ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – หอการค้าฯดึง ITD ร่วมตั้งวงถกทิศทางการเปลี่ยนแปลงหลังระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเกิด เพื่อเตรียมพร้อมรองรับทิศทางการค้า การลงทุนในอนาคต เผยศักยภาพพื้นที่ “ชายแดนตาก-แม่สอด” เป็น Junction ทางเศรษฐกิจไทย-พม่าโดยธรรมชาติ แต่กลับถูกมองข้ามมานาน ปล่อยกระบวนการค้าเป็นไปตามยถากรรม ขณะที่พม่าเตรียมเปิดนิคมฯเมียวดี 6 ธ.ค.นี้
รายงานข่าวจากจังหวัดตาก แจ้งว่า หอการค้าจังหวัดตาก ร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ได้กำหนดจัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นบนเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC)” ในวันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2551 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมหอการค้าจังหวัดตาก(ชั้น 2 ) อ.แม่สอด จ.ตาก
โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community -AEC) ที่มีต่อเมือง / ชุมชนตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจ EWEC
ทั้งนี้พื้นที่ชายแดนตะวันตกของไทย (ชายแดนจังหวัดตาก) และตะวันออกของพม่า (เมียวดี) ในอดีตถูกใช้เป็น Buffer State ในมิติความมั่นคงรัฐชาติที่มีมหาอำนาจหลากหลายประเทศจากโลกตะวันตกยื่นมือเข้ามาเอี่ยว แต่วันนี้ อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ด้วยภูมิศาสตร์ของพื้นที่ โดยเฉพาะ “แม่สอด” กลายเป็น Junction สำคัญของ East – West Economic Corridor ไปแล้ว
แต่ด้วยภูมิศาสตร์ของ “ชายแดนจังหวัดตาก โดยเฉพาะแม่สอด” ที่เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญด้านตะวันตก ตามระเบียงเศรษฐกิจ “ตะวันออก-ตะวันตก ; East – West Economic Corridor” ส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ ACMEC (Thailand, Myanmar, Cambodia Lao PDR) และกรอบความร่วมมือ BIMSTEC (Thailand, Myanmar, India ,Nepal, Bhutan, Bangladesh ,Sri Lanka)
ทำให้วันนี้ แนวรบด้านตะวันตกของไทยแห่งนี้ กำลังก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านจากมิติความมั่นคง – สิทธิมนุษยชน เข้าสู่มิติทางเศรษฐกิจเต็มตัวมากขึ้น
นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก , นายปณิธิ ตั้งผาติ ที่ปรึกษาหอฯตาก ร่วมกันสะท้อนถึงทิศทางการพัฒนาว่า ถ้าดูตามภูมิศาสตร์แล้ว แม่สอดเป็น Junction ที่สำคัญของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมท่าเรือดานัง ผ่านทางถนนหมายเลข 9 เข้าสู่ไทยตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (มุกดาหาร-ขอนแก่น ที่กรมทางหลวงประกาศใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.51) เชื่อมกับพม่าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-พม่าข้ามแม่น้ำเมย เข้าเมียวดี – มะละแหม่ง – ย่างกุ้ง หรือพะโค หรือเนปิดอว์ – อินเดีย บังคลาเทศ ทะลุออกถึงยุโยบได้
2 คีย์แมนสำคัญของหอการค้าจังหวัดตาก บอกว่า ด้วยความเป็น Junction สำคัญระหว่างไทย-พม่าด้านตะวันตก ทำให้แม่สอด มีการค้ากับพม่าต่อเนื่อง มีการส่งออกสินค้าปีละกว่า 10,000 ล้านบาท เช่น ปี 47 ส่งออก 11,736 ล้านบาท นำเข้า 644 ล้านบาท, ปี 48 ส่งออก 12,543 ล้านบาท นำเข้า 742 ล้านบาท , ปี 49 ส่งออก 10,948 ล้านบาท นำเข้า 1,304 ล้านบาท , ปี 50 ส่งออก 12,309 ล้านบาท นำเข้า 1,027 ล้านบาท และ 10 เดือนของปีงบประมาณ 51 ส่งออกแล้ว 14,481 ล้านบาท นำเข้า 1,030 ล้านบาท
“เฉพาะการค้าไทยกับพม่าผ่านแม่สอด การขยายตัวประมาณ 10%ต่อปีแม้เส้นทางคมนาคมยังไม่สมบูรณ์ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเราสามารถเปิดเส้นทางการค้าด้านนี้ไปถึงอินเดีย บังคลาเทศ หรืออาจทะลุถึงยุโรป ตามศักยภาพทางภูมิศาสตร์ มูลค่าการค้าจะทวีคูณอีกไม่รู้กี่เท่าตัว”
แต่จนถึงวันนี้ การพัฒนา “แม่สอด” ให้เป็น Junction ทางการค้าภายใต้กรอบ ACMEC - BIMSTECอย่างแท้จริงนั้น ยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร
โดยมีเพียงสะพานมิตรภาพไทย-พม่าฯ เมื่อปี 2537 ที่วันนี้ มีปัญหารถบรรทุกหนักไม่สามารถผ่านได้ ต้องกลับไปใช้วิธีขนสินค้าเข้าพม่าผ่านตามท่า หรือคลังสินค้าอนุมัติเฉพาะคราว ตามริมฝั่งแม่น้ำเมย ที่มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 19 ท่า (เปิดบริการจริงประมาณ 11-12 ท่า)
และมติ ครม.19 ตุลาคม 2547 ที่ให้พื้นที่แม่สอด ชายแดนจังหวัดตาก เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน แต่ก็เป็นเพียง มติ ครม.มาจนถึงทุกวันนี้
นายบรรพต ย้ำว่า ขณะที่พม่า ได้จัดเตรียมพื้นที่กว่า 600 เอเคอร์ ในเขตเมืองเมียวดี (ห่างจากชายแดนไปประมาณ 10 กม.) ตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษรองรับโรงงานอุตสาหกรรม , เขตพาณิชย์กรรม ฯลฯ โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในต้นเดือนหน้า (6 ธันวาคม 2551) โดยดึง 5 กลุ่มทุนใหญ่ในย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงของพม่าเข้ามาเป็นผู้ลงทุนพัฒนา ซึ่งล่าสุดการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ตลอดจนศูนย์บริการนำเข้า – ส่งออก เสร็จเกือบสมบูรณ์แล้ว
“แต่ในฝั่งไทยยังไม่ปรากฏอะไรเป็นชิ้น เป็นอัน สาธารณูปโภคเคยเป็นอยู่อย่างไร ก็ยังเป็นอย่างนั้น”
ทั้งที่โดยตัวแม่สอด ผนวกกับอำเภอชายแดนของจังหวัดตาก ไม่ว่า จะเป็น พบพระ อุ้มผาง แม่ระมาด สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าพื้นที่ไม่น้อยกว่า 3-4 หมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม (โรงงานเย็บผ้า) เกือบ 300 โรงในแม่สอด , โรงงานแปรรูปการเกษตร , ผลผลิตทางการเกษตร และการท่องเที่ยว รวมถึงการค้าชายแดน
ในสิ้นปีนี้โรงงานเอทานอลของบริษัทแม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด ที่จะมีกำลังผลิตมากถึง 200,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง “มิตรผล – ผาแดง – ไทยออยล์” ก็จะกระตุ้นให้เกิดการผลิต / ขนส่งเข้า-ออกอีกมหาศาล
นายปณิธิ ซึ่งเป็น 1 ในผู้ส่งออกรายใหญ่ในแม่สอด ที่คร่ำหวอดกับการค้าชายแดนไทย-พม่าด้านนี้มาหลายสิบปี บอกว่า เราอยู่อย่างนี้ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะมีความเชื่อถือ มีคอนเนคชั่น นำสินค้าส่งถึงมือคู่ค้าในพม่าได้ทุกสถานการณ์อยู่แล้ว แต่ถ้าหากมีการพัฒนาเส้นทางที่สมบูรณ์ ก็จะทำให้กระบวนการค้าขยายตัว ยกระดับมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งพ่อค้าชายแดนเองก็ต้องปรับตัว เพราะถึงเวลานั้น ทุนใหญ่ย่อมเข้ามาอีกมาก กลุ่มทุนในท้องถิ่นก็ต้องปรับตัว ต่อยอดคอนเนคชั่นที่มีอยู่ เพื่อเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดการค้าที่จะขยายตัวขึ้น
เบื้องต้นสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก็ต้องปรับ ทั้งถนนตาก-แม่สอด ควรต้องปรับเป็น 4 เลนทั้งหมด ,สะพานไทย-พม่า ก็น่าจะมีแห่งที่ 2 รองรับการขนส่งสินค้า , ผังเมืองแม่สอด ต้องวางไว้สำหรับการขยายตัวในอนาคต ที่น่าจะขยายไปทางฝั่งแม่ระมาด (ทิศเหนือของตัวเมืองแม่สอด) จัดพื้นที่รองรับภาคอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อจัดระบบแรงงานต่างด้าว ที่อาจจะควบคุมให้แรงงานเข้า-ออกแบบไปเช้า เย็นกลับ ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานเถื่อนเข้าพื้นที่ชั้นในของประเทศอีกทางหนึ่ง เป็นต้น
นายชัยยุทธ เสณีตันติกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวว่า ในมุมของภาคอุตสาหกรรมทุกวันนี้ “แม่สอด” ได้เปรียบเฉพาะมีแรงงานพม่ามากเท่านั้น ขณะที่สาธารณูปโภคอื่น ๆ ด้อยกว่าพื้นที่อื่นทั้งสิ้น ซึ่งที่ผ่านมามีนักลงทุนเข้ามาเกือบ 300 ราย ก่อนหน้านี้มีการผลิตเพื่อส่งออกโดยตรง – รับจ้างผลิต (เย็บผ้า) มูลค่ากว่า 10,000 – 20,000 ล้านบาทต่อปี แต่ปีหน้า (2552) ต้องรับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกแน่นอน
รายงานข่าวจากจังหวัดตาก แจ้งว่า หอการค้าจังหวัดตาก ร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ได้กำหนดจัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นบนเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC)” ในวันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2551 เวลา 09.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมหอการค้าจังหวัดตาก(ชั้น 2 ) อ.แม่สอด จ.ตาก
โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community -AEC) ที่มีต่อเมือง / ชุมชนตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจ EWEC
ทั้งนี้พื้นที่ชายแดนตะวันตกของไทย (ชายแดนจังหวัดตาก) และตะวันออกของพม่า (เมียวดี) ในอดีตถูกใช้เป็น Buffer State ในมิติความมั่นคงรัฐชาติที่มีมหาอำนาจหลากหลายประเทศจากโลกตะวันตกยื่นมือเข้ามาเอี่ยว แต่วันนี้ อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ด้วยภูมิศาสตร์ของพื้นที่ โดยเฉพาะ “แม่สอด” กลายเป็น Junction สำคัญของ East – West Economic Corridor ไปแล้ว
แต่ด้วยภูมิศาสตร์ของ “ชายแดนจังหวัดตาก โดยเฉพาะแม่สอด” ที่เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญด้านตะวันตก ตามระเบียงเศรษฐกิจ “ตะวันออก-ตะวันตก ; East – West Economic Corridor” ส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ ACMEC (Thailand, Myanmar, Cambodia Lao PDR) และกรอบความร่วมมือ BIMSTEC (Thailand, Myanmar, India ,Nepal, Bhutan, Bangladesh ,Sri Lanka)
ทำให้วันนี้ แนวรบด้านตะวันตกของไทยแห่งนี้ กำลังก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านจากมิติความมั่นคง – สิทธิมนุษยชน เข้าสู่มิติทางเศรษฐกิจเต็มตัวมากขึ้น
นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก , นายปณิธิ ตั้งผาติ ที่ปรึกษาหอฯตาก ร่วมกันสะท้อนถึงทิศทางการพัฒนาว่า ถ้าดูตามภูมิศาสตร์แล้ว แม่สอดเป็น Junction ที่สำคัญของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมท่าเรือดานัง ผ่านทางถนนหมายเลข 9 เข้าสู่ไทยตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (มุกดาหาร-ขอนแก่น ที่กรมทางหลวงประกาศใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.51) เชื่อมกับพม่าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-พม่าข้ามแม่น้ำเมย เข้าเมียวดี – มะละแหม่ง – ย่างกุ้ง หรือพะโค หรือเนปิดอว์ – อินเดีย บังคลาเทศ ทะลุออกถึงยุโยบได้
2 คีย์แมนสำคัญของหอการค้าจังหวัดตาก บอกว่า ด้วยความเป็น Junction สำคัญระหว่างไทย-พม่าด้านตะวันตก ทำให้แม่สอด มีการค้ากับพม่าต่อเนื่อง มีการส่งออกสินค้าปีละกว่า 10,000 ล้านบาท เช่น ปี 47 ส่งออก 11,736 ล้านบาท นำเข้า 644 ล้านบาท, ปี 48 ส่งออก 12,543 ล้านบาท นำเข้า 742 ล้านบาท , ปี 49 ส่งออก 10,948 ล้านบาท นำเข้า 1,304 ล้านบาท , ปี 50 ส่งออก 12,309 ล้านบาท นำเข้า 1,027 ล้านบาท และ 10 เดือนของปีงบประมาณ 51 ส่งออกแล้ว 14,481 ล้านบาท นำเข้า 1,030 ล้านบาท
“เฉพาะการค้าไทยกับพม่าผ่านแม่สอด การขยายตัวประมาณ 10%ต่อปีแม้เส้นทางคมนาคมยังไม่สมบูรณ์ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเราสามารถเปิดเส้นทางการค้าด้านนี้ไปถึงอินเดีย บังคลาเทศ หรืออาจทะลุถึงยุโรป ตามศักยภาพทางภูมิศาสตร์ มูลค่าการค้าจะทวีคูณอีกไม่รู้กี่เท่าตัว”
แต่จนถึงวันนี้ การพัฒนา “แม่สอด” ให้เป็น Junction ทางการค้าภายใต้กรอบ ACMEC - BIMSTECอย่างแท้จริงนั้น ยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร
โดยมีเพียงสะพานมิตรภาพไทย-พม่าฯ เมื่อปี 2537 ที่วันนี้ มีปัญหารถบรรทุกหนักไม่สามารถผ่านได้ ต้องกลับไปใช้วิธีขนสินค้าเข้าพม่าผ่านตามท่า หรือคลังสินค้าอนุมัติเฉพาะคราว ตามริมฝั่งแม่น้ำเมย ที่มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 19 ท่า (เปิดบริการจริงประมาณ 11-12 ท่า)
และมติ ครม.19 ตุลาคม 2547 ที่ให้พื้นที่แม่สอด ชายแดนจังหวัดตาก เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน แต่ก็เป็นเพียง มติ ครม.มาจนถึงทุกวันนี้
นายบรรพต ย้ำว่า ขณะที่พม่า ได้จัดเตรียมพื้นที่กว่า 600 เอเคอร์ ในเขตเมืองเมียวดี (ห่างจากชายแดนไปประมาณ 10 กม.) ตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษรองรับโรงงานอุตสาหกรรม , เขตพาณิชย์กรรม ฯลฯ โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในต้นเดือนหน้า (6 ธันวาคม 2551) โดยดึง 5 กลุ่มทุนใหญ่ในย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงของพม่าเข้ามาเป็นผู้ลงทุนพัฒนา ซึ่งล่าสุดการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ตลอดจนศูนย์บริการนำเข้า – ส่งออก เสร็จเกือบสมบูรณ์แล้ว
“แต่ในฝั่งไทยยังไม่ปรากฏอะไรเป็นชิ้น เป็นอัน สาธารณูปโภคเคยเป็นอยู่อย่างไร ก็ยังเป็นอย่างนั้น”
ทั้งที่โดยตัวแม่สอด ผนวกกับอำเภอชายแดนของจังหวัดตาก ไม่ว่า จะเป็น พบพระ อุ้มผาง แม่ระมาด สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าพื้นที่ไม่น้อยกว่า 3-4 หมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม (โรงงานเย็บผ้า) เกือบ 300 โรงในแม่สอด , โรงงานแปรรูปการเกษตร , ผลผลิตทางการเกษตร และการท่องเที่ยว รวมถึงการค้าชายแดน
ในสิ้นปีนี้โรงงานเอทานอลของบริษัทแม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด ที่จะมีกำลังผลิตมากถึง 200,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง “มิตรผล – ผาแดง – ไทยออยล์” ก็จะกระตุ้นให้เกิดการผลิต / ขนส่งเข้า-ออกอีกมหาศาล
นายปณิธิ ซึ่งเป็น 1 ในผู้ส่งออกรายใหญ่ในแม่สอด ที่คร่ำหวอดกับการค้าชายแดนไทย-พม่าด้านนี้มาหลายสิบปี บอกว่า เราอยู่อย่างนี้ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะมีความเชื่อถือ มีคอนเนคชั่น นำสินค้าส่งถึงมือคู่ค้าในพม่าได้ทุกสถานการณ์อยู่แล้ว แต่ถ้าหากมีการพัฒนาเส้นทางที่สมบูรณ์ ก็จะทำให้กระบวนการค้าขยายตัว ยกระดับมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งพ่อค้าชายแดนเองก็ต้องปรับตัว เพราะถึงเวลานั้น ทุนใหญ่ย่อมเข้ามาอีกมาก กลุ่มทุนในท้องถิ่นก็ต้องปรับตัว ต่อยอดคอนเนคชั่นที่มีอยู่ เพื่อเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดการค้าที่จะขยายตัวขึ้น
เบื้องต้นสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก็ต้องปรับ ทั้งถนนตาก-แม่สอด ควรต้องปรับเป็น 4 เลนทั้งหมด ,สะพานไทย-พม่า ก็น่าจะมีแห่งที่ 2 รองรับการขนส่งสินค้า , ผังเมืองแม่สอด ต้องวางไว้สำหรับการขยายตัวในอนาคต ที่น่าจะขยายไปทางฝั่งแม่ระมาด (ทิศเหนือของตัวเมืองแม่สอด) จัดพื้นที่รองรับภาคอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อจัดระบบแรงงานต่างด้าว ที่อาจจะควบคุมให้แรงงานเข้า-ออกแบบไปเช้า เย็นกลับ ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานเถื่อนเข้าพื้นที่ชั้นในของประเทศอีกทางหนึ่ง เป็นต้น
นายชัยยุทธ เสณีตันติกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวว่า ในมุมของภาคอุตสาหกรรมทุกวันนี้ “แม่สอด” ได้เปรียบเฉพาะมีแรงงานพม่ามากเท่านั้น ขณะที่สาธารณูปโภคอื่น ๆ ด้อยกว่าพื้นที่อื่นทั้งสิ้น ซึ่งที่ผ่านมามีนักลงทุนเข้ามาเกือบ 300 ราย ก่อนหน้านี้มีการผลิตเพื่อส่งออกโดยตรง – รับจ้างผลิต (เย็บผ้า) มูลค่ากว่า 10,000 – 20,000 ล้านบาทต่อปี แต่ปีหน้า (2552) ต้องรับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกแน่นอน