ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – กลุ่มนักธุรกิจท้องถิ่นเมืองพ่อขุนฯ เพรียกหา “ศูนย์กระจายสินค้าเมืองเชียงราย” รองรับ North-South Economic Corridor ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชื่อมไทย-ลาว-จีนตอนใต้ หวั่นทุนจีนปักธงฝั่งเพื่อนบ้านก่อน ทำไทย-เชียงราย ชวด ขณะที่ภาครัฐยังไร้ท่าทีที่ชัดเจนจนถึงทุกวันนี้
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจหอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ (คสศ.) และประธานหอการค้า จ.เชียงราย เปิดเผยว่า หลังจากกรมทางหลวงออกแบบเพื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งล่าสุดได้ลงพื้นที่ชี้แจงข้อมูลและรับฟังความเห็นจากชาวบ้านไปแล้ว คาดว่า จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามกำหนดคือ ปี 2552 แล้วเสร็จในปี 2554
สำหรับสะพานแห่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายอย่างมาก เพราะจะกลายเป็นประตูเชื่อมถนนสายเหนือ-ใต้ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งทะลุไปถึงจีนตอนใต้ได้ด้วยภายในระยะทางเพียง 254 กิโลเมตรเท่านั้น
เขาบอกอีกว่า สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำโขง ออกแบบให้มี 4 ช่องจราจร ช่องละ 7 เมตร มีไหล่ทางข้างละ 2.50 เมตร และมีเกาะกลางถนนกว้าง 4.20 เมตร โดยในส่วนเกาะกลางถนนคาดว่าจะใช้ทำรางของรถไฟ เพื่อการขนถ่ายสินค้าไทย-สปป.ลาว-จีน ในอนาคต
ดังนั้น ตนจึงเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าขึ้นในเชียงราย โดยตั้งเข้ามาลึกภายในเขต อ.เมือง เพื่อรองรับสินค้าทั้งจากชายแดนด้าน อ.แม่สาย ซึ่งติดกับประเทศพม่า ทางเรือในแม่น้ำโขงด้าน อ.เชียงแสน ซึ่งติดกับพม่า-สปป.ลาว และจาก อ.เชียงของ ผ่านสะพานและรถไฟดังกล่าวโดยเร็ว
ทั้งนี้ หากล่าช้าออกไปกลุ่มทุนต่างๆ โดยเฉพาะจากจีนอาจจะสร้างศูนย์กระจายสินค้าในฝั่งประเทศเพื่อนบ้านก็จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการเป็นแหล่งกระจายสินค้า การให้บริการด้านระบบขนถ่ายสินค้าโดยเฉพาะรถไฟของจีนและไทยมีขนาดรางที่แตกต่างกัน ถ้าเราปล่อยให้รถไฟจีนแล่นเข้ามาเปลี่ยนถ่ายโบกี้ในประเทศไทยจะทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่มากขึ้นอีกทางหนึ่ง
ด้าน นายมงคลชัย ดวงแสงทอง ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรม จ.เชียงราย กล่าวว่า การสร้างศูนย์กระจายสินค้าเพื่อรองรับสะพานแม่น้ำโขงนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งลำพังภาคเอกชนท้องถิ่นคงไม่มีศักยภาพ เพราะอาจใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท ที่ดินอีกไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ ภายในเป็นเขตปลอดภาษี ซึ่งถ้าทำได้จะต้องมีศักยภาพอย่างต่ำ คือ สามารถรีแพกเกจสินค้าเพื่อการส่งออกได้ ฯลฯ
ขณะเดียวกัน ภาครัฐมีศักยภาพในการก่อสร้าง แต่ก็ไม่เหมาะที่จะเข้าไปลงทุนก่อสร้างเอง เพราะไม่มีระบบการบริหารที่รวดเร็วเหมือนเอกชน ดังนั้น รัฐควรดึงเอกชนรายใหญ่ลงทุนและประกอบการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจท้องถิ่นและคนเชียงราย ซึ่งคงจะต้องมีการระดมสมองกันมากกว่านี้ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะเกี่ยวข้องกับงบประมาณมหาศาล และการบริหารจัดการที่สลับซับซ้อน
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการตั้งศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าว มีการพูดคุยกันในวงกว้างสำหรับภาคธุรกิจชายแดนของ จ.เชียงราย โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ปักหลักทำธุรกิจโรงแรมหรูริมฝั่งแม่น้ำกกในตัวเมืองเชียงราย เคยบรรยายทั้งในและนอกเวทีหลายครั้งว่า อยากให้เชียงรายมีศูนย์กระจายสินค้าขึ้น โดยสามารถควบรวมการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากด่านต่างๆ ทั้ง 3 ด่าน คือ แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ เอาไว้เพียงจุดเดียวเพื่อประโยชน์ของพื้นที่ซึ่งหลายฝ่ายก็ขานรับ
แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการหารือในรายละเอียด เรื่องความยากง่ายในการดำเนินการและงบประมาณรวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐแต่อย่างใด
ขณะเดียวกัน ในการจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชน ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่โรงแรมเวียงอินทร์ จ.เชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีการระบุว่า หากมีการอนุมัติสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่ ต.ศรีดอนชัย และ ต.สถาน อ.เชียงของ ชายแดนไทย-สปป.ลาว ก็จะมีการสร้างศูนย์กระจายสินค้าเป็นเฟสแรกของโครงการนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงทำให้ความหวังของภาคธุรกิจที่จะให้มีศูนย์กระจายสินค้ายังคงเลื่อนลอย และไม่มีเสียงตอบรับใดๆ จากภาครัฐ
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจหอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ (คสศ.) และประธานหอการค้า จ.เชียงราย เปิดเผยว่า หลังจากกรมทางหลวงออกแบบเพื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งล่าสุดได้ลงพื้นที่ชี้แจงข้อมูลและรับฟังความเห็นจากชาวบ้านไปแล้ว คาดว่า จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามกำหนดคือ ปี 2552 แล้วเสร็จในปี 2554
สำหรับสะพานแห่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายอย่างมาก เพราะจะกลายเป็นประตูเชื่อมถนนสายเหนือ-ใต้ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งทะลุไปถึงจีนตอนใต้ได้ด้วยภายในระยะทางเพียง 254 กิโลเมตรเท่านั้น
เขาบอกอีกว่า สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำโขง ออกแบบให้มี 4 ช่องจราจร ช่องละ 7 เมตร มีไหล่ทางข้างละ 2.50 เมตร และมีเกาะกลางถนนกว้าง 4.20 เมตร โดยในส่วนเกาะกลางถนนคาดว่าจะใช้ทำรางของรถไฟ เพื่อการขนถ่ายสินค้าไทย-สปป.ลาว-จีน ในอนาคต
ดังนั้น ตนจึงเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าขึ้นในเชียงราย โดยตั้งเข้ามาลึกภายในเขต อ.เมือง เพื่อรองรับสินค้าทั้งจากชายแดนด้าน อ.แม่สาย ซึ่งติดกับประเทศพม่า ทางเรือในแม่น้ำโขงด้าน อ.เชียงแสน ซึ่งติดกับพม่า-สปป.ลาว และจาก อ.เชียงของ ผ่านสะพานและรถไฟดังกล่าวโดยเร็ว
ทั้งนี้ หากล่าช้าออกไปกลุ่มทุนต่างๆ โดยเฉพาะจากจีนอาจจะสร้างศูนย์กระจายสินค้าในฝั่งประเทศเพื่อนบ้านก็จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการเป็นแหล่งกระจายสินค้า การให้บริการด้านระบบขนถ่ายสินค้าโดยเฉพาะรถไฟของจีนและไทยมีขนาดรางที่แตกต่างกัน ถ้าเราปล่อยให้รถไฟจีนแล่นเข้ามาเปลี่ยนถ่ายโบกี้ในประเทศไทยจะทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่มากขึ้นอีกทางหนึ่ง
ด้าน นายมงคลชัย ดวงแสงทอง ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรม จ.เชียงราย กล่าวว่า การสร้างศูนย์กระจายสินค้าเพื่อรองรับสะพานแม่น้ำโขงนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งลำพังภาคเอกชนท้องถิ่นคงไม่มีศักยภาพ เพราะอาจใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท ที่ดินอีกไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ ภายในเป็นเขตปลอดภาษี ซึ่งถ้าทำได้จะต้องมีศักยภาพอย่างต่ำ คือ สามารถรีแพกเกจสินค้าเพื่อการส่งออกได้ ฯลฯ
ขณะเดียวกัน ภาครัฐมีศักยภาพในการก่อสร้าง แต่ก็ไม่เหมาะที่จะเข้าไปลงทุนก่อสร้างเอง เพราะไม่มีระบบการบริหารที่รวดเร็วเหมือนเอกชน ดังนั้น รัฐควรดึงเอกชนรายใหญ่ลงทุนและประกอบการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจท้องถิ่นและคนเชียงราย ซึ่งคงจะต้องมีการระดมสมองกันมากกว่านี้ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะเกี่ยวข้องกับงบประมาณมหาศาล และการบริหารจัดการที่สลับซับซ้อน
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการตั้งศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าว มีการพูดคุยกันในวงกว้างสำหรับภาคธุรกิจชายแดนของ จ.เชียงราย โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ปักหลักทำธุรกิจโรงแรมหรูริมฝั่งแม่น้ำกกในตัวเมืองเชียงราย เคยบรรยายทั้งในและนอกเวทีหลายครั้งว่า อยากให้เชียงรายมีศูนย์กระจายสินค้าขึ้น โดยสามารถควบรวมการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากด่านต่างๆ ทั้ง 3 ด่าน คือ แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ เอาไว้เพียงจุดเดียวเพื่อประโยชน์ของพื้นที่ซึ่งหลายฝ่ายก็ขานรับ
แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการหารือในรายละเอียด เรื่องความยากง่ายในการดำเนินการและงบประมาณรวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐแต่อย่างใด
ขณะเดียวกัน ในการจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชน ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่โรงแรมเวียงอินทร์ จ.เชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีการระบุว่า หากมีการอนุมัติสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่ ต.ศรีดอนชัย และ ต.สถาน อ.เชียงของ ชายแดนไทย-สปป.ลาว ก็จะมีการสร้างศูนย์กระจายสินค้าเป็นเฟสแรกของโครงการนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงทำให้ความหวังของภาคธุรกิจที่จะให้มีศูนย์กระจายสินค้ายังคงเลื่อนลอย และไม่มีเสียงตอบรับใดๆ จากภาครัฐ