xs
xsm
sm
md
lg

ถนนแฟชั่นของลุงตึก - ภูษิก พัฒนปราการ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ท่านกลางภาพของมวลหมู่วัยรุ่นที่แต่งตัวจัดจ้านตามวิถีของสตรีทแฟชั่นในนิยตสารชีส ไล่เรียงจากย่านวัยรุ่นอย่างสยาม ไปถึงย่านคนเดินไม่หยุดอย่างสวนจตุจักร ภูษิก พัฒนปราการ หรือที่หลายคนเรียกว่า ลุงตึก คือคนหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมาจนได้รับรางวัลเบส สตรีท กายของนิตยสารเล่นนี้ ด้วยอายุอานามที่อีกเพียงปีเดียวก็จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ ด้วยใจยังไม่หยุดก้าวเดิน กับการแต่งตัวที่มีเอกลักษณ์

“ผมรู้สึกดีใจนะ ที่เขามองเห็น ผมก็อายุมากแล้ว จริงๆก็อยากเป็นแรงบันดาลใจให้กับวัยรุ่นเหมือนกัน” เขาเล่าถึงความรู้สึกตอนได้รับรางวัล หากทว่าเมื่อถามย้อนกลับไปถึงครั้งแรกที่ถูกถ่ายรูปลงนิตยสารที่เมืองไทย เขากลับไม่รู้สึกตกใจ เพราะเขาถูกถ่ายรูปลงหนังสือมาตั้งแต่ตอนเดินเล่นอยู่ที่ประเทศอังกฤษแล้ว

“รอบที่แล้วที่ไปมา ก็มาถ่ายกัน 5 เล่นนะ ว่าไปที่เมืองไทยยังน้อยกว่าอีก”

ชายอายุย่าง 60 ที่(อาจจะ)แต่งตัวได้เท่ที่สุดในประเทศ(หรือในโลก)

หากมองจากภาพชีวิตทั้งหมดของเขา เขารู้สึกว่าบางทีแฟชั่นเหมือนจะเป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในดีเอ็นเอของเขา เพราะตั้งแต่รุ่นพ่อเขาก็ชอบแต่งตัวมาโดยตลอด จากเด็กคนหนึ่งที่เติบโตจากปักษ์ใต้ มาถึงกรุงเทพฯ และโรจโผนไปศึกษาต่อที่อังกฤษ

พ่อในความทรงจำของเขา คือคนหนึ่งที่ชอบแต่งตัว และสนุกกับการแต่งตัวขนาดที่ว่าวันหนึ่งขณะไปหาหมอ ยังแอบนินทาเล่นๆว่า หมออิจฉาพ่อนะ เห็นพ่อแต่งตัวดี ผูกเนคไท ใส่ลาคอสต์ทั้งตัว

“นี่เรื่องจริงนะ พ่อผมชอบแต่งตัวมาก ตอนตายผมยังเผาชุดให้พ่อสองชุดเลย เป็นสูทชุดหนึ่งกับชุดกางเกงยีนลีวายส์ ไว้ให้พ่อใส่เที่ยว”

และในช่วงวัยลุ่ยราว 20 เศษ เขาก็ได้มีโอกาสเล่นโฆษณายาสระผมยี่ห่อดัง พร้อมทั้งถ่ายแบบลงนิตยสารแฟชั่นของสมัยนั้นที่มีอยู่เพียงไม่กี่หัว ก่อนไปเรียนต่อที่อังกฤษ และลอนดอนก็ได้ชื่อว่าเมืองแห่งแฟชั่นของโลกเสียด้วย

ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นก็เหมือนยิ่งซึมซับ และเรื่องของการแต่งตัว หรือแฟชั่น สำหรับเขาแล้ว ไม่ใช่เพียงเรื่องของการตามกระแส หากเป็นเรื่องของรสนิยมและจินตนาการ เพราะหลังจากเรียนจบเขาก็ทำธุรกิจนำเข้ารถยนต์จากอังกฤษ และสิ่งสำคัญในการทำงานนี้ก็คือทั้งสองสิ่งนั้น

“เราต้องจินตนาการให้ออกว่าเราต้องการยังไง บางคนแรกๆพอจินตนาการจะแต่งตัวอย่างนั้น แต่ออกมาแล้วมันไม่ใช่ มันเชยก็ต้องเปลี่ยน มันจะพัฒนารสนิยมซึ่งตรงนี้เอาไปใช้ได้กับงานทุกประเภทเลย”

หลังจากนั้นเขาเคยจับธุรกิจนำเข้าเสื้อผ้าวินเทจเมื่ออายุได้ 30 ปีนิดๆ จึงไม่แปลกที่จนถึงตอนนี้แฟชั่นแทบจะแยกไม่ออกจากวิถีดำรงชีวิต จนเหมือนว่าถึงตอนนี้ความสนใจของเขาจะมีอยู่แค่สองอย่างเท่านั้น คือแฟชั่นกับธรรมะ ทำให้ชีวิตในช่วงบั้นปลายที่ลูกสองคนได้ดิบได้ดีเป็นดีไซเนอร์อยู่ที่ลอนดอน หากนั่งอยู่หน้าจอทีวี ไม่เปิดช่องแฟชั่นก็จะเปิดช่องธรรมะ

“ตอนนี้ชีวิตประจำวันก็มีไปเดินเล่น สวดมนต์ ดูหนังบ้าง นั่งดูผู้คน ผมชอบเมือง ชอบผู้คน มันสนุกดี”

หากจะไปสวีเดน นอร์เวย์ เดินป่า ขึ้นเขา อย่ามาชวนเขา แต่ถ้าจะไปพารากอน ลอนดอน นิวยอร์ก หรือสวนจตุจักรก็ขอให้มาชวนกัน เพราะเขาชอบไปเดินดูผู้คน และบางทีเมื่อเห็นวัยรุ่นบ้านเราเขาก็แอบนั่งลงให้คะแนน เป็นความคิดหาเรื่องสนุกให้กับชีวิต ซึ่งทำให้หลายปีมานี้เขาได้ถ่ายรูปลงทั้งนิตยสารและบล็อกของต่างประเทศเกี่ยวกับแฟชั่นอยู่บ่อยๆ

“คือฝรั่งเขาชอบคนแนวน่ะ นี่ก็เท่าที่เดินๆดูๆมา ผมว่าผมก็ไม่แพ้ใครนะ ดูจากที่อายุเท่าๆกันน่ะ”


บั้นปลายที่ชายผู้ที่ยังเดินอยู่

มาถึงตอนนี้เขาทำธุรกิจทัวร์ให้ชาวต่างชาติมาเที่ยวประเทศไทย และธุรกิจรังนกที่บ้านเกิดปักษ์ใต้ มีเงินอยู่สบาย กับการแต่งตัวที่แน่นอนอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เงินเยอะ กระนั้นเขาก็มองว่าคนเราควรให้ความสำคัญกับการแต่งตัวพอๆกับการกินข้าว ด้วยเพราะเพื่อนหลานคนที่แก่ตัวแล้ว กินข้าวมื้อละเป็นพัน แต่ผ้าเสื้อ 20 ปีซื้อที เขาบอกว่า บางทีเราควรจะตามโลกให้ทันบ้าง

ด้วยการใช้ชีวิตค่อนไปทางสุดของการแต่งตัว เขาเผยว่า ตั้งแต่เด็กมาแล้วที่เขามักจะมองว่า ชีวิตเหมือนการมาทัวร์

“ชีวิตมันมาในโลกนี้ เหมือนมาทัวร์ เดี๋ยวเราก็กลับ เหมือนคุณซื้อทัวร์ไปประเทศไหน ในเจ็ดวันก็ต้องให้สนุก ถึงเวลาก็กลับ ชีวิตเราก็เหมือนกัน มันมาในโลกนี้ แต่มันใช้เวลาเป็นปีเท่านั้นเอง”

และในการเลือกเสื้อผ้า บ่อยครั้งสถานภาพทางการเงินของวัยรุ่นหลายๆคน อาจจะไม่พอที่จะรองรับกับรสนิยมที่เดินคู่มากับกระแส ซึ่งเขาก็มองว่าประเทศไทยไม่ควรใส่ของแบรนด์มาก สักชิ้นหนึ่งก็พอแล้ว เพราะหากว่ากันอย่างไม่เกรงใจ เขามองว่าประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่เงินทองมันหายาก

“ซื้อของแบรนด์มันเป็นพวกที่ผมเรียกว่า บูติก มันไม่มีสมอง มีเงินก็ซื้อมาใส่ ของแพงๆ แต่เมืองไทย อย่างผมเอง ซื้อของสวนจตุจักร ไปเดินทุกอาทิตย์ ราคาถูกและของดี อย่าเรียกว่าวินเทจ มันสูงเกิน เรียกว่าเซเคิล แฮนด์ (ของมือสอง) เลยดีกว่า”

เขาถึงขั้นประกาศก้องว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดีมากที่อยู่ติดกับโรงเกลือ ด้วยเพราะผู้คนจากหลายประเทศชั้นนำด้านแฟชั่นต้องบินมาดูของที่นี่ บ้างก็มาซื้อไปขาย บ้างเป็นนักศึกษา เป็นดีไซเนอร์บินมาดูแบบเก่าๆ เพราะของมือสองจะหมุนเวียนอยู่ตลอด

มาถึงตรงนี้ หลังจากขึ้นไปรับรางวัล และเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะหนุ่มใหญ่ตอนปลายมาๆคนหนึ่งที่วัยรุ่นหลายคนยกให้เป็นแรงบันดาลใจ

“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ ผมบอกวัยรุ่นที่เข้ามาคุยด้วยเสมอ ของมันไม่ต้องแพงมาก ถ้าอยากซื้อก็ซื้อ ชีวิตไม่ต้องคิดมาก แต่ถ้าเงินไม่มีก็หาก่อน และถ้าไม่ได้ ของไม่แพงมากมันก็สามารถเอามาต่อยอดได้ กับคนที่ชอบด้านนี้จริงๆ และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มันก็สามารถนำมาใส่ให้ดูดีได้”

แท้จริงแล้ว สำหรับเขาในบั้นปลายสิ่งหนึ่งมักนึกถึงเสมอคือความตาย และการใช้ที่ผ่านมา ซึ่งเขาใช้ชีวิตไปตามวัยที่เป็น เด็กเรียนหนังสือ โตขึ้นมาทำงาน พอแก่ตัวก็พักผ่อน พักผ่อนในแบบของเขาคือเดินไปตามแหล่งรวมตัวของวัยรุ่น ว่าไปเขาก็เหมือนคนปกติทั่วไป แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างไปก็คือ เขายังไม่เลิกแต่งตัว ไม่ใช่สิ ทุกคนต้องแต่งตัวอยู่แล้ว หากแต่เขาไม่เลิกที่จะให้ความสำคัญกับมันมากกว่า



กำลังโหลดความคิดเห็น