่งเรื่องนี้เห็นควรให้มีการทบทวนว่าเป็นโครงการที่เกิดประโยชน์และนำเสนอไปใหม่ เพื่อขอให้ ครม.ทบทวนมติ จากนั้นจึงดำเนินการเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีการหารือ ถึงแนวทางการปรับขยายเส้นทางการจราจรบนถนนสายชายหาดพัทยา เนื่องจากปัจจุบันมีสภาพคับแคบไม่เพียงพอต่อจำนวนยานยนต์ ที่สัญจรไปมา แต่พบว่าการดำเนินการเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด
อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวมีการชี้แจงว่าตามการประกาศผังเมืองเดิมของจังหวัดชลบุรี และเมืองพัทยานั้นมีการกันแนวเขตบริเวณริมทางในระยะ 8 เมตร ซึ่งสามารถดำเนินการได้ โดยในอดีตนั้นเคยมีการหารือร่วมกับผู้ประกอบการและชุมชน แต่ก็ได้รับการคัดค้าน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยรวม จึงทำให้โครงการถูกระงับไป แต่หากจะดำเนินการจริงก็สามารถกระทำได้โดยทำการเสนอออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินตลอดแนว ซึ่งจะได้มีการหารืออีกครั้ง
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวมีมติเห็นชอบตามการเสนอ พร้อมทำการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการในโครงการฟื้นฟูบูรณะชายหาดเมืองพัทยา โดยจะมีการเชิญหน่วยงานที่สำคัญอย่าง กรมขนส่งทางน้ำ,กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมหารือ ก่อนทำรายงานผลการศึกษา เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเพื่อจัดทำต่อไป