ASTVผู้จัดการ – เผยมารยาท 12 ข้อในการขึ้นรถไฟที่ญี่ปุ่น เช่น ต้องปิดมือถือบริเวณที่นั่งสำรอง ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างมีมารยาท ระวังเครื่องดื่มและอาหารอาจสร้างความไม่สบายใจให้แก่คนรอบข้าง ฟังเพลงจากหูฟังก็ต้องตรวจตราว่าดังเกินหรือไม่
เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2558 เฟซบุ๊กสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับเรื่อง “มารยาทในการขึ้นรถไฟญี่ปุ่น” โดยข้อมูลดังกล่าวทางโตเกียว เมโทร ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินของกรุงโตเกียวเป็นผู้ประสานขอความร่วมมือมา โดยมีรายละเอียด เป็นข้อมูลประกอบภาพ จำนวน 12 ข้อดังนี้
ข้อที่ 1 เผื่อเวลาสำหรับเช้าวันใหม่อย่างสุขุม การวิ่งขึ้นรถไฟเป็นอันตรายและทำให้รถไฟออกช้า
ข้อที่ 2 [เชิญครับ/ค่ะ] แค่คำเดียวก็ยินดีกันทุกฝ่าย ที่นั่งสำรองควรแบ่งปันให้กับผู้ที่จำเป็น
ข้อที่ 3 บริเวณที่นั่งสำรอง ปิดมือถือ เปิดใจกรุณา ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างมีมารยาทในรถไฟ
ข้อที่ 4 กระเป๋าใบใหญ่ให้กอดไว้ข้างหน้าและใส่ใจข้างๆ ตรวจตราสัมภาระของตนอยู่เสมอ
ข้อที่ 5 เก็บร่มให้เรียบร้อย ตอนจะกางก็กางเบาๆ มีมารยาทแม้วันฝนตก
ข้อที่ 6 อิ่มใจมากกว่าอิ่มท้อง กลิ่นและเศษอาหารสร้างความเดือดร้อนต่อคนข้างๆ
ข้อที่ 7 บางครั้งเราสร้างความเดือดร้อนให้คนข้างหลังโดยไม่รู้ตัว ลากกระเป๋าเดินทางอย่างระมัดระวัง
ข้อที่ 8 แม้ในฤดูหนาวก็ดูแลตัวเองและรอบข้าง คิดถึงคนรอบข้างแม้ตอนไอและตอนจาม
ข้อที่ 9 ที่ที่อยากฟังเพลง เพลงที่ชอบ แต่ละคนก็แต่ละอย่าง ตรวจตราความดังของเสียงจากหูฟังทุกครั้ง
ข้อที่ 10 ที่นั่งหนึ่งคน สำหรับหนึ่งท่าน ใส่ใจที่นั่งสำหรับผู้อื่นเสมอ
ข้อที่ 11 แม้จะลืมความเหนื่อยล้าจากงาน ก็อย่าลืมใส่ใจรอบข้าง ใส่ใจความกว้างของที่นั่งเพื่อไม่ให้คนรอบข้างเดือดร้อนเสมอ
ข้อที่ 12 แบ่งปันทางขึ้นรถไฟ ทุกอย่างก็ราบรื่น คนที่อยู่ใกล้ประตู นึกถึงหัวอกคนขึ้นใหม่ด้วย
เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2558 เฟซบุ๊กสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับเรื่อง “มารยาทในการขึ้นรถไฟญี่ปุ่น” โดยข้อมูลดังกล่าวทางโตเกียว เมโทร ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินของกรุงโตเกียวเป็นผู้ประสานขอความร่วมมือมา โดยมีรายละเอียด เป็นข้อมูลประกอบภาพ จำนวน 12 ข้อดังนี้
ข้อที่ 1 เผื่อเวลาสำหรับเช้าวันใหม่อย่างสุขุม การวิ่งขึ้นรถไฟเป็นอันตรายและทำให้รถไฟออกช้า
ข้อที่ 2 [เชิญครับ/ค่ะ] แค่คำเดียวก็ยินดีกันทุกฝ่าย ที่นั่งสำรองควรแบ่งปันให้กับผู้ที่จำเป็น
ข้อที่ 3 บริเวณที่นั่งสำรอง ปิดมือถือ เปิดใจกรุณา ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างมีมารยาทในรถไฟ
ข้อที่ 4 กระเป๋าใบใหญ่ให้กอดไว้ข้างหน้าและใส่ใจข้างๆ ตรวจตราสัมภาระของตนอยู่เสมอ
ข้อที่ 5 เก็บร่มให้เรียบร้อย ตอนจะกางก็กางเบาๆ มีมารยาทแม้วันฝนตก
ข้อที่ 6 อิ่มใจมากกว่าอิ่มท้อง กลิ่นและเศษอาหารสร้างความเดือดร้อนต่อคนข้างๆ
ข้อที่ 7 บางครั้งเราสร้างความเดือดร้อนให้คนข้างหลังโดยไม่รู้ตัว ลากกระเป๋าเดินทางอย่างระมัดระวัง
ข้อที่ 8 แม้ในฤดูหนาวก็ดูแลตัวเองและรอบข้าง คิดถึงคนรอบข้างแม้ตอนไอและตอนจาม
ข้อที่ 9 ที่ที่อยากฟังเพลง เพลงที่ชอบ แต่ละคนก็แต่ละอย่าง ตรวจตราความดังของเสียงจากหูฟังทุกครั้ง
ข้อที่ 10 ที่นั่งหนึ่งคน สำหรับหนึ่งท่าน ใส่ใจที่นั่งสำหรับผู้อื่นเสมอ
ข้อที่ 11 แม้จะลืมความเหนื่อยล้าจากงาน ก็อย่าลืมใส่ใจรอบข้าง ใส่ใจความกว้างของที่นั่งเพื่อไม่ให้คนรอบข้างเดือดร้อนเสมอ
ข้อที่ 12 แบ่งปันทางขึ้นรถไฟ ทุกอย่างก็ราบรื่น คนที่อยู่ใกล้ประตู นึกถึงหัวอกคนขึ้นใหม่ด้วย
ตามที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงโตเกียว ได้รับการประสานขอความร่วมมือจากTokyo Metro ประชาสัมพันธ์มารยาทในการขึ้นรถไฟ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบตามนี้
Posted by 在東京タイ王国大使館 สถานเอกอัครราชทูตไทย 〆 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น on Friday, July 24, 2015