สวัสดีครับผม Mr.Leon มาแล้ว วันนี้มีบทกวีนิพนธ์ของญี่ปุ่นประเภท Renga 連歌 มาพูดคุยกันครับ ที่ญี่ปุ่นเองก็มีวรรณคดี วรรณกรรมต่างๆ มากมายเช่นเดียวกับเมืองไทย และน่าจะมีความหมายคล้ายกันคือ
• วรรณคดี คือวรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่ามีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ มีคุณสมบัติและเนื้อหาที่โดดเด่นและมีการประพันธ์ที่ดีเยี่ยม วรรณกรรมก็คือ งานหนังสือ, งานประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่ร้อยแก้วและร้อยกรอง ทั้งบทประพันธ์ที่เป็นกวีนิพนธ์ต่างๆ ที่เมืองไทยคงเปรียบกับประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ต่างๆ
ที่จริงแล้วบทกวีนิพนธ์ เป็นสิ่งที่คนถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึกเป็นภาษาเขียนบรรยายพรรณนาเพื่อให้เกิดสุนทรียะ เป็นรูปแบบทางศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งคำประพันธ์ต่างๆ ที่กวีแต่งขึ้นมา เมื่อเราอ่านแล้วก็จะรู้สึกเหมือนได้เสฟงานศิลป์ บางเรื่องอาจจะเร้าให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ได้เหมือนกัน
ที่ญี่ปุ่น มีกวีนิพนธ์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Renga 連歌 ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่ยุคคามาคุระ มีโครงสร้างตามหลักฉันทลักษณ์การเขียนโดยการต่อบทประพันธ์กันไปเรื่อยๆ มากกว่า 1 บท(ท่อน) โดยจะมีผู้เขียนต่อๆ กันไปอย่างน้อยสองคน ทำให้มีท่อนกวีอย่างน้อยตั้งแต่สองท่อนขึ้นไป
ตัวอย่างที่ 1
ท่อนที่ 1 さやかなる月をかくせる花の枝Sayakanaru Tsukiwokakuseru Hananoedaค่ำคืนที่ดวงจันทร์ทอประกายแจ่มกระจ่าง หากแต่เจ้ากิ่งก้านของดอกซากุระช่างมาบดบัง
ท่อนที่ 2 切りたくもあり切りたくもなしKiritakumoari Kiritakumonashi *ทั้งรู้สึกว่าอยากจะตัดออก และก็ไม่อยากจะตัดออกไป:。.:(゚∀゚)゚・
.... และต่อกันไปเรื่อยๆ
ตัวอย่างที่ 2
ท่อนที่ 1 ぬすびとを捕へて見ればわが子なりNusubitowo Toraetemireba Wagakonari(ใครกันนะที่เป็นหัวขโมย ) จะลองจับขโมยให้ได้ .. แต่ปรากฏว่าเขาคือลูกของฉันเอง
ท่อนที่ 2 切りたくもあり切りたくもなしKiritakumoari Kiritakumonashi *ทั้งรู้สึกว่าอยากจะตัดออก และก็ไม่อยากจะตัดออกไป.. (゚д゚ )
... และต่อกันไปเรื่อยๆ
切りたくもあり切りたくもなし Kiritakumoari Kiritakumonashi * ทั้งรู้สึกว่าอยากจะตัดออก และก็ไม่อยากจะตัดออกไป จะเห็นว่าจากตัวอย่างข้างต้นนั้น ท่อนที่ 2 ใช้บทเดียวกันเลย แต่คนที่เขียนกวีนี้เขียนคนละช่วงเวลา คือ ท่อนที่ 2 นี้ดังมากเหมือนกัน จึงมีการพูดถึงกันอยู่ ใช้ในช่วงเวลาต่างกัน ต่างสถานการณ์ แต่ก็เข้าใจความหมายของคนที่จะสื่อได้ว่า รักพี่เสียดายน้อง เป็นต้น
Renga 連歌 ในความคิดของคนญี่ปุ่นนั้น ผู้ที่เป็นคนคิดท่อนตั้งต้นก็สำคัญ แต่ว่ายังไม่สำคัญเท่าคนลำดับที่ 2 เพราะคนลำดับที่ 2 หรือกวีท่อนที่ 2 จะเป็นตัวประเมินเลยว่าบทกวีนั้นจะออกมาอย่างไร จะไพเราะเพราะพริ้งกินใจผู้อ่านแค่ไหน ทำให้คนญี่ปุ่นไม่ค่อยอยากเป็นบุคคลที่เขียนเป็นลำดับที่ 2 สักเท่าไหร่นัก
โดยปกติบทกวีของญี่ปุ่นแต่ละบทจะไม่ค่อยสอดคล้องกันเท่าไหร่นัก อาจจะเป็นกลอนแนวปรัชญาต้องตีความหมายก่อนจึงจะเข้าใจสิ่งที่กวีต้องการสื่อ บางบทกวีนิพนธ์พยามจะเขียนให้เรื่องที่หนึ่งและเรื่องที่สองสอดคล้องกันเพื่อให้คนอ่านนึกถึงเรื่องเดียวกัน แต่อาจจะยากสักหน่อย สมัยนั้นมีนักเขียนนักกวีท่านหนึ่ง ชื่อว่า 山崎宗鑑 Yamazaki Sōkan กล่าวไว้ว่า สิ่งที่คนเรามักจะคิดไปในทิศทางสอดคล้องกันมากที่สุดก็คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงิน เขาบอกว่าพอมีคนพูดเกี่ยวกับบทกวีบทหนึ่งและให้คนอื่นต่อบทต่อไป ก็ต่อกันไปได้เรื่อยๆ แต่หลังจากที่อ่านๆ ดูแล้วจะพบว่า สิ่งที่คนเราต้องการมากที่สุดก็คือเรื่องเงิน ที่จริงผมและคนญี่ปุ่นทั่วไป ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า Yamazaki Sōkan เป็นคนประเภทไหนเพราะว่าเค้าเป็นนักเขียนนักกวีที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 500 กว่าปีที่แล้ว
แต่แหล่งข่าวบอกว่าตอนที่ Yamazaki Sōkan เป็นเด็กเขาเป็นเพื่อนต่างวัยกับอีกคิวซังด้วย คิดว่าเพื่อนๆ คงเคยได้ยินชื่อ อิกคิวซังนะครับ และก่อนที่จะมาเป็นนักเขียนเขาเป็นลูกน้องของโชกุน ซึ่งตอนนั้นถือเป็นโชกุนที่อายุน้อยที่เสียชีวิตด้วยวัยยังน้อยมาก มีเรื่องเล่าว่า ตอนที่ Yamazaki Sōkan ยังเด็ก ชีวิตเขาค่อนข้างจะมีมรสุมชีวิตมากมาย ช่วงที่เริ่มทำงานกับโชกุนหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกัน เหมือนว่าถ้าเทียบกับงานปัจจุบันคงคล้ายๆ เป็นเลขานุการและบอดี้การ์ดของโชกุนผู้หล่อเหลา หน้าตาดีมากคนหนึ่ง ช่วงนั้นมีข่าวว่าไดเมียวของจังหวัดใกล้เคียงเริ่มแข็งข้อไม่ฟังสิ่งที่โชกุนเตือน เช่น ไม่คืนหนี้ ไม่ส่งเครื่องบรรณาการที่ดิน โชกุนจึงเริ่มเตือนและต้องทำศึก เมื่อกองกำลังยกทัพออกไปที่เมืองนั้น แน่นอนว่าทหารของฝั่งโชกุนเยอะกว่า จึงชนะศึกได้แต่ไดเมียวคนนั้นกลับหนีออกไปได้ และหนีไปที่หมู่บ้านนินจาและขอความช่วยเหลือจากหมู่บ้านนินจาในหุบเขาห่างไกล ทำให้ฝ่ายโชกุนต้องตั้งกองกำลังอยู่ต่อ นี่เป็นเรื่องจริงแต่ช่างเหมือนกับ สถานการณ์ในการ์ตูนมากนะครับ จากนั้นโชกุนก็อาศัยอยู่ในค่ายทหารนั้นประมาณสองปีถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานเหมือนกัน แต่ในช่วงเวลานั้นเกิดโรคระบาดขึ้นมา และท่านโชกุนก็เสียชีวิตด้วยโรคระบาดนั้น ตอนนั้นอายุแค่ 23 ปีเท่านั้นเอง
จากเหตุการณ์นี้ เมื่อหัวหน้าที่รักเสียชีวิตลง Yamazaki Sōkan รู้สึกเบื่อหน่ายและปลงชีวิตมากจึงหนีออกมาจากค่าย และตัดสินใจออกบวชเป็นพระ และเป็นนักเขียนด้วย ถ้าเพื่อนๆ อ่านมาหลายเรื่องจะสังเกตเห็นว่านักเขียน นักกวีนิพนธ์ของญี่ปุ่นจะมีรูปแบบชีวิตในแนวเดียวกันคือ เกิดความผิดหวังหรือว่าเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิต และออกบวชเป็นพระอยู่บ่อยๆ แต่มันเป็นลักษณะแบบนี้จริงๆ ... นักวรรณกรรมชื่อดังชาวญี่ปุ่นมักเป็นรูปแบบนี้เสมอจริงๆ เลย (*´ω` *) จากมุมมองเช่นนี้มีคำถามว่า ทำไมคนเราถึงลาออกจากบริษัทหรือที่ทำงานเมื่อเจ้านายที่รักของคุณตายหรือไม่ได้อยู่ที่นั่นอีกแล้ว ? ก็คงเพราะรู้สึกอย่าง Yamazaki Sōkan กระมัง อย่างไรก็ตามกรณีเช่นนี้ เชื่อกันว่าหัวหน้าที่เป็นที่รักอาจจะไม่ใช่มีความสัมพันธ์ฉันเจ้านายและลูกน้องเท่านั้น แต่อาจจะมีความรักความสัมพันธ์ที่เหนือกว่านั้นระหว่างทั้งคู่ก็ได้ ซึ่งผมก็คิดเช่นนั้น (*´ω` *) BL(Boys Love) เพราะเรื่องนี้มีมานานแล้ว เฉกเช่นซามูไรหัวหน้า (ชาย) และเลขานุการ (ชาย) ที่มีความสัมพันธ์สุดโรแมนติกระหว่างกัน
ในช่วงแรกของการเป็นนักเขียนของ Yamazaki Sōkan ได้ข่าวว่าเขาเขียนแต่เรื่องราวที่ค่อนข้างจะออกแนวตลกขบขันและไร้สาระถึงแม้ว่าจะไม่ได้เขียนชื่อลงไปแต่ทุกคนก็รู้ว่าเป็นเรื่องที่เขาเขียน หรือว่าบางเรื่องก็อาจจะออกแนวอีโรติกหรือว่าไร้สาระเลยทำให้ไม่ค่อยลงเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติของเขานัก ไม่ค่อยมีการแนะนำชื่อของเขาในสื่อการเรียนการสอน แต่ว่ามีเรื่องหนึ่งที่คนญี่ปุ่นรู้ก็คือเรื่องที่เขาบอกว่า “ทุกคนในโลกนี้มักจะคิดถึงเรื่องความเป็นอยู่ปากท้องเงินทอง” และครั้งหนึ่งเคยมีเศรษฐีคนหนึ่งถาม Yamazaki Sōkan ว่าจะมีบทกวีบทที่สองที่แต่งขึ้นมาเพื่อที่จะสามารถที่จะเชื่อมโยงกับบทกวีบทที่หนึ่งในทุกสถานการณ์ไหม Yamazaki Sōkan ตอบว่า ถ้าเป็นเศรษฐีอย่างคุณก็คงจะใช้บทนั้นได้ ยกเว้นพวกที่ยากจนอย่างผมก็คงจะคิดถึงแต่เรื่องเงิน
Yamazaki Sōkan เป็นคนประเภทล้ำ แนวหน้า นักคิดนักทำสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นเขาคิดว่ากวีแค่ (5, 7, 5) ก็เพียงพอไหม (´・ ω ・`) และกลายเป็นคนหนึ่งที่เริ่มคิดบทกวี Haiku ดั้งเดิมไฮกุขึ้นมา ปัจจุบันคนญี่ปุ่นไม่ค่อยมีคนเขียนบทกวีแบบ Renga แต่นักเรียนและผู้สูงอายุ รวมทั้งคนทั่วไปยังเขียนไฮกุอยู่ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า Yamazaki Sōkan เป็นหนึ่งในบุคคลที่สำคัญในประวัติศาสตร์วรรณคดีญี่ปุ่น
คนรุ่นปัจจุบันอาจจะคิดว่าที่นักเขียนสมัยก่อนแต่งบทกวีขึ้นมานั้นเป็นการร้อยเรียงเพื่อวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมวรรณกรรมสูงส่งใช่ไหม แต่คนสมัยก่อนอาจจะเขียนบทกวีเพื่อเป็นงานอดิเรก เพราะไม่ว่าจะเป็นคนในตระกูลผู้ดี, ซามูไร, พระนักบวช, พ่อค้าและคนทั่วไป ก็เขียนกวีได้ถ้าจะเขียน จึงทำให้คิดได้ว่าพวกเขาเขียนแบบงานศิลปะ งานอดิเรก หรือตามความชอบและไม่เป็นทางการนัก ถ้าเทียบกับสมัยนี้อาจจะคล้ายๆ กับที่เรามองคาราโอเกะ カラオケหรือการต่อสู้แร็พแบบฟรีสไตล์ Free style rap battle ซึ่งแม้ว่าตอนนี้คาราโอเกะแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น แต่คนทั่วไป หรือพนักงานเงินเดือนในยุคโชวะก็ไม่ได้มองว่าคาราโอเกะนั้นมีเกียรติหรือหรูหราอะไรเป็นงานอดิเรกเท่านั้น
และในสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ยังระบาดอยู่ในขณะนี้ ที่ญี่ปุ่นก็ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชน โดยหนึ่งในมาตรการนั้นคือให้เงินคนละ 100,000 เยน ทุกคนดีใจแบบเงียบๆ หมายความว่าใครๆ ก็อยากได้ เมื่อยังไม่ได้สักทีก็เริ่มมีแต่คนร้องขอ และขอให้รีบเยียวยาไวๆ เป็นต้น แต่ก็มีกรณีที่คนที่ไม่มีสิทธิ์ได้เหมือนกันครับ พวกเขาก็ออกมาประท้วง ทำให้ตอนนี้เป็นประเด็นที่คุยกันในสังคมญี่ปุ่นมากมายเหลือเกินในวันนี้ ดูแล้วคงจะเป็นเพราะ
それにつけても金の欲しさよSorenitsuketemo Kanenohoshisayoแม้ว่าจะทำสิ่งใดๆ ไป แต่ฉันต้องการเงิน6ไม่ว่าจะเกิดหิมะตกหนักหรือไม่ก็ตามสิ่งเดียวที่คนทั่วไปต้องการก็คือเงิน..
วันนี้สวัสดีครับ