“เอแบคโพลล์” เผยผลสำรวจประชาชนเกือบร้อยละ 80 รู้สึกกังวลต่อความขัดแย้งทางการเมือง หวั่นแปรสภาพสู่บ้านป่าเมืองเถื่อน และต้องการผู้นำที่มีความซื่อสัตย์และความรู้ความสามารถในขณะนี้
วันนี้ (27 ก.ค.) สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 2,448 ตัวอย่าง เกี่ยวกับ “ทางออกฝ่าวิกฤตการเมืองในความคิดเห็นของสาธารณชน” ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 ระบุรู้สึกกังวลมาก ว่าความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองจะทำให้ประชาชนเข้าสู่สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน รองลงมา คือ ร้อยละ 11.2 ระบุกังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 13.4 ระบุกังวลปานกลาง ร้อยละ 4.7 กังวลค่อนข้างน้อย และร้อยละ 3.4 รู้สึกกังวลเพียงเล็กน้อย
ส่วนสิ่งที่ผู้มีอำนาจและประชาชนทั่วไปควรช่วยกันทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้นั้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 93.7 ระบุความรักและสามัคคีกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 91.8 ระบุให้ยึดมั่นในกติกา กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 63.5 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 62.0 ระบุให้อภัยกัน ร้อยละ 55.3 ระบุการอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 90.7 ระบุคนไทยควรใช้ชีวิตตามปกติไม่ก่อความวุ่นวายอะไร ถ้ามีการตัดสินยุบพรรคการเมืองทั้งหมด ในขณะที่ร้อยละ 9.3 ระบุไม่ยอมรับผลการตัดสิน
แต่เมื่อถามว่า ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ปีนี้ พรรคการเมืองใดที่ถูกคาดว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามก้ำกึ่งหรือสูสีกัน ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค คือ ร้อยละ 40.9 ระบุเป็นพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 39.4 ระบุเป็นพรรคพลังประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 12.6 ระบุพรรคอื่นๆ และร้อยละ 7.1 ไม่มีความคิดเห็น
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้บริหารประเทศและรัฐมนตรีที่ต้องการ พบว่า ประชาชนต้องการคุณสมบัติสองอันดับแรก คือ คนที่มีทั้งซื่อสัตย์สุจริต และความรู้ความสามารถ คือ ร้อยละ 79.7 ต้องการคุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์สุจริต และร้อยละ 73.2 ระบุคุณสมบัติด้านความรู้ความสามารถ อันดับที่ 3 คือ ร้อยละ 61.1 ระบุมีความรับผิดชอบ แต่ที่น่าสังเกต คือ ความร่ำรวยเป็นคุณสมบัติที่ประชาชนต้องการมาเป็นอันดับสุดท้าย คือมีเพียงร้อยละ 8.6 เท่านั้น
วันนี้ (27 ก.ค.) สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 2,448 ตัวอย่าง เกี่ยวกับ “ทางออกฝ่าวิกฤตการเมืองในความคิดเห็นของสาธารณชน” ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 ระบุรู้สึกกังวลมาก ว่าความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองจะทำให้ประชาชนเข้าสู่สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน รองลงมา คือ ร้อยละ 11.2 ระบุกังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 13.4 ระบุกังวลปานกลาง ร้อยละ 4.7 กังวลค่อนข้างน้อย และร้อยละ 3.4 รู้สึกกังวลเพียงเล็กน้อย
ส่วนสิ่งที่ผู้มีอำนาจและประชาชนทั่วไปควรช่วยกันทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้นั้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 93.7 ระบุความรักและสามัคคีกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 91.8 ระบุให้ยึดมั่นในกติกา กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 63.5 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 62.0 ระบุให้อภัยกัน ร้อยละ 55.3 ระบุการอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 90.7 ระบุคนไทยควรใช้ชีวิตตามปกติไม่ก่อความวุ่นวายอะไร ถ้ามีการตัดสินยุบพรรคการเมืองทั้งหมด ในขณะที่ร้อยละ 9.3 ระบุไม่ยอมรับผลการตัดสิน
แต่เมื่อถามว่า ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ปีนี้ พรรคการเมืองใดที่ถูกคาดว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามก้ำกึ่งหรือสูสีกัน ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค คือ ร้อยละ 40.9 ระบุเป็นพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 39.4 ระบุเป็นพรรคพลังประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 12.6 ระบุพรรคอื่นๆ และร้อยละ 7.1 ไม่มีความคิดเห็น
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้บริหารประเทศและรัฐมนตรีที่ต้องการ พบว่า ประชาชนต้องการคุณสมบัติสองอันดับแรก คือ คนที่มีทั้งซื่อสัตย์สุจริต และความรู้ความสามารถ คือ ร้อยละ 79.7 ต้องการคุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์สุจริต และร้อยละ 73.2 ระบุคุณสมบัติด้านความรู้ความสามารถ อันดับที่ 3 คือ ร้อยละ 61.1 ระบุมีความรับผิดชอบ แต่ที่น่าสังเกต คือ ความร่ำรวยเป็นคุณสมบัติที่ประชาชนต้องการมาเป็นอันดับสุดท้าย คือมีเพียงร้อยละ 8.6 เท่านั้น