xs
xsm
sm
md
lg

พุทธพม่าชุมนุมเรียกร้องกองทัพปราบโรฮิงญาให้หนัก ติงรัฐบาลซูจีทำงานชักช้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้สนับสนุนพระวิระธูชูป้ายเรียกร้องการมอบอำนาจให้ทหารปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมโรฮิงญา ระหว่างการชุมนุมประท้วงในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 30 ส.ค. -- Associated Press/Stringer.</font></b>

เอพี - ชาวพุทธพม่าชาตินิยมหลายร้อยคน รวมทั้งพระสงฆ์ ได้ชุมนุมกันในนครย่างกุ้งวานนี้ (30) เรียกร้องการดำเนินการที่หนักขึ้นต่อผู้ก่อการร้ายจากชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญาที่โจมตีตำรวจเมื่อสัปดาห์ก่อน

การโจมตีในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของพม่า ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 100 คน และหมู่บ้านหลายแห่งถูกเผาทำลาย

กองทัพตอบโต้การโจมตีที่เกิดขึ้นด้วยสิ่งที่เรียกว่า ปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มก่อการร้าย และรัฐบาลได้กล่าวโทษกลุ่มก่อการร้ายโรฮิงญา และผู้ที่เห็นอกเห็นใจชาวโรฮิงญาสำหรับความรุนแรงที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง

ความตึงเครียดระหว่างชาวมุสลิมโรฮิงญา และชาวพุทธชาติพันธุ์ยะไข่ปะทุขึ้นในเหตุจลาจลนองเลือดปี 2555 ที่ก่อให้เกิดกระแสความรู้สึกต่อต้านชาวมุสลิมไปทั่วประเทศ

พระวิระธู แกนนำขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านมุสลิมกล่าวต่อผู้ชุมนุมประท้วงในนครย่างกุ้งว่า มีเพียงทหารเท่านั้นที่สามารถควบคุมสถานการณ์ในรัฐยะไข่

พระรูปนี้ยังวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลพลเรือนของนางอองซานซูจี ที่ไม่ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อคำร้องของกองทัพสำหรับการประชุมคณะกรรมการความมั่นคงและป้องกันแห่งชาติ ซึ่งอาจประกาศภาวะฉุกเฉินในรัฐยะไข่ และมอบอำนาจให้ทหารอย่างเต็มที่

“มีเพียงแต่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเท่านั้นที่สามารถปกป้องชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ทหารเป็นเพียงทางเดียวที่สามารถให้บทเรียนแก่กลุ่มก่อการร้ายเบงกาลี” พระวิระธู กล่าว โดยใช้คำว่า เบงกาลี ในการอ้างถึงโรฮิงญา เพราะเชื่อว่าชาวโรฮิงญาจำนวนมากอพยพอย่างผิดกฎหมายมาจากบังกลาเทศ

พระวิระธู ยังตำหนิกลุ่มช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศที่รัฐบาลกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐานว่าให้ความช่วยเหลือกลุ่มก่อการร้ายโรฮิงญา ข้อกล่าวหาที่แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์

กระทรวงข้อมูลข่าวสาร ระบุว่า มีระเบิดแสวงเครื่องถูกจุดชนวน 45 ลูก และมีหมู่บ้าน 7 แห่ง ด่านรักษาความมั่นคง 1 แห่ง และชุมชนในเมืองหม่องดอ 2 แห่ง ถูกเผาทำลายเมื่อวันอาทิตย์ และวันจันทร์ ซึ่งเมืองหม่องดอ ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ เป็นศูนย์กลางความรุนแรงที่เกิดขึ้น

หน่วยงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ เรียกร้องให้บังกลาเทศปล่อยให้ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีความรุนแรงแสวงหาที่ปลอดภัย และระบุว่า หน่วยงานพร้อมช่วยเหลือบังกลาเทศในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้

ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเมืองคอกซ์บาซาร์ ระบุว่า ทรัพยากรของเมืองกำลังตึงเครียดหนักหลังโรฮิงญาเข้ามาในบังกลาเทศ 87,000 คน ตั้งแต่เดือน ต.ค.ปีก่อน และเพิ่มอีก 18,000 คน ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่นายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศได้ร้องขอให้สหรัฐฯ กดดันพม่าเพื่อยุติการผลักดันโรฮิงญามายังบังกลาเทศ.
.

.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น