xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามจัดงานใหญ่โชว์ทำลายงาช้าง-นอแรดผิดกฎหมายกว่า 2 ตัน มุ่งมั่นยุติค้าสัตว์ป่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม (ขวา) เอกอัครราชทูตประเทศโมซัมบิกประจำเวียดนาม (กลาง) และเอกอัครราชทูตประเทศอังกฤษประจำเวียดนาม (ซ้าย) ยกนอแรดขึ้นเพื่อเตรียมวางบนกองไม้ที่จะจุดเผาทำลาย ในงานที่จัดขึ้นเพื่อทำลายงาช้างและนอแรดผิดกฎหมายที่ทางการยึดไว้ได้รวมจำนวนมากกว่า 2 ตัน ในกรุงฮานอย วันที่ 12 พ.ย. --  Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>

รอยเตอร์ - เวียดนามทำลายงาช้างที่จับยึดได้เกือบ 2.2 ตัน และนอแรด 70 กิโลกรัม เมื่อวันเสาร์ (12) หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่จะหยุดการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายของประเทศ

สมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ (HSI) ที่มีสำนักงานในอังกฤษ และได้ทำงานร่วมกันกับรัฐบาลเวียดนาม มาตั้งแต่ปี 2556 ที่จะลดความต้องการนอแรดในประเทศ ระบุว่า งาช้าง และนอแรดเหล่านี้คาดว่ามีมูลค่ามากกว่า 7 ล้านดอลลาร์ในตลาดมืด ซึ่งมาจากช้างแอฟริการาว 330 ตัว และแรด 23 ตัว

เวียดนามเป็นจุดขนส่งงาช้างให้แก่ลูกค้าที่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน และสหรัฐฯ เพื่อนำไปผลิตเป็นเครื่องประดับ และของตกแต่งบ้าน ขณะที่เวียดนามเองนั้นเป็นผู้บริโภคนอแรดรายใหญ่

“การทำลายในวันนี้ (12) เป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะตอบสนองต่อหน้าที่ระหว่างประเทศในข้อตกลงที่จะคุ้มครองสัตว์ป่า” รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรเวียดนาม กล่าว

การใช้ และการค้านอแรดเป็นความผิดทางอาญาในเวียดนาม แต่ความต้องการกลับยังคงมีสูงเนื่องจากความเชื่อที่ยึดถือกันมานานถึงสรรพคุณทางยาของนอแรด ว่า เป็นยาอายุวัฒนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงของประเทศ

งานที่จัดขึ้นในวันเสาร์ (12) ทำให้เวียดนามเป็นอีกหนึ่งใน 20 ประเทศ ที่บด และเผาทำลายงาช้าง และนอแรดที่ยึดมาได้

“การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงอย่างมาก หากเวียดนาม และรัฐบาลเวียดนามเพิ่มความพยายามในการทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ เพื่อหยุดการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ผมคิดว่าจะช่วยในเรื่องภาพลักษณ์ระหว่างประเทศของเวียดนาม” เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเวียดนาม กล่าว

HSI ระบุว่า ช้างแอฟริกาเผชิญต่อภัยคุกคามจากการล่า และการลักลอบค้าผิดกฎหมายอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน โดยในช่วงระหว่างปี 2553-2555 มีช้างประมาณ 100,000 ตัว ถูกฆ่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อตอบสนองความต้องการงาช้าง ขณะที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแรดถูกฆ่าไปมากกว่า 6,000 ตัว ทั่วแอฟริกา และเวลานี้มีแรดเพียงแค่ประมาณ 29,000 ตัว จาก 5 สายพันธุ์ที่ยังเหลืออยู่ในป่า

“หากเราสามารถทำอะไรบางอย่างที่จะช่วยลดความต้องการในเวียดนาม ในจีน หรือกำจัดความต้องการเหล่านั้นให้หมดไป นั่นจะเป็นสิ่งที่ช่วยแรดในแอฟริกาได้” ผู้อำนวยการฝ่ายสัตว์ป่าของ HSI ระบุ.
.
<em><br><FONT color=#000033> 1  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 2  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 3  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 4  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 5  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 6  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 7  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 8  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 9  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 10  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 11  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 12 </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 13  </font></b></em>
.
<em><br><FONT color=#000033> 14  </font></b></em>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น