ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เผย 2 เดือนแรกปี 2551 เชียงใหม่เกิดไฟป่าแล้วทั้งสิ้น 460 ครั้ง พื้นที่ได้รับความเสียหายกว่า 2,800 ไร่ ระบุเฝ้าระวังพื้นที่โดยรอบ “ดอยสุเทพ” เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ และเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
นายสุรพล ลีลาวโรภาส ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เปิดเผยสถานการณ์การเกิดไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ว่า ในช่วงระหว่าง 1 ม.ค.-29 ก.พ.2551 มีไฟป่าเกิดขึ้นทั้งสิ้น 460 ครั้ง มีพื้นที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 2,871.13 ไร่ โดยในเดือนมกราคม 2551 เกิดไฟป่าทั้งสิ้น 69 ครั้ง พื้นที่ได้รับความเสียหาย 405 ไร่ และเดือนกุมภาพันธ์เกิดไฟป่าทั้งสิ้น 391 ครั้ง พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2,466.13 ไร่
ขณะที่สถิติการเกิดไฟป่าช่วงระหว่าง 1 ต.ค.2550-29 ก.พ.2551 มีไฟป่าเกิดขึ้น 461 ครั้ง ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีไฟป่าเกิดขึ้น 479 ครั้ง อย่างไรก็ตามในส่วนของพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมีทั้งสิ้น 2,864.38 ไร่ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 2,495 ไร่
สำหรับพื้นที่ที่มีความถี่ของการเกิดไฟป่ามากที่สุด คือ อำเภอฮอด มีไฟป่าเกิดขึ้นทั้งสิ้น 120 ครั้ง รองลงมาเป็นอำเภอจอมทอง 72 ครั้ง และอำเภอแม่ออน 56 ครั้ง ตามลำดับ โดยสาเหตุของการเกิดไฟป่าเกือบทั้งหมดมาจากฝีมือมนุษย์ ที่จุดไฟหาของป่าและล่าสัตว์ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ที่ผ่านมาไม่สามารถจับตัวผู้ก่อเหตุได้ เนื่องจากสภาพพื้นที่ทำให้ยากต่อการติดตามจับกุม
ในส่วนของพื้นที่ที่ให้ความสำคัญในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดไฟป่าเป็นพิเศษ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กล่าวว่า ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันในทุกพื้นที่ แต่ทั้งนี้ยอมรับว่ามีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับพื้นที่บริเวณโดยรอบดอยสุเทพ และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เพราะเป็นที่ตั้งของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ และเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ
ส่วนการเฝ้าระวังป้องกันการเกิดไฟป่า ที่ผ่านมาได้มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ด้านไฟป่าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการเตรียมพร้อมพนักงานดับไฟป่าและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่าและแจ้งเตือนภัย 24 แห่ง ในทั้ง 24 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันยังมีการจัดทำแนวกันไฟเป็นระยะทางยาว 385 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยบรรเทาและทำให้เกิดปัญหาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ป่าได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาหมอกควันเหมือนที่ผ่านมา
นายสุรพล ลีลาวโรภาส ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เปิดเผยสถานการณ์การเกิดไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ว่า ในช่วงระหว่าง 1 ม.ค.-29 ก.พ.2551 มีไฟป่าเกิดขึ้นทั้งสิ้น 460 ครั้ง มีพื้นที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 2,871.13 ไร่ โดยในเดือนมกราคม 2551 เกิดไฟป่าทั้งสิ้น 69 ครั้ง พื้นที่ได้รับความเสียหาย 405 ไร่ และเดือนกุมภาพันธ์เกิดไฟป่าทั้งสิ้น 391 ครั้ง พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2,466.13 ไร่
ขณะที่สถิติการเกิดไฟป่าช่วงระหว่าง 1 ต.ค.2550-29 ก.พ.2551 มีไฟป่าเกิดขึ้น 461 ครั้ง ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีไฟป่าเกิดขึ้น 479 ครั้ง อย่างไรก็ตามในส่วนของพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมีทั้งสิ้น 2,864.38 ไร่ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 2,495 ไร่
สำหรับพื้นที่ที่มีความถี่ของการเกิดไฟป่ามากที่สุด คือ อำเภอฮอด มีไฟป่าเกิดขึ้นทั้งสิ้น 120 ครั้ง รองลงมาเป็นอำเภอจอมทอง 72 ครั้ง และอำเภอแม่ออน 56 ครั้ง ตามลำดับ โดยสาเหตุของการเกิดไฟป่าเกือบทั้งหมดมาจากฝีมือมนุษย์ ที่จุดไฟหาของป่าและล่าสัตว์ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ที่ผ่านมาไม่สามารถจับตัวผู้ก่อเหตุได้ เนื่องจากสภาพพื้นที่ทำให้ยากต่อการติดตามจับกุม
ในส่วนของพื้นที่ที่ให้ความสำคัญในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดไฟป่าเป็นพิเศษ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กล่าวว่า ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันในทุกพื้นที่ แต่ทั้งนี้ยอมรับว่ามีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับพื้นที่บริเวณโดยรอบดอยสุเทพ และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เพราะเป็นที่ตั้งของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ และเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ
ส่วนการเฝ้าระวังป้องกันการเกิดไฟป่า ที่ผ่านมาได้มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ด้านไฟป่าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการเตรียมพร้อมพนักงานดับไฟป่าและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่าและแจ้งเตือนภัย 24 แห่ง ในทั้ง 24 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันยังมีการจัดทำแนวกันไฟเป็นระยะทางยาว 385 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยบรรเทาและทำให้เกิดปัญหาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ป่าได้รับความเสียหายและเกิดปัญหาหมอกควันเหมือนที่ผ่านมา