1. ปลาดิบ หรือ อาหารทะเลต้องแช่แข็งและเก็บไว้ในอุณหภูมิตามที่กำหนด
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุงประกอบ เช่น มีด ไม้ไผ่ห่อซูชิหรือ เขียงหั่น ต้องทำความสะอาดเป็นประจำ
3. ผู้ปรุงอาหาร ควรล้างมือหลังรับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ
4. ใช้ถุงมือขณะปรุงอาหาร ควรเปลี่ยนถุงมือบ่อย ๆ ห้ามใช้ซ้ำ
5. หากเป็นการรักษาซูชิที่ปรุงสำเร็จแล้ว ควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า คลุมด้วยพลาสติกคลุมอาหาร และห้ามเก็บเกิน 4 ชั่วโมง
6. สำหรับอาหารที่นำมาวางจำหน่าย ควรหลีกเลี่ยงการโดดแสงแดด จัดให้มีป้ายหรือจานที่แสดงเวลาการปรุงและเตรียมอาหาร
7. ผู้ปรุงอาหาร ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปี ให้ครบ 9 โรค ได้แก่ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้รากสากน้อย บิด ไข้สุกใส คางทูม โรคเรื้อน โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ และไวรัสตับอักเสบเอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
8. ทางผู้ประกอบการ และ ผู้ประกอบอาหาร ควรผ่านการอบรมหลักศุตรทางสุขภภิบาลอาหารของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการรับประทานอาหารดิบ หรือ เนื้อปลาแซลมอนดิบ อย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพนั้น ควรทำตามนี้
1. เลือกรับประทานจากผู้ผลิต หรือจากร้านที่มั่นใจในคุณภาพที่เชื่อถือได้ หรือเป็นแซลมอนเกรดสำหรับที่ทานซาซิมิได้เท่านั้น โดยเนื้อปลาที่นำมารับประทานนั้น จะต้องได้รับการกำจัดพยาธิและเชื้อจุรินทรีย์ต่าง ๆ ด้วยการแช่แข็งที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า -35 ถึง -20 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 15 ชั่วโมง หรือ 7 วันตามลำดับ หรือต้องผ่านความร้อนมากกว่า 60 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5 นาที ก่อนปรุงอาหาร จึงจะทำให้พยาธิหรือเชื้อจุรินทรีย์ตายได้
2. มีการสอบถามแหล่งที่มาของปลา (ถ้าผู้ประกอบการสามารถให้ข้อมูลได้)
3. ถ้าเป็นเนื้อปลาที่ผ่านการแล่แล้ว ควรบรรจุในภาชนะที่ปิดเรียบร้อย เช่น ถาดที่มีแผ่นฟิล์มพลาสติกหุ้มมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
4. หากเป็นแซลมอนแบบซื้อกลับบ้าน ขณะวางจำหน่ายควรเก็บรักษาในอุณหภมิแช่เย็นตลอดอายุการจำหน่าย เพื่อการควบคุมการเพิ่มปริมาณของเชื้อแบคทีเรีย ขณะเดียวกัน ควรรับประทานในวันที่ซื้อให้หมด