แม่ฮ่องสอน - จังหวัดแม่ฮ่องสอน ฝึกอบรมโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ด้านการป้องกันไฟป่าแก้ปัญหาหมอกควันโดยชุมชนมีส่วนร่วม รุ่นที่ 1
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่บริเวณสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน นายวันชัย สุทธิวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เปิดโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้านการป้องกันไฟป่า แก้ปัญหาหมอกควันโดยชุมชนนีส่วนร่วม รุ่นที่ 1 ซึ่งมีราษฎรเข้าร่วมโครงการประมาณ 320 คน
รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปัญหาไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้หมอกควันไฟปกคลุมพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2550 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยผลกระทบจากหมอกควันไฟประมาณ 7,500 ราย และยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย ประมาณ 50 ล้านบาท
ขณะนี้จังหวัดได้รับรายงานว่าในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เกิดไฟไหม้พื้นที่ป่าไปบ้างแล้ว และได้ดำเนินการจับกุมราษฎรที่จุดไฟเผ่าป่าโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตไปแล้วจำนวน 3 ราย เพื่อเป็นการแก้ปัญหา จึงได้จัดโครงการอบรมดังกล่าวขึ้น
เนื้อหาของการฝึกอบรมประกอบไปด้วยภาคทฤษฎี 1 วัน เรื่องสถานการณ์ไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน การระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการแก้ปัญหาไฟป่าของชุมชน และภาคปฏิบัติ 1 วัน ในหัวข้อเรื่องการทำแนวป้องกันไฟป่า การทำปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้ง และการทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน รวม 15 ชั่วโมง
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่บริเวณสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน นายวันชัย สุทธิวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เปิดโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้านการป้องกันไฟป่า แก้ปัญหาหมอกควันโดยชุมชนนีส่วนร่วม รุ่นที่ 1 ซึ่งมีราษฎรเข้าร่วมโครงการประมาณ 320 คน
รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีปัญหาไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้หมอกควันไฟปกคลุมพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2550 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยผลกระทบจากหมอกควันไฟประมาณ 7,500 ราย และยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย ประมาณ 50 ล้านบาท
ขณะนี้จังหวัดได้รับรายงานว่าในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เกิดไฟไหม้พื้นที่ป่าไปบ้างแล้ว และได้ดำเนินการจับกุมราษฎรที่จุดไฟเผ่าป่าโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตไปแล้วจำนวน 3 ราย เพื่อเป็นการแก้ปัญหา จึงได้จัดโครงการอบรมดังกล่าวขึ้น
เนื้อหาของการฝึกอบรมประกอบไปด้วยภาคทฤษฎี 1 วัน เรื่องสถานการณ์ไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน การระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการแก้ปัญหาไฟป่าของชุมชน และภาคปฏิบัติ 1 วัน ในหัวข้อเรื่องการทำแนวป้องกันไฟป่า การทำปุ๋ยหมักจากใบไม้แห้ง และการทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน รวม 15 ชั่วโมง