สาวป่วยโรคตุ่มน้ำพอง หรือ เพมฟิกัส แชร์ประสบการณ์ ทรมานปวดแสบร้อนกว่า 5 เดือน อาการไม่ลุเลา ไม่สามารถทำงานได้ การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม วอนขอรับความช่วยเหลือจากทุกหน่วยงาน และขอรับบริจาค เหตุป่วยเรื้อรังไม่สามารถทำงานได้
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. เพจ “รวมน้ำใจคนไทยอาสา 2” ได้เปิดเผยเรื่องราวชีวิตของสาวรายหนึ่งซึ่งตั้งใจจะมาแชร์ประสบการณ์กับการพบเจอโรคตุ่มน้ำพอง หรือ เพมฟิกัส โดยเผยว่าเริ่มเป็นช่วงปลายเดือนมกราคม มีอาการตุ่มขึ้นบริเวณริมฝีปากคล้ายร้อนใน ซื้อยามาทาก็ไม่รู้สึกดีขึ้น จนลามขึ้นมาเป็นตุ่มหนองคล้ายสิวบริเวณจมูก ผ่านมากลางเดือนกุมภาพันธ์ เริ่มมีตุ่มน้ำใสขึ้นที่หลังคล้ายตุ่มอีสุกอีใส หมอได้จัดยามาให้กิน 1 อาทิตย์ ไม่ดีขึ้น ตุ่มน้ำพองขึ้น จึงเปลี่ยนไปโรงพยาบาลเอกชน แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเป็นตุ่มน้ำพอง ปลายเดือนได้ลุกลามขึ้นที่อวัยวะเพศ จึงทำให้เกิดหนองแล้วหมอสั่งแอดมิดนอนโรงพยาบาล 7 คืน ก็ยังไม่ดีขึ้น กลับมาบ้านต้องให้พี่สาวตัดผมสั้นให้ เพราะมันขึ้นที่หัวคล้ายสิวหนอง พอเข้าสู่เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน ต้องทนทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ปวดแสบปวดร้อนไปหมด ตามตัวมีกลิ่นเหม็นคาวฟุ้งไปหมด ใส่เสื้อผ้าไม่ได้ ทำงานไม่ได้ มีภาระมีค่าใช้จ่าย การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม ล่าสุด ได้ขอใบส่งตัวไปที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น และไม่ได้รับสิทธิ์ 30 บาท ไปพบอาจารย์หมอที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น อาจารย์หมอจึงแนะนำให้ตรวจชิ้นเนื้อและเจาะเลือดใหม่ แต่ค่าใช้จ่ายสูงประมาณหลักหมื่น รวมยาซึ่งไม่มีเงินพอ อาจารย์หมอจึงแนะนำให้ไปขอใบส่งตัวมาใหม่ หรือจะสู้ยอมเสียตังค์ประเด็นคือไม่ได้ทำงานแม่ไม่ได้ทำงานทางบ้านไม่มีรายรับเพียงพอ
จึงอยากวอนขอให้ช่วยกันแชร์โพสต์นี้ ยืนยันว่า ตนเองนั่นไม่ได้อยากดัง หรือสร้างกระแสแต่อยากให้สังคมเห็นใจ จะส่งแค่อุปกรณ์ล้างแผลให้ก็ได้ ชีวิตไม่เคยคิดว่าจะได้ พบเจอกับโรคแบบนี้ สิ่งที่ทำให้สู้ต่อได้คือครอบครัวแม่และลูกแม่ต้องคอยทายาต้องคอยนอนดึกทั้งทายาให้ถึงร้องไห้ไปด้วยเราต้องสู้ไปด้วยกันด้วยน้ำตาด้วยความหวังชีวิตเหมือนตายทั้งเป็น ตอนนี้ทรมานสุดๆ แต่ยังดีที่มีกำลังใจ”
อย่างไรก็ตาม พญ.อรยา กว้างสุขสถิตย์ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ สมาชิกสามัญ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เผยให้ข้อมูลไว้ว่า โรคเพมฟิกัส (pemphigus) เป็นโรคตุ่มน้ำพองเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยมีการสร้างแอนติบอดีที่มาทำลายการยึดเกาะของเซลล์ผิวหนัง ผิวหนังจึงหลุดลอกออกจากกันโดยง่าย ทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย มีรายงานอุบัติการณ์ 0.5-3.2 รายต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยที่เป็นโรคมักมีอายุเฉลี่ยที่ 50-60 ปี และโรคนี้สามารถพบได้ทุกวัย รวมถึงในเด็ก เพศชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคเท่ากัน และมีความจำเป็นจะต้องวินิจฉัยแยกจากโรคเพมพิกอยด์ เนื่องจากเป็นอีกโรคที่พบบ่อย ซึ่งสามารถแยกจากกันได้ จากลักษณะตุ่มน้ำในโรคเพมพิกอยด์จะเป็นตุ่มน้ำเต่งแตกยาก