xs
xsm
sm
md
lg

บังกลาเทศเสนอช่วยทหารพม่าปราบกลุ่มก่อการร้ายโรฮิงญาในยะไข่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ตำรวจชายแดนพม่าตรวจสอบผู้คนที่กำลังอพยพออกจากพื้นที่ขัดแย้งที่ด่านตรวจใกล้ทางเข้าเมืองหม่องดอ ในรัฐยะไข่. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>

เอเอฟพี - บังกลาเทศ เสนอปฏิบัติการร่วมทางทหารกับพม่าปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายโรฮิงญาที่ต่อสู้ในรัฐยะไข่ ขณะที่สหประชาชาติแสดงความวิตกเกี่ยวกับรายงานว่ามีพลเรือนถูกสังหารในเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงหลายวันมานี้

การสู้รบปะทุขึ้นในรัฐยะไข่ตั้งแต่วันศุกร์ (25) เมื่อกลุ่มก่อการร้ายโรฮิงญาซุ่มโจมตีกองกำลังรักษาความมั่นคงของพม่าพร้อมกันหลายจุด และการตอบโต้ของฝ่ายพม่าทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน โดยเป็นผู้ก่อการร้ายประมาณ 80 คน และยังทำให้ชาวโรฮิงญาอีกหลายพันคนอพยพหลบหนีไปบังกลาเทศ

นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ระบุว่า มีความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อรายงานการเสียชีวิตของพลเรือนในปฏิบัติการความมั่นคงในรัฐยะไข่ของพม่า และเรียกร้องให้บังกลาเทศเพิ่มความช่วยเหลือต่อพลเรือนที่หลบหนีความรุนแรง โดยระบุว่า ผู้ที่หลบหนีเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และเด็ก และส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

หน่วยงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ระบุว่า ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา มีชาวโรฮิงญามากกว่า 3,000 คน เดินทางมาถึงบังกลาเทศ

บังกลาเทศระบุว่า มีชาวโรฮิงญาหลายพันคนอยู่บริเวณชายแดนติดกับพม่า ซึ่งกรุงธากาได้เพิ่มการลาดตระเวน และผลักดันพลเรือนหลายร้อยคนที่พยายามจะเข้ามาในเขตแดนกลับออกไป

การอพยพของชาวโรฮิงญาเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่ฮิวแมนไรท์วอทช์ ระบุหน่วยงานมีข้อมูลดาวเทียมที่ดูเหมือนเป็นการเผาทำลายพื้นที่อยู่อาศัยใน 10 แห่งใกล้บังกลาเทศ ที่รวมทั้งหมู่บ้านโรฮิงญา และถิ่นฐานของชาวยะไข่ที่ถูกกลุ่มก่อการร้ายโจมตี

ในการพบหารือกับอุปทูตพม่าในกรุงธากา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศเสนอความพยายามร่วมกันทางทหารเพื่อต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายตามแนวชายแดน

“หากพม่าต้องการ กองกำลังรักษาความมั่นคงของสองประเทศสามารถดำเนินการปฏิบัติการร่วมกันต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย หรือกองทัพยะไข่ตามแนวพรมแดนบังกลาเทศ-พม่า” เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

กองทัพกอบกู้โรฮิงญาแห่งรัฐยะไข่ (ARSA) เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ระบุว่า พวกเขาต่อสู้เพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยมุสลิมจากการข่มเหงทารุณโดยกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่า และชุมชนชาวพุทธยะไข่

แต่ยังไม่มีความเห็นจากฝั่งนักการทูตพม่าในเรื่องนี้

ในช่วงสุดสัปดาห์ ขณะที่ความรุนแรงในรัฐยะไข่เลวร้ายลงเรื่อยๆ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของบังกลาเทศได้เรียกอุปทูตพม่าประจำกรุงธากาเข้าพบที่ได้แสดงความรู้สึกวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ลี้ภัยไหลบ่าเข้ามาระลอกใหม่

ปัจจุบัน บังกลาเทศมีผู้ลี้ภัยโรฮิงญาอาศัยอยู่ตามค่ายต่างๆ ใกล้ชายแดนพม่าแล้วราว 400,000 คน และทางการกรุงธากาได้ร้องขอให้พม่ารับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากลับประเทศ และจัดการต่อต้นตอของปัญหา.
.
<br><FONT color=#000033>ตำรวจพม่านั่งอยู่บนหลังคารถคุ้มกันความปลอดภัยให้กับพนักงานสหประชาชาติและเอ็นจีโอระหว่างประเทศหลังเดินทางไปยังพื้นที่ขัดแย้งในรัฐยะไข่. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีความรุนแรงในรัฐยะไข่ เดินทางมุ่งหน้าไปยังที่พักชั่วคราวใกล้ชายแดนบังกลาเทศ-พม่า หลังถูกเจ้าหน้าที่รักษาชายแดนบังกลาเทศสกัดไม่ให้ข้ามฝั่งเข้าไปในเขตแดน. -- Reuters/Mohammad Ponir Hossain.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น