xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มเฝ้าระวังสับลาวล้มเหลวปราบปรามค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย จี้แก้ไขก่อนสูญพันธุ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ตัวนิ่มเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกลักลอบค้ามากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีตัวนิ่มถูกขายไปแล้วมากกว่า 1 ล้านตัว กลุ่มเฝ้าระวัง TRAFFIC เรียกร้องให้ลาวที่เป็นศูนย์กลางการขนย้ายการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายเร่งปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดต่อการกระทำผิดกฎหมายนี้. -- Agence France-Presse/Christophe Archambault.</font></b>

เอเอฟพี - การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายทั้งตัวนิ่ม นกชนหิน และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าอื่นๆ กำลังเฟื่องฟูในลาว ตามการเปิดเผยของกลุ่มเฝ้าระวังที่เรียกร้องให้ลาวปราบปรามการค้าที่กำลังขยายตัวเนื่องจากความต้องการในจีน

ลาวเป็นศูนย์กลางการขนย้ายการค้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่ามาเป็นเวลายาวนาน เนื่องจากการทุจริตอย่างกว้างขวาง และการบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอ ทำให้การกระทำผิดกฎหมายขยายตัวมากขึ้น

กลุ่มเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่า TRAFFIC ระบุว่า สายพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ตัวนิ่ม นกชนหิน มีขายกันอย่างเปิดเผยในลาว และการบังคับใช้กฎหมายต่อการค้าผิดกฎหมายเหล่านี้ก็ยังไม่เข้มแข็งพอ

“ลาวจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ในฐานะเรื่องเร่งด่วน หรือเสี่ยงที่ถูกขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงของการลักลอบค้าสัตว์ป่าแห่งเอเชีย” เจ้าหน้าที่อาวุโสของ TRAFFIC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

ตัวนิ่ม เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ และถูกจัดอันดับให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกค้าขายมากที่สุดในโลก ด้วยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีตัวนิ่มถูกขายไปแล้วมากกว่า 1 ล้านตัว ตามการระบุของกลุ่มอนุรักษ์ เนื่องจากเนื้อ หนัง และเกล็ดของตัวนิ่มเป็นที่ต้องการอย่างมากในจีน และพื้นที่อื่นๆ ในเอเชีย

เนื้อของตัวนิ่มถูกมองว่าเป็นอาหารรสเลิศ ขณะที่หนัง มและเกล็ดของมันมักนำไปใช้ในตำรับยาแผนโบราณ และเป็นสินค้าเครื่องแต่งกาย เช่น รองเท้า

นักวิจัยของ TRAFFIC พบว่า มีตัวนิ่มถูกขายเป็นจำนวนมากในพื้นที่ภาคเหนือของลาว ระหว่างการลงพื้นที่สำรวจเมื่อช่วงต้นปี และตัวนิ่มที่ถูกยึดได้มากกว่า 5,600 ตัว ในระหว่างปี 2553-2558 มีความเชื่อมโมงกับลาว โดยสัตว์เหล่านี้มักถูกลักลอบนำเข้ามาจากไทย และมีปลายทางส่งต่อไปที่จีน หรือเวียดนาม ส่วนผลิตภัณฑ์จากนกชนหิน ที่ใกล้สูญพันธุ์ ก็มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายในลาวเช่นกัน ตามการรายงานของ TRAFFIC

ร้านค้าที่ขายชิ้นส่วนสัตว์จำนวนมากมักควบคุม หรือจ้างพนักงานที่มีเชื้อสายจีน และคิดราคาในสกุลเงินหยวน หรือดอลลาร์

คำแถลงของกลุ่มมีขึ้นหลังภารกิจในลาวเมื่อเดือน ก.ค. ที่กลุ่มได้ยกประเด็นเกี่ยวกับการค้านอแรด งาช้าง และผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าอื่นๆ และนับตั้งแต่ปี 2555 ยังไม่พบรายงานการจับกุม หรือดำเนินการทางกฎหมายต่อการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าเนื่องจากช่องโหว่ทางกฎหมาย

รายงานนี้มีขึ้นก่อนการประชุมไซเตสที่เริ่มขึ้นเมื่อวันเสาร์ (24) ในแอฟริกาใต้ ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมการค้าสัตว์ป่าซึ่งเป็นปัจจัยที่คุกคามสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่จะสูญพันธุ์.
กำลังโหลดความคิดเห็น