xs
xsm
sm
md
lg

ผู้นำอินเดียเยือนพม่าคุยความร่วมมือการค้า เห็นใจ “ซูจี” เจอภัยก่อการร้าย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย (ซ้าย) พบหารือกับนางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของพม่า ที่ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงเนปีดอ วันที่ 6 ก.ย. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย กล่าววันนี้ (6) ว่า อินเดียร่วมแบ่งปันความวิตกกังวลของพม่าเกี่ยวกับ “ความรุนแรงสุดโต่ง” ในรัฐยะไข่ ที่ปฏิบัติการของกองกำลังรักษาความมั่นคงต่อกบฏมุสลิมได้ส่งผลให้ประชาชนราว 125,000 คน ต้องอพยพหลบหนีไปบังกลาเทศ

ผู้นำอินเดีย แสดงความเห็นดังกล่าวหลังหารือกับนางอองซานซูจี ระหว่างเยือนพม่า ที่มีเป้าหมายขยายความสัมพันธ์ทางการค้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรุกตะวันออก (Act East) และความพยายามที่จะผลักดันต่อต้านอิทธิพลของจีน

พม่าตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากนานาประเทศ หลังชาวมุสลิมโรฮิงญาราว 125,000 คน หลบหนีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นจากการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายโรฮิงญากับด่านตำรวจ และค่ายทหาร ตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.

การโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายทำให้ทหารดำเนินการกวาดล้าง ที่ผู้ลี้ภัย และกลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ทำให้ชาวโรฮิงญาผู้บริสุทธิ์จำนวนมากตกเป็นเป้า

พม่าปฏิเสธข้อกล่าวหาต่างๆ ของผู้ลี้ภัย และกลุ่มสิทธิมนุษยชนว่า กองกำลังทหารของประเทศละเมิดสิทธิของชาวโรฮิงญา โดยระบุว่า ทหาร และตำรวจกำลังต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย

ซูจี กล่าวในการแถลงข่าวร่วมกับผู้นำอินเดียในทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงเนปีดอ ว่า พม่ารู้สึกขอบคุณสำหรับท่าทีของอินเดียต่อการโจมตีที่เกิดขึ้นในประเทศ และพวกเขาสามารถทำงานร่วมกันเพื่อเผชิญต่อความท้าทายนี้

“เราขอขอบคุณอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการคำนึงถึงภัยคุกคามของผู้ก่อการร้ายที่เข้ามาในประเทศของเราในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่า เราสามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าลัทธิก่อการร้ายจะไม่สามารถหยั่งรากลงในแผ่นดินของเรา” ซูจี กล่าว

โมดี กล่าวว่า อินเดีย และพม่ามีความสนใจในเรื่องความมั่นคงในภูมิภาคนี้เหมือนกัน

“เราแบ่งปันความวิตกกังวลของคุณเกี่ยวกับความรุนแรงสุดโต่งในรัฐยะไข่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงต่อกองกำลังรักษาความมั่นคง และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้บริสุทธิ์” ผู้นำอินเดีย กล่าว

“เราหวังว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดจะสามารถหาหนทางที่ทำให้ความเป็นหนึ่งเดียว และบูรณภาพแห่งดินแดนของพม่าได้รับความเคารพ และในขณะเดียวกัน เราก็สามารถมีสันติภาพ ศักดิ์ศรี ความยุติธรรม และค่านิยมประชาธิปไตยสำหรับทุกคน”

อินเดีย กำลังพยายามที่จะกระตุ้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับพม่าที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากร และมีพรมแดนติดกันเป็นความยาว 1,600 กิโลเมตร เพื่อต้านอิทธิพลของจีน และขยายความเชื่อมโยงต่อพม่าที่เป็นประตูสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
.

.

.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น