ตราด - ค้าชายแดนตราดครึ่งปี 51 ทะลุเกิน 7,500 ล้านบาท คาดทั้งปีถึง 16,000 ล้านบาท ขณะพ่อค้าส่งออกหันส่งสินค้าทางบกมากขึ้นกว่า 1 เท่า หลังเปิดเส้นทาง 48
นางสาวแสงทอง แม้นสกุล นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า ถนนสาย 48 จะยัง ก่อสร้าง ไม่แล้วเสร็จ แต่ถนนสาย 48 สามารถในเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและรับส่งผู้โดยสารแล้ว ส่วนการขนส่งสินค้า นั้นส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เป็นอาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ หรือพวกหอย,อาหารทะเล และสินค้าอื่น ๆ ยังมี ไม่มากนัก และหาเปรียบเทียบกับการขนส่งทางน้ำแล้วยังมีปริมาณน้อยมาก อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีมรสุมเรือ ขนส่งสินค้า ทีมีขนาดเล็กและขนาดกลาง จะไม่กล้าเสี่ยงที่จะนำเรือขนส่งสินค้าออกไปเนื่องจาก อาจจะถูกมรสุม และล่ม ระหว่างทางได้
“ตอนนี้ ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่มาขอคำปรึกษาหรือขออนุญาตแต่ทางสำนักงานศุลกากรคลองใหญ่ มีเจ้าหน้าที่และข้อมูลที่จะให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจด้านนี้อยู่พร้อมแล้ว แต่ทางผู้ประกอบการที่สนใจในการเข้า ไปลงทุนหรือนำสินค้าเข้าไปในกัมพูชาก็ต้องศึกษา และหาข้อมูลการประกอบธุรกิจในกัมพูชาไว้ก่อน เพื่อจะได้เกิด ความเข้าใจในการศึกษาและขอคำปรึกษา ”
มูลค่าในปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.50-ม.ค.51) มีมูลค่าส่งออกจำนวน 7,885,975,410.27 บาท ( 6 เดือนแรก) ขณะที่ปีงบประมาณ 2549 มูลค่า 13,229,785,780.47 บาท ปีงบประมาณ 2550 มี 14,379,921,292.40 บาท ทั้งนี้ มีมูลค่าส่งออกทางรถยนต์ ปีงบประมาณปี 2549 จำนวน 477,344,726.06 บาท ปีงบประมาณ 2545 จำนวน 502,321,883.64 บาท ซึ่งจะมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะทางรถยนต์ที่ปัจจุบัน จะขนเฉพาะผลไม้เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้มีสัดส่วนร้อยละ 3-4 แต่ในอนาคตจะสูงถึง 10% ส่วนมูลค่าการค้าทั้งปีจะมีแนวโน้มว่าจะมีมูลค่าเกิน 16,000 ล้านบาท
ขณะที่นายประสงค์ เต่าทอง พ่อค้าส่งผลไม้ ของ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบันกัมพูชามีความ สนใจสั่งผลไม้จาก จ.ตราด ไปจำหน่ายยังกัมพูชาเพื่อส่งไปยังตลาดผลไม้พนมเปญ จำนวนกว่า 100 ตัน/วัน ซึ่งทั้งหมด ส่งไปทางรถยนต์ โดยจะมีพ่อค้าจากกัมพูชานำรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ขนผลไม้จากจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็กเข้าสู่ จ.เกาะกงแล้วผ่านถนนสาย 48 เข้ายังกรุงพนมเปญ เนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งเกิดความเสียหายต่อผลไม้ มีน้อย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาก็คือ ค่าขนส่งที่ใช้ในการขนส่งคือราคาน้ำมันมีราคาสูงถึงลิตรละ 40-45 บาท/ลิตร (ในกัมพูชา) แต่เมื่อประเมินจากการขนส่งน้ำที่ต้องใช้เวลานานจะเกิดความเสียหายมากกว่า ก็ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบ มากนัก อย่างไรก็ตาม ผลไม้ส่วนใหญ่ยังคงขนส่งทางน้ำเป็นหลัก เช่น ส้ม ทุเรียน หรือเงาะเป็นต้น
นางสาวแสงทอง แม้นสกุล นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า ถนนสาย 48 จะยัง ก่อสร้าง ไม่แล้วเสร็จ แต่ถนนสาย 48 สามารถในเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและรับส่งผู้โดยสารแล้ว ส่วนการขนส่งสินค้า นั้นส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เป็นอาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ หรือพวกหอย,อาหารทะเล และสินค้าอื่น ๆ ยังมี ไม่มากนัก และหาเปรียบเทียบกับการขนส่งทางน้ำแล้วยังมีปริมาณน้อยมาก อย่างไรก็ตามในช่วงที่มีมรสุมเรือ ขนส่งสินค้า ทีมีขนาดเล็กและขนาดกลาง จะไม่กล้าเสี่ยงที่จะนำเรือขนส่งสินค้าออกไปเนื่องจาก อาจจะถูกมรสุม และล่ม ระหว่างทางได้
“ตอนนี้ ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่มาขอคำปรึกษาหรือขออนุญาตแต่ทางสำนักงานศุลกากรคลองใหญ่ มีเจ้าหน้าที่และข้อมูลที่จะให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจด้านนี้อยู่พร้อมแล้ว แต่ทางผู้ประกอบการที่สนใจในการเข้า ไปลงทุนหรือนำสินค้าเข้าไปในกัมพูชาก็ต้องศึกษา และหาข้อมูลการประกอบธุรกิจในกัมพูชาไว้ก่อน เพื่อจะได้เกิด ความเข้าใจในการศึกษาและขอคำปรึกษา ”
มูลค่าในปีงบประมาณ 2551 (ต.ค.50-ม.ค.51) มีมูลค่าส่งออกจำนวน 7,885,975,410.27 บาท ( 6 เดือนแรก) ขณะที่ปีงบประมาณ 2549 มูลค่า 13,229,785,780.47 บาท ปีงบประมาณ 2550 มี 14,379,921,292.40 บาท ทั้งนี้ มีมูลค่าส่งออกทางรถยนต์ ปีงบประมาณปี 2549 จำนวน 477,344,726.06 บาท ปีงบประมาณ 2545 จำนวน 502,321,883.64 บาท ซึ่งจะมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะทางรถยนต์ที่ปัจจุบัน จะขนเฉพาะผลไม้เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้มีสัดส่วนร้อยละ 3-4 แต่ในอนาคตจะสูงถึง 10% ส่วนมูลค่าการค้าทั้งปีจะมีแนวโน้มว่าจะมีมูลค่าเกิน 16,000 ล้านบาท
ขณะที่นายประสงค์ เต่าทอง พ่อค้าส่งผลไม้ ของ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เปิดเผยว่า ปัจจุบันกัมพูชามีความ สนใจสั่งผลไม้จาก จ.ตราด ไปจำหน่ายยังกัมพูชาเพื่อส่งไปยังตลาดผลไม้พนมเปญ จำนวนกว่า 100 ตัน/วัน ซึ่งทั้งหมด ส่งไปทางรถยนต์ โดยจะมีพ่อค้าจากกัมพูชานำรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ขนผลไม้จากจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็กเข้าสู่ จ.เกาะกงแล้วผ่านถนนสาย 48 เข้ายังกรุงพนมเปญ เนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งเกิดความเสียหายต่อผลไม้ มีน้อย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาก็คือ ค่าขนส่งที่ใช้ในการขนส่งคือราคาน้ำมันมีราคาสูงถึงลิตรละ 40-45 บาท/ลิตร (ในกัมพูชา) แต่เมื่อประเมินจากการขนส่งน้ำที่ต้องใช้เวลานานจะเกิดความเสียหายมากกว่า ก็ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบ มากนัก อย่างไรก็ตาม ผลไม้ส่วนใหญ่ยังคงขนส่งทางน้ำเป็นหลัก เช่น ส้ม ทุเรียน หรือเงาะเป็นต้น