xs
xsm
sm
md
lg

ไปดู Oplot-M ล็อตสุดท้าย 13 คัน ยูเครนประกาศส่งให้ไทยไวๆนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ล็อตนี้ทดสอบกันท่ามกลางหิมะเลย บอกให้รู้ว่าผ่านมาทุกอย่าง ทั้งร้อนทั้งเย็น รบได้ในทุกสถานการณ์ ยูเครนยังมีความหวังที่จะขาย Oplot-M ล็อตใหม่ ให้แก่กองทัพบกไทย ที่ยังต้องการและกำลังทยอยจัดหา รถถังรุ่นใหม่อีกกว่า 100 คัน เพื่อใช้แทน  M41 “วอล์กเกอร์ บุลด็อก” (Walker Bullldog) ที่ใช้มานาน ตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม. -- ภาพประกอบทั้งหมดโดย Ukroboronprom. </a>

MGRออนไลน์ -- รัฐวิสาหกิจของกระทรวงกลาโหมยูเครน ที่กำกับดูแลการผลิตและส่งมอบรถถังให้แก่ไทย ประกาศเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาว่า การทดสอบรถถังโอปล็อต-เอ็ม (T-84 Oplot-M) ล็อตสุดท้าย ของไทยเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยมีผู้แทนจากไทยเข้าร่วม ในการทดสอบจริงด้วย และ พร้อมจะส่งให้ไทยในเร็วๆ นี้ นายปาฟโล บูคิน (Pavlo Bukin) ผู้อำนวยการใหญ่รัฐวิสาหกิจยูโครโบรอนพรอม (Ukroboronprom) กล่าวว่า ล็อตต่อไปจะเป็นการผลิต ให้แก่กองทัพบกยูเครน

นี่คือล็อตที่ตกค้างมา ซึ่งยูเครนจะต้องส่งมอบให้แก่ไทยครบทั้งหมด ตั้งแต่เดือน ม.ค.2557 ตามสัญญาซื้อขายที่เซ็นกันในเดือน ก.ย.2554 โดยกองทัพบกไทย จัดหา Oplot-M ทั้งหมด 49 คัน พร้อมยานยนต์สนับสนุนจำนวนหนึ่ง รวมเป็นมูลค่าราว 240 ล้านดอลลาร์ หรือ 7,200 ล้านบาท ซึ่งทำให้ไทยเป็นลูกค้าต่างชาติรายแรกของรถถังหลักรุ่นนี้

แต่เนื่องจากโรงงานผลิต ขาดวัสดุอุปกรณ์ และ การสนับสนุนชิ้นส่วนต่างๆ ตลอดจนความล้มเหลวในการบริหารจัดการ ทำให้การส่งมอบต้องเลื่อนมา เป็นเวลา 4 ปีเต็ม -- ในการให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดนี้ นายบูคิน ได้กล่าวโทษรัสเซีย เป็นสาเหตุทำให้การผลิต และการส่งมอบให้แก่ไทยล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคุกคามทางการทหาร ซึ่งหมายถึงสงครามแยกดินแดนในจังหวัด ทางภาคตะวันออกของประเทศ ที่ยูเครนกล่าวหาว่า รัสเซียให้การสนับสนุนฝ่ายกบฏ

"เราได้ปฏิบัติตามสัญญาจนครบถ้วนแล้ว ถึงแม้ว่ารัสเซียจะแข่งขันอย่างไม่ยุติธรรม และ ก้าวร้าวคุกคามทางการทหารก็ตาม เราสำนึกในบุญคุณของหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย ที่เข้าใจด้วยความฉลาดเฉลียว ต่อปัญหาต่างๆ ที่ยูเครนประสบอยู่ และ ในความเชื่อมั่นต่อยูเครน ในความสามารถที่จะฟันฝ่าอุปสรรคที่ถูกสร้างขึ้นมาเหล่านั้นไปได้ ซึ่งทั้งหมดได้ช่วยยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างเรา"

ผอ.ใหญ่รัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแล การผลิตและส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศ ยังกล่าวอีกว่า การดำเนินตามสัญญากับไทยนั้น ทำให้ยูเครนมีรายได้ เป็นเงินตราเข้างบประมาณ เติมความสามารถในการผลิต ของยูโครโบรอนพรอม
.

.
สำหรับล็อตที่จะผลิตให้แก่กองทัพบกยูเครนนั้่น จะเป็นรุ่นใหม่ที่พัฒนาทั้งทางเทคโนโลยี และ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เนื่องจากรุ่นก่อนใช้งานมาตั้งแต่ปี 2552 แต่ในปัจจุบัน ต้องพูดถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ระบบการตรวจจับ และ ควบคุมการยิง

รถถังหลัก T-84 Oplot-M ทุกคันผลิตที่โรงงานมาลีเชฟ (Malyshev Plant) แห่งเมืองคาร์คอฟ (Kharkov/Kharkiev) เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิต และ ซ่อมบำรุง ยานยนต์หุ้มเกราะหลากหลายชนิด มาตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียต

นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นคันมา ยูเครนได้ทยอยจัดส่ง Oplot-M ให้กองทัพบกไทย รวมทั้งหมด 36 คัน คงเหลืออีก 13 คัน -- การส่งมอบล่าช้า ทำให้ยูเครนเสียโอกาส -- ในการจัดหาล็อตที่ 2 เมื่อต้นปี 2559 ฝ่ายไทยได้หันไปซื้อ รถถังหลักแบบ VT-4 จากจีนแทน จำนวน 28 คันเป็นวงเงิน 4,900 ล้านบาท -- และ ซื้อเพิ่มเติมในเวลาต่อมา รวมเป็นทั้งหมด 49 คัน

อย่างไรก็ตาม กองทัพบกไทยยังคงทยอยจัดหา รถถังหลักรุ่นใหม่ต่อไป รวมเป็นจำนวนทั้งหมดราว 200 คัน เพื่อนำไปใช้เแทน M41 “วอล์กเกอร์ บุลด็อก” (Walker Bullldog) ที่ใช้มานาน ตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม
.




ในการจัดหาครั้งแรกนั้น กองทัพฯ ได้เลือก T-84 โอปล็อต-M โดยชนะรถถัง T-90A ซึ่งเป็น T-90 รุ่นแรกจากรัสเซีย กับ MBT200 จากจีน ด้วยประสิทธิภาพที่น่าพึงพอใจ กับคุณสมบัติใหม่ๆหลายประการ ของรถถังยูเครน

โอปล็อต-M โหลดกระสุนปืนใหญ่ 125 มม. แบบอัตโนมัติ ทำให้ลดกำลังพลปฏิบัติการลงได้ 1 คน เหลือเพียง 3 นอกจากนั้นยังแยกห้องเก็บกระสุน ไว้ในส่วนท้ายรถ ห้องผู้บังคับ พลขับ กับ พลปืน ประจำอยู่ส่วนหน้า โดยมีแผ่นเกราะหนากั้นเป็น "สองส่วน" แยกจากกัน ช่วยเพิ่มโอกาสอยู่รอดของกำลังพล เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน เช่นการระเบิดจากภายใน

เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ยูโครโบรอนพรอม จัดส่งผลิตภัณฑ์กับทั้งเทคโนโลยีด้านกลาโหมหลายชนิด มาร่วมงาน Defense & Security 2017 ที่ศูนย์นิทรรศการอิมแพ็กท์ เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ในโอกาสนี้ พล.อ.สเตฟาน โปลโตราคา (Stepan Poltoraka) รมว.กลาโหม ได้นำคณะนายทหารระดับสูงเยือนไทย และ เข้าเยี่ยมคำนับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงของไทยด้วย

สื่อยูเครนรายงานในช่วงนั้นว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนชุดหนึ่ง ได้แยกเจรจากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย และ เสนอให้ไทยซื้อ Oplot-M ต่อไป เนื่องจากได้พิสูจน์ความพึงพอใจให้เป็นที่ประจักษ์แล้ว ฝ่ายยูเครนยังแจ้งให้ฝ่ายไทยได้ทราบด้วยว่า การผลิตรถถังหลัก ที่โรงงานมาลีเชฟ สามารถดำเนินการได้เป็นปรกติทุกอย่าง จะไม่เกิดความล่าช้าในการผลิต และการส่งมอบอีก.


กำลังโหลดความคิดเห็น