เชียงราย - ประธาน คสศ./หอ 10 จังหวัดภาคเหนือ แนะนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หาทางสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องเศรษฐกิจกลับมาด่วน พร้อมหามาตรการระยะสั้นรับมือ กรณี “เลห์แมน บราเดอร์ส” ล้ม ไม่ให้ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย แต่ยอมรับ “สมชาย” ขึ้นแท่น วิกฤตการเมืองยังไม่จบ
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้า จ.เชียงราย และประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ กล่าวว่า การโหวตให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี คนใหม่ เชื่อว่าความเชื่อมั่นจะเริ่มกลับมา เพราะนายสมชาย คือ ผู้ที่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นงานที่ตนคิดว่าภาครัฐบาลควรทำตั้งแต่แรกแล้ว และมีบุคลิกอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งคงจะต้องดูการทำงานว่าจะมีมาตรการการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตามมา
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ควรจะหาทางสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องเศรษฐกิจกลับมา ส่งสัญญาณต่อภาคการลงทุน การผลิตว่าจะมีการขยายตัวและทิศทางไปอย่างไร และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระสั้นและระยะยาวอย่างไร พร้อมกันนี้จะมีการเยียวยาผลเสียหายที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมาก็จำเป็นที่ควรจะทำ
ทั้งนี้ จากกรณี บ.เลห์แมน บราเดอร์ส ในสหรัฐอเมริกาที่เข้าสู่การล้มละลาย แต่ยังไม่มีการพิทักษ์ทรัพย์ ฉะนั้น รัฐบาลไทยจึงพอมีเวลาในการดูแลปัญหา รัฐควรจะมาดูเรื่องค่าเงินบาทที่จะแข็งค่าขึ้นและมีการขนเงินทุนกลับสหรัฐมากขึ้น ดังนั้น มาตรการระยะสั้นในเรื่องการเงิน ตลาดทุนจะต้องดูแลเป็นพิเศษ ไม่ให้การล้มละลายของเลห์แมน บราเดอร์ส มาซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย
สำหรับภาคการเมืองหลังจากได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ยังคงน่าจะมีความขัดแย้งต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้า จ.เชียงราย และประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ กล่าวว่า การโหวตให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี คนใหม่ เชื่อว่าความเชื่อมั่นจะเริ่มกลับมา เพราะนายสมชาย คือ ผู้ที่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นงานที่ตนคิดว่าภาครัฐบาลควรทำตั้งแต่แรกแล้ว และมีบุคลิกอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งคงจะต้องดูการทำงานว่าจะมีมาตรการการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตามมา
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ควรจะหาทางสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องเศรษฐกิจกลับมา ส่งสัญญาณต่อภาคการลงทุน การผลิตว่าจะมีการขยายตัวและทิศทางไปอย่างไร และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระสั้นและระยะยาวอย่างไร พร้อมกันนี้จะมีการเยียวยาผลเสียหายที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมาก็จำเป็นที่ควรจะทำ
ทั้งนี้ จากกรณี บ.เลห์แมน บราเดอร์ส ในสหรัฐอเมริกาที่เข้าสู่การล้มละลาย แต่ยังไม่มีการพิทักษ์ทรัพย์ ฉะนั้น รัฐบาลไทยจึงพอมีเวลาในการดูแลปัญหา รัฐควรจะมาดูเรื่องค่าเงินบาทที่จะแข็งค่าขึ้นและมีการขนเงินทุนกลับสหรัฐมากขึ้น ดังนั้น มาตรการระยะสั้นในเรื่องการเงิน ตลาดทุนจะต้องดูแลเป็นพิเศษ ไม่ให้การล้มละลายของเลห์แมน บราเดอร์ส มาซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย
สำหรับภาคการเมืองหลังจากได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ก็ยังคงน่าจะมีความขัดแย้งต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน