ศูนย์ข่าวศรีราชา-นายกเมืองพัทยาแจงข้อมูลคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยววุฒิสภาในโอกาสเดินทางมารับฟังสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว ชี้พัทยาสร้างรายได้มหาศาลกับได้รับการสนับสนุนงบจากภาครัฐในวงจำกัด วอนผู้เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาปรับปรุงมุ่งหวังให้ฟื้นฟูการท่องเที่ยว
วันนี้ (27 มิ.ย. 52) ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา นำคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเมืองพัทยา หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมตัวแทนจากองค์ กรภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ร่วมให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยววุฒิสภา ที่นำโดยนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ประธานคณะกรรมาธิการฯ ในโอกาสที่เดินทางมาร่วมรับฟังสภาพปัญหาและสถานการณ์การท่องเที่ยว หลังพบว่าปัจจุบันพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศหลายแห่งประสบภาวะวิกฤติจากสถานการณ์การเมือง และการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด 2009
นายอิทธิพล กล่าวว่าสำหรับเมืองพัทยาถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลกตั้งแต่อดีต โดยจะเห็นได้จากจำนวนของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาพักผ่อนแต่ละปีนั้นเฉลี่ยแล้วประมาณ 6-7 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศจากการท่องเที่ยวปีละหลายหมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความเจริญมากขึ้นปัญหาทางด้านสังคมต่างๆก็ตามมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เมืองพัทยาจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนแนวทางในการปรับปรุง รักษา และพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อาทิ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่ปัจจุบันได้ดำเนินการเกี่ยวกับอุโมงค์ร้อยสายไฟชายหาดเพื่อปรับภูมิทัศน์ การก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร และการก่อสร้างและติด ตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังลมบนพื้นที่เกาะล้าน
ขณะที่ด้านสาธารณสุข ปัจจุบันนอกจากโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนจำนวน 4 แห่งแล้ว เมืองพัทยายังดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในงบ ประมาณ 177 ล้านบาท ขนาด 80 เตียง รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขและอนามัยอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนด้านการศึกษานอกจากจะมีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 11 แห่งแล้ว ยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อรองรับการบริการอีกด้วย
นายอิทธิพล กล่าวต่อไปว่าสำหรับด้านการท่องเที่ยว ปัจจุบันเมืองพัทยามีโรงแรมมากกว่า 700 แห่ง ร้านอาหารกว่า 1,800 แห่ง ธนาคาร 100 สาขา ศูนย์การค้าขนาดใหญ่อีก 10 แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีก 30 แห่ง จึงทำให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีพร้อมสรรพทุกสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเมืองพัทยาจะสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท แต่พบว่าการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งแม้จะเป็นระบบการปกครองใหม่ที่นำเสนอขอจัดสรรงบประมาณโดยตรง แต่กลับพบว่ามียอดของการจัดสรรที่ตกต่ำลง หากคิดเฉลี่ยปริมาณของนักท่อง เที่ยวที่นำเงินเข้าประเทศคือ 7 ล้านคน ในอัตราค่าหัวเฉลี่ยคนละ 10,000 บาท แต่เมืองพัทยาได้รับการจัดสรรจากภาครัฐเฉลี่ยเพียงหัวละ 200 กว่าบาทเท่านั้น เมื่อคิดจากยอดของประชากรในพื้นที่ ซึ่งยังไม่รวมไปถึงประชากรแฝงที่มีเพิ่มขึ้นถึง 3 แสนคนในปัจจุบัน
ทั้งนี้จะเห็นได้จากสถิติการจัดสรรงบประมาณของรัฐที่มีต่อเมืองพัทยาตั้งแต่ปี 2551 ที่ จัดสรรงบให้ 1,700 ล้านบาท แต่ในปี 2552 ให้ 1,494 ล้านบาทลดลง 12 % และในปี 2553 ที่คาดว่าจะได้ 1,350 ล้านบาท ลดลงไปอีก 9.68 % จึงทำให้การพัฒนาเป็นไปด้วยความล่าช้าและยากลำบาก
ขณะที่ปัญหาหลักๆที่อยากให้ดำเนินการแก้ไขคือ 1.เรื่องของแหล่งน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำ ประปาที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ 2.เรื่องของการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นสนามบินพานิชย์นานาชาติอย่างแท้จริง 3.เรื่องของการบำบัดน้ำเสีย 4.เรื่องของการแก้ไขปัญหาอาชญา กรรมอย่างจริงจัง และ 5.เรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการกัดเซาะชายหาด ที่ควรศึกษาและวางแผนในการถมทะเลเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ทางด้านนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่าสำหรับสถาน การณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศอย่างรุนแรง จึงนำคณะกรรมาธิการลงพื้นที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาและข้อ เสนอแนะ
สำหรับเมืองพัทยาจากการรับฟังการรายงานต้องยอมรับว่า มีปัญหาพอสมควร โดยเฉพาะการสนับสนุนของภาครัฐที่ไม่ค่อยจริงใจต่อการพัฒนา ทั้งๆที่ต้องการนำรายได้เข้าสู่ประเทศจากการท่องเที่ยวเป็นหลัก จนถึงขนาดตั้งเป็นวาระแห่งชาติ แต่พบว่าการสนับสนุนงบประมาณลงพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆนั้นไม่เฉพาะแต่เมืองพัทยา จะเป็นภูเก็ต หรือเชียงใหม่ ก็ประสพปัญหาเดียวกัน คือรัฐไม่ค่อยให้ความสนใจดูแล
ขณะที่ปัจจุบันนี้เองแม้ว่าดูจะให้ความใส่ใจมากขึ้น แต่ก็พบว่ายังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร อย่างเรื่องของเงินกู้ Sme ที่มีข้อแม้มากมาย และผู้ประ กอบการส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับการจัดสรร หรือปัญหาเรื่องการท่องเที่ยวด้านอื่นๆที่มีการร้องเรียนก็ไม่ได้รับการตอบสนอง กิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างๆเพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการรวบรวมงบประมาณกันเองในส่วนของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเอกชน
คณะกรรมาธิการจะได้รวบรวมปัญหาต่างๆเหล่านี้ นำไปเสนอและประสานงานร่วมกับรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อขอรับการสนับสนุนและหาแนวทางการช่วยเหลืออย่างเป็นรูป ธรรมต่อไปในอนาคต
วันนี้ (27 มิ.ย. 52) ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา นำคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเมืองพัทยา หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมตัวแทนจากองค์ กรภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ร่วมให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยววุฒิสภา ที่นำโดยนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ประธานคณะกรรมาธิการฯ ในโอกาสที่เดินทางมาร่วมรับฟังสภาพปัญหาและสถานการณ์การท่องเที่ยว หลังพบว่าปัจจุบันพื้นที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศหลายแห่งประสบภาวะวิกฤติจากสถานการณ์การเมือง และการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด 2009
นายอิทธิพล กล่าวว่าสำหรับเมืองพัทยาถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลกตั้งแต่อดีต โดยจะเห็นได้จากจำนวนของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาพักผ่อนแต่ละปีนั้นเฉลี่ยแล้วประมาณ 6-7 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศจากการท่องเที่ยวปีละหลายหมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความเจริญมากขึ้นปัญหาทางด้านสังคมต่างๆก็ตามมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เมืองพัทยาจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนแนวทางในการปรับปรุง รักษา และพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง อาทิ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่ปัจจุบันได้ดำเนินการเกี่ยวกับอุโมงค์ร้อยสายไฟชายหาดเพื่อปรับภูมิทัศน์ การก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร และการก่อสร้างและติด ตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังลมบนพื้นที่เกาะล้าน
ขณะที่ด้านสาธารณสุข ปัจจุบันนอกจากโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนจำนวน 4 แห่งแล้ว เมืองพัทยายังดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในงบ ประมาณ 177 ล้านบาท ขนาด 80 เตียง รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขและอนามัยอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนด้านการศึกษานอกจากจะมีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 11 แห่งแล้ว ยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อรองรับการบริการอีกด้วย
นายอิทธิพล กล่าวต่อไปว่าสำหรับด้านการท่องเที่ยว ปัจจุบันเมืองพัทยามีโรงแรมมากกว่า 700 แห่ง ร้านอาหารกว่า 1,800 แห่ง ธนาคาร 100 สาขา ศูนย์การค้าขนาดใหญ่อีก 10 แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีก 30 แห่ง จึงทำให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีพร้อมสรรพทุกสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเมืองพัทยาจะสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท แต่พบว่าการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งแม้จะเป็นระบบการปกครองใหม่ที่นำเสนอขอจัดสรรงบประมาณโดยตรง แต่กลับพบว่ามียอดของการจัดสรรที่ตกต่ำลง หากคิดเฉลี่ยปริมาณของนักท่อง เที่ยวที่นำเงินเข้าประเทศคือ 7 ล้านคน ในอัตราค่าหัวเฉลี่ยคนละ 10,000 บาท แต่เมืองพัทยาได้รับการจัดสรรจากภาครัฐเฉลี่ยเพียงหัวละ 200 กว่าบาทเท่านั้น เมื่อคิดจากยอดของประชากรในพื้นที่ ซึ่งยังไม่รวมไปถึงประชากรแฝงที่มีเพิ่มขึ้นถึง 3 แสนคนในปัจจุบัน
ทั้งนี้จะเห็นได้จากสถิติการจัดสรรงบประมาณของรัฐที่มีต่อเมืองพัทยาตั้งแต่ปี 2551 ที่ จัดสรรงบให้ 1,700 ล้านบาท แต่ในปี 2552 ให้ 1,494 ล้านบาทลดลง 12 % และในปี 2553 ที่คาดว่าจะได้ 1,350 ล้านบาท ลดลงไปอีก 9.68 % จึงทำให้การพัฒนาเป็นไปด้วยความล่าช้าและยากลำบาก
ขณะที่ปัญหาหลักๆที่อยากให้ดำเนินการแก้ไขคือ 1.เรื่องของแหล่งน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำ ประปาที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ 2.เรื่องของการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นสนามบินพานิชย์นานาชาติอย่างแท้จริง 3.เรื่องของการบำบัดน้ำเสีย 4.เรื่องของการแก้ไขปัญหาอาชญา กรรมอย่างจริงจัง และ 5.เรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการกัดเซาะชายหาด ที่ควรศึกษาและวางแผนในการถมทะเลเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ทางด้านนางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่าสำหรับสถาน การณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นยอมรับว่าส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศอย่างรุนแรง จึงนำคณะกรรมาธิการลงพื้นที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาและข้อ เสนอแนะ
สำหรับเมืองพัทยาจากการรับฟังการรายงานต้องยอมรับว่า มีปัญหาพอสมควร โดยเฉพาะการสนับสนุนของภาครัฐที่ไม่ค่อยจริงใจต่อการพัฒนา ทั้งๆที่ต้องการนำรายได้เข้าสู่ประเทศจากการท่องเที่ยวเป็นหลัก จนถึงขนาดตั้งเป็นวาระแห่งชาติ แต่พบว่าการสนับสนุนงบประมาณลงพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆนั้นไม่เฉพาะแต่เมืองพัทยา จะเป็นภูเก็ต หรือเชียงใหม่ ก็ประสพปัญหาเดียวกัน คือรัฐไม่ค่อยให้ความสนใจดูแล
ขณะที่ปัจจุบันนี้เองแม้ว่าดูจะให้ความใส่ใจมากขึ้น แต่ก็พบว่ายังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร อย่างเรื่องของเงินกู้ Sme ที่มีข้อแม้มากมาย และผู้ประ กอบการส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับการจัดสรร หรือปัญหาเรื่องการท่องเที่ยวด้านอื่นๆที่มีการร้องเรียนก็ไม่ได้รับการตอบสนอง กิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างๆเพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการรวบรวมงบประมาณกันเองในส่วนของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเอกชน
คณะกรรมาธิการจะได้รวบรวมปัญหาต่างๆเหล่านี้ นำไปเสนอและประสานงานร่วมกับรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อขอรับการสนับสนุนและหาแนวทางการช่วยเหลืออย่างเป็นรูป ธรรมต่อไปในอนาคต