xs
xsm
sm
md
lg

ลาวจัดเตรียมส่ง "รำวง" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก พร้อมบายศรี ตักบาตร บุญขึ้นปีใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพถ่ายเดือน ก.พ.2526 หรือเมื่อ 35 ปีที่แล้ว สหายชาวต่างชาติออกร่วมรำวงสามัคคี ที่สโมสรแห่งหนึ่งด้านหลังของโรงแรมล้านช้าง เนื่องในโอกาส ต้อนรับการประชุมใหญ่แม่หญิงทั่วกำแพงนครเวียงจันทน์ -- นั่นคือบรรยากาศในช่วงปีที่ 7 หลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจ ซึ่งเสียงดนตรี เสียงกลองกับเสียงแคน มีให้ได้ยินตลอด -- ชาวลาวรำวงกันได้ในทุกโอกาส บัดนี้รำวงลาว กำลังจะถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </a>

MGRออนไลน์ -- ทางการลาวกำลังจัดเตรียม รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ เพื่อยื่นขอขึ้นทะเบียนรำวงลาว ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือ Intangible Culteral Heritage นอกจากนั้่นก็กำลังพิจารณา เพื่อดำเนินการในเรื่องเดียวกันสำหรับ กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ที่ชาวลาวผดุงสืบต่อกันมา เป็นเวลาช้านาน

กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว จัดการประชุมหารือ กับตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัปดาห์ต้นเดือนที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ โดยจะเริ่มจากการขึ้นทะเบียน "รำวงลาว" ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นเพียงไม่นานหลังจาก หน่วยงานขององค์การยูเนสโก ประกาศผลการจดทะเบียน "เสียงแคน" ซึ่งเป็นเสียงจากเครื่องดนตรีเก่าแก่ของลาว เป็นมรดกโลกประเภทเดียวกัน

รำวงลาวเป็นการ "เต้นรำ" (Dancing) ระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว หรือ รำหมู่ในงานสังสรรค์ งานรื่นเริง ที่มีลีลารวดเร็ว มีจังหวะ และ ท่วงทำนองที่เร้าใจ สนุกสนาน ไปกับเสียงแคน เสียงพิณและกลองโทน -- ตามทำนองเพลงพื้นเมือง ที่มีมาแต่โบราณกาล ลาวในยุคปฏิวัติได้เกิดมี "รำวงสามัคคี" ขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานอย่างมีสาระในหมู่คณะ แตกต่างไปจากรำวงลาวดั้งเดิมไม่มาก -- เพิ่มท่วงทำนองให้รวดเร็ว ดนตรีประกอบมีความหนักแน่นยิ่งขึ้น บ่อยครั้งไม่มีเสียงแคน และ รำคู่กับบทเพลงปฏิวัติ

ตามรายงานของสื่อทางการ กระรวงแถลงข่าวฯ มีแผนการที่จะเสนอขึ้นทะเบียน กิจกรรมและประเพณีอีกหลายรายการ ให้เป็นมรดกโลก รวมทั้งประเพณีบายศรีสู่ขวัญ การทำบุญตักบาตร บุญประเพณีกองข้าวใหญ่ รวมทั้งประเพณีบุญขึ้นปีใหม่ หรือ เทศกาลสงกรานต์ของชาวลาวอีกด้วย

ตามข้อมูลขององค์การยูเนสโก คุณสมบัติสำคัญ ในการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมประเภทที่จับต้องไม่ได้นั้น จะต้องเป็นสิ่งที่เกิดจากขนบธรรมเนียม ที่สืบทอดกันมา ทางการละเล่น ทางศิลปะ หรือพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งงานประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ จักรวาล รวมทั้งงานด้านหัตถศิลป์ หรือ หัตถกรรม ที่ไม่ใช่วัตถุ ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนชาติ สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

เดือน ธ.ค.2560 องค์กรยูเนสโกได้ยอมรับ "การเป่าแคน" หรือ เสียงดนตรีที่เกิดจากเครื่องดนตรีประจำชาติของลาว เป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้ โดยระบุว่า เสียงแคนเป็นส่วนประกอบสำคัญของงานสังสรรค์ และ พิธีกรรมต่างๆ ส่งเสริมสถาบันครอบครัว และ ยังช่วยส่งเสริมวิถีชีวิตทางการเกษตรธรรมชาติ การออกกำลังกาย เนื่องจากการเป่าแคน มักจะมีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยเสมอๆ เช่น ผู้ร่วมเล่น (เป่า) ร่วมร้อง (ลำ) และ ฟ้อนรำไปในขณะเดียวกัน

ปัจจุบันรัฐบาลลาว ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ จดทะเบียนหุ่งไหหิน ในแขวงเชียงขวาง ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีเก่าแก่ ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่งด้วย.
.
<br><FONT color=#00003>เด็กๆแต่งชุดวัฒนธรรมกันเต็มยศ เตรียมเข้าวัดทำบุญขึ้นปีใหม่ประเพณี กับพ่อแม่ผู้ปกครอง แม้การทำบุญตักบาตรในยามเช้า ก็จะถูกนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเช่นเดียวกัน. </a>
<br><FONT color=#00003>ฉลองเทศกาลขึ้นปีใหม่อย่างมีอัตตลักษณ์ ที่เมืองหลวงพระบาง ประเพณีนี้สืบต่อกันมาหลายร้อยปี และ กำลังจะนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเช่นกัน. </a>


กำลังโหลดความคิดเห็น