ตาก – สำนักพระพุทธศาสนาฯ เตือนระวังแก๊งห่มเหลืองออกเรี่ยไร แจกซองกฐิน ผ้าป่า ที่กำลังออกอาละวาดหนักในขณะนี้
นางกาญจนา กองสุผล ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก เปิดเผยว่า จากการที่มีประชาชนร้องเรียนเรื่อง “การเรี่ยไร” ของพระภิกษุสงฆ์ มีทั้งวัดในพื้นที่จังหวัดตาก และจังหวัดอื่นๆ ที่เกรงว่าจะมีการแอบแฝงหาผลประโยชน์หรือเป็นพวกมิจฉาชีพนั้น สำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดตากได้ขอความร่วมมือให้ช่วยสอดส่องดูแลต่อกรณีดังกล่าว
ปัญหาการเรี่ยไรนั้นพบว่าจะทำเป็นขบวนการมิจฉาชีพจะนำกระป๋องกฐิน ผ้าป่า กัณฑ์เทศน์ ใส่รถกระบะ อ้างชื่อวัดดังๆ แถบภาคกลางนำฝากไว้ตามร้านค้าต่างๆ ถึงเวลาก็ไปเก็บ สร้างรายได้อย่างมาก
ที่ผ่านมาสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตากได้จับกุมขบวนการเรี่ยไร โดยแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ นั่งรถเข็นบิณฑบาตขอเงิน และกรณีเรี่ยไรอื่นๆ อีกหลายคดี ส่วนใหญ่จะใช้การห่มผ้าเหลือง เรียกศรัทธาจากประชาชน แต่ก็ถูกจับได้และดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในฐานชาวพุทธ เวลาจะร่วมบริจาคทำบุญก็ควรทำตามศรัทธา เพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่แฝงตัวมา หากพบว่ามีการแอบแฝง หรือต้องสงสัย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำการตรวจสอบ
ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ตามคำสั่งมหาเถรสมาคม โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม เรื่องควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2539 การเรี่ยไร หมายถึง การขอ รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการ ซึ่งมีการแสดงออกหรือโดยอ้อมว่ามิใช่การซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการตามธรรมดา และยังหมายถึงการออกเรี่ยไรการแจกซองฎีกา การบอกบุญบนรถโดยสาร การกั้นรถโดยสาร การใช้ยานพาหนะบรรทุกลูกนิมิต การตั้งองค์กฐินผ้าป่าตามสถานที่ต่างๆ การบอกบุญโดยใช้บาตรจำลอง กระป๋องผ้าป่า ฯลฯ
โดยห้ามวัดหรือพระภิกษุสามเณรทำการเรี่ยไร หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำการเรี่ยไร ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์แก่วัดหรือพระศาสนาหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นอย่างใดแก่ตนและผู้อื่น เว้นแต่กรณีที่กำหนด เช่น เฉพาะการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัดเพื่อเสนอไปยังเจ้าคณะจังหวัดต่อไป ทั้งนี้ หากพระภิกษุสามเณรรูปใดฝ่าฝืนให้ขับออกจากวัดและบันทึกในหนังสือสุทธิด้วย
นางกาญจนา กองสุผล ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก เปิดเผยว่า จากการที่มีประชาชนร้องเรียนเรื่อง “การเรี่ยไร” ของพระภิกษุสงฆ์ มีทั้งวัดในพื้นที่จังหวัดตาก และจังหวัดอื่นๆ ที่เกรงว่าจะมีการแอบแฝงหาผลประโยชน์หรือเป็นพวกมิจฉาชีพนั้น สำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดตากได้ขอความร่วมมือให้ช่วยสอดส่องดูแลต่อกรณีดังกล่าว
ปัญหาการเรี่ยไรนั้นพบว่าจะทำเป็นขบวนการมิจฉาชีพจะนำกระป๋องกฐิน ผ้าป่า กัณฑ์เทศน์ ใส่รถกระบะ อ้างชื่อวัดดังๆ แถบภาคกลางนำฝากไว้ตามร้านค้าต่างๆ ถึงเวลาก็ไปเก็บ สร้างรายได้อย่างมาก
ที่ผ่านมาสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตากได้จับกุมขบวนการเรี่ยไร โดยแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ นั่งรถเข็นบิณฑบาตขอเงิน และกรณีเรี่ยไรอื่นๆ อีกหลายคดี ส่วนใหญ่จะใช้การห่มผ้าเหลือง เรียกศรัทธาจากประชาชน แต่ก็ถูกจับได้และดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในฐานชาวพุทธ เวลาจะร่วมบริจาคทำบุญก็ควรทำตามศรัทธา เพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่แฝงตัวมา หากพบว่ามีการแอบแฝง หรือต้องสงสัย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำการตรวจสอบ
ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ตามคำสั่งมหาเถรสมาคม โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม เรื่องควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2539 การเรี่ยไร หมายถึง การขอ รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการ ซึ่งมีการแสดงออกหรือโดยอ้อมว่ามิใช่การซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการตามธรรมดา และยังหมายถึงการออกเรี่ยไรการแจกซองฎีกา การบอกบุญบนรถโดยสาร การกั้นรถโดยสาร การใช้ยานพาหนะบรรทุกลูกนิมิต การตั้งองค์กฐินผ้าป่าตามสถานที่ต่างๆ การบอกบุญโดยใช้บาตรจำลอง กระป๋องผ้าป่า ฯลฯ
โดยห้ามวัดหรือพระภิกษุสามเณรทำการเรี่ยไร หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำการเรี่ยไร ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์แก่วัดหรือพระศาสนาหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นอย่างใดแก่ตนและผู้อื่น เว้นแต่กรณีที่กำหนด เช่น เฉพาะการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าคณะอำเภอเจ้าสังกัดเพื่อเสนอไปยังเจ้าคณะจังหวัดต่อไป ทั้งนี้ หากพระภิกษุสามเณรรูปใดฝ่าฝืนให้ขับออกจากวัดและบันทึกในหนังสือสุทธิด้วย