xs
xsm
sm
md
lg

ฝรั่งตีข่าวขายขี้หน้า Oplot-M ทัพบกไทยรถถังแบตเสื่อม รง.แบตฯในยูเครนโดนถล่มอีกต่างหาก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>โอปล็อต-T ของกองพันทหารม้าที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำ เปิดรอให้เด็กๆ และเยาวชนทั่วไป รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครอง ได้เข้าชมเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ เช่นเดียวกับทุกปี ท่ามกลางข่าวเล่าลือว่า รถถังหลักรุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพบกไทย กำลังประสบปัญหาสำคัญ. -- ภาพ:  Thanasak Saisood/ASEAN Military Defense Review</b>

MGRออนไลน์ -- "รถถังโอปล็อตของกองทัพไทยกำลังมีปัญหาแบตเตอรีเสื่อม.." นี่คือหัวข้อข่าวยอดฮิต ที่มีผู้ติดตามอย่างมากมาย ในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมประเทศเพื่อนบ้านแถบนี้ พร้อมกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย บ้างก็ว่ากองทัพไทย ได้กลายเป็นหนูทดลองของรถถังยูเครน บางคนไปไกลถึงขนาดว่า ที่แท้รถถังรุ่นนี้ก็แค่ "ย้อมแมวขาย" ..

ทั้งหมดนี้ เป็นผลต่อเนื่องจากรายงานเรื่องเดียวกัน โดยสำนักข่าวที่เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ประเภทบอกรับเป็นสมาชิกแห่งหนึ่ง สัปดาห์ต้นเดือนที่ผ่านมา

นิตยสาร "กันวาเอเชี่ยนดีเฟ้นซ์" (Kanwa - The Asian Defence) ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของ Kanwa Defence แหล่งข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ที่มีชื่อเสียงและได้รับความเชื่อถือมานานปี รายงานเรื่องนี้โดยอ้าง แหล่งข่าวในกองทัพบกไทย อันเป็นผลจากการทดสอบใช้รถถังรุ่นนี้ ซึ่งในปัจจุบันไทยได้รับมอบจากฝ่ายยูเครนเพียง 10 คัน

"แหล่งข่าวในกองทัพบกไทย บอกกันวาเอเชียนดีเฟ้นซ์ว่า การทดสอบรถถังโอปล็อตของยูเครนในประเทศไทย ในช่วงฤดูฝน ได้แสดงให้เห็นอายุของแบตเตอรีที่หดสั้น และ จะต้องชาร์จบ่อยๆ.."

ข้อความข้างบนนี้ยังเป็นส่วนหนึ่ง ที่ปรากฏอยู่ในรายงานการทดสอบรถถังรุ่นเดียวกันนี้ โดยกองทัพปากีสถานเมื่อปีที่แล้ว เช่นกัน ซึ่ง Oplot-M ไม่ผ่าน เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,000 แรงม้า เกิดโอเวอร์ฮีทในทะเลทราย และ ถึงแม้ว่ารถถัง VT4 ของจีน จะมีปัญหาเดียวกัน คือ เครื่องยนต์ขนาด 1,300 แรงม้าเกิดร้อนจัด ภายใต้สภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงมาก แต่ก็มีแนวโน้มว่า ปากีสถานจะเลือกรถถังที่ผลิตในประเทศจีนรุ่นนี้ เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเครื่องยนต์ไป รุ่นเดียวกับ MBT3000 ได้ และ เริ่มเจรจาต่อรองให้จีนถ่ายทอดเทคโนโลยี

โอปล็อต-M ผลิตในยุโรป ที่สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับประเทศไทย เมื่อนำมาใช้งานในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ก็ทำให้แบตเตอรีต้องทำงานหนักขึ้น เกิด "การควบแน่น" (Condensation ซึ่งในความหมายทั่วไปคือ ภาวะการควบแน่นภายใน ทำให้ของเหลวในแบตเตอรีแห้งเหือด) นั่นคือทำให้ประจุหมดเร็วขึ้น
.
<br><FONT color=#000033>เด็กๆ กับ พ่อแม่ผู้ปกครอง มีโอกาสได้เข้าชม Oplot-T เขี้ยวเล็บของกองทัพบกไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ. -- ภาพ: Thanasak Saisood/ASEAN Military Defense Review</b>
2
ประจุไฟฟ้าหมดเร็วเป็นปัญหาอย่างไร หรือ .. ผู้รู้ได้อธิบายในเว็บข่าวกลาโหมอินโดนีเซียว่า แบตเตอรีในรถถัง ก็เป็นเช่นเดียวกันกับในยานยนต์ทั่วไป นั่นก็คือเป็นขุมพลังทั้งมวลของยานเกราะ เมื่อ "แบตหมด" ระบบต่างๆ ก็จะใช้การไม่ได้อีก รวมทั้งระบบเซ็นเซอร์ ระบบควบคุม กระทั่งระบบโหลดกระสุนปืนใหญ่อัตโนมัติ อันเป็นคุณสมบัติดีเด่นประการหนึ่งของ Oplot-M หรือ "Olpot-T" สำหรับกองทัพไทย

"แบตเตอรี่หมดเร็ว เป็นปัญหาสำคัญมาก ถ้าเป็นรถยนต์ก็คือ เครื่อยนต์ดับ และ สตาร์ตไม่ติด แต่ในรถถังระบบอาวุธ ระบบควบคุมต่างๆ จะใช้งานไม่ได้อีกต่อไป คุณคิดดู .. กำลังยิงกันโครมคราม แล้วแบตฯ หมดลงดื้อ ก็ไม่ต่างจากการตกเป็นเป้าให้อีกฝ่ายหนึ่งซ้อมยิงอย่างเมามือ.." ผู้รู้เขียนความเห็นลงในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมอินโดนีเซียดี้เฟนซ์ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

นิตยสารกันวาฯ กล่าวว่า ถึงแม้ฝ่ายยูเครนได้รับปากกับกองทัพบกไทย จะดำเนินการแก้ไขและเปลี่ยนแบตเตอรีให้ใหม่อย่างรวดเร็วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ฝ่ายนั้นจะแก้ปัญหาด้วยวิธีใด เนื่องจากแบตเตอร์สำหรับโอปล็อต-M นั้น ผลิตโดย บริษัท CJSC "ลูกันส์แบตเตอรี" อยู่ที่เมืองลูกันส์ (Lugansk) จังหวัดทางภาคตะวันออก ที่ฝ่ายกบฏแยกดินแดน พยายามแยกไปตั้งเป็นสาธารณรัฐแห่งใหม่ หรือ อาจจะนำไปรวมกับสหพันธรัฐรัสเซีย

ยังไม่มีรายงานใดๆ เกี่ยวกับโรงงานแห่งนี้ ในสื่อของยูเครนเอง แต่กันวาฯ กล่าวว่า ปัจจุบันโรงงานลูกันส์แบตเตอรี ได้รับความเสียหาย เนื่องจากถูกฝ่าบกบฏแบ่งแยกดินแดนโจมตี
.

<br><FONT color=#000033>ภาพจากโรงงานมาลีเชฟ (Malyshev Plant) เมืองคาร์คอฟ (Kharkhov) สาธารณรัฐยูเครน ในโอกาสคณะเจ้าหน้าที่จากไทย ไปเยี่ยมชม และ เซ็นรับรถถังล็อตใหม่ เมื่อต้นปี ที่เชื่อกันว่ายูเครนมอบให้อีกจำนวน 5 คัน ท่ามกลางรายงานเกี่ยวกับปัญหาแบตเตอรีเสื่อมเร็ว ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่. </b>
3
ปัจจุบันกองทัพบกไทย เป็นลูกค้าต่างประเทศเพียงรายเดียว ของรถถัง Oplot-M ในแผนการจัดหารถถังหลัก เพื่อนำเข้าประจำการแทน M41 "วอร์กเคอร์ บุลด็อก" (Walker Bulldog) รถถังขนาดเบาผลิตในสหรัฐ ซึ่งไทยเคยมีอยู่ราว 200 คัน และ ทยอยปลดระวาง หลังใช้มานานกว่า 30 ปี

ตามแผนการจัดหาดังกล่าวนั้น กองทัพบกไทยกำลังมองหารถถังรุ่นใหม่จำนวนทั้งหมด 200 คันนั่นเอง และ เริ่มด้วยการซื้อ Oplot-M (หรือ Oplot-T ตามที่ฝ่ายยูเครนเรียก) จำนวน 49 คัน ในเดือน ก.ย.2554 ด้วยเงินงบประมาณ 7,200 ล้านบาท

ไทยได้รับมอบล็อตแรก 5 คันเมื่อต้นปี 2557 อีก 5 คันตามมาในช่วงปลายปี สื่อตะวันตกรายงานว่า ตามข้อตกลงนั้นยูเครน จะต้องส่งมอบถึง 20 คัน ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว แต่จนถึงสิ้นปีก็ไม่สามารถส่งให้ได้แม้แต่คันเดียว เนื่องจากปัญหาเชิงบริหารจัดการ ของโรงงาน และ การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของยานเกราะ

ยูเครนให้คำมั่นปี 2559 นี้ จะจัดส่งให้กองทัพไทย 10 คันรวด และ สื่อในประเทศนี้รายงานในสัปดาห์กลางเดือน มี.ค.ว่า คณะเจ้าหน้าที่ของไทย ได้เดินทางไปตรวจ และ เซ็นรับมอบรถล็อตใหม่ ที่เลื่อนการส่งมอบมาจากเดือน ธ.ค.2558 และ -- อีกครั้งหนึ่ง -- เดือน ม.ค.ปีนี้ พร้อมเผยแพร่ภาพจากโรงงานมาลีเชฟ แห่งเมืองคาร์คอฟ ซึ่งเป็นแหล่งผลิต

ตามกำหนดการดังกล่าว คาดว่าไทยจะได้รับ Oplot-T อีก 5 คัน เป็นอย่างน้อย ในช่วงต้นเดือน พ.ค.นี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น