xs
xsm
sm
md
lg

ต่างชาติยันภาพถ่ายดาวเทียมหมู่บ้านในรัฐยะไข่ถูกเผา โฆษกพม่าท้าลงพื้นที่ดูของจริง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจของพม่าออกเดินลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยตามแนวรั้วชายแดนระหว่างพม่าและบังกลาเทศ ในเมืองหม่องดอ รัฐยะไข่ ทั้งสหรัฐฯ นักเคลื่อนไหว และกลุ่มช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ได้แสดงความวิตกกังวลต่อรายงานชิ้นใหม่เกี่ยวกับการข่มขืนและสังหาร ขณะที่ภายถ่ายดาวเทียมเผยให้เห็นว่ามีหมู่บ้านอย่างน้อย 3 แห่ง ถูกเผาทำลายเสียหายในรัฐยะไข่. -- Associated Press/Thein Zaw.</font></b>

เอพี - รัฐบาลของอองซานซูจี กำลังเผชิญต่อแรงกดดันจากต่างชาติเกี่ยวกับรายงานเมื่อไม่นานนี้ที่ว่า ทหารได้สังหาร ข่มขืน และเผาบ้านเรือนของชาวมุสลิมโรฮิงญา

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ร่วมกับนักเคลื่อนไหว และกลุ่มช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ได้แสดงความวิตกกังวลถึงรายงานชิ้นใหม่เกี่ยวกับการข่มขืน และสังหารผู้คน ขณะที่ภาพถ่ายดาวเทียมที่ฮิวแมนไรท์วอชนำมาเผยแพร่ชี้ให้เห็นว่า มีหมู่บ้านอย่างน้อย 3 แห่ง ในรัฐยะไข่ ถูกเผาทำลาย

ด้านเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพม่าได้ปฏิเสธรายงานการโจมตีเหล่านี้ และนายซอ เต โฆษกประธานาธิบดีกล่าวในวันนี้ว่า ผู้แทนสหประชาชาติควรเดินทางไปเยือน และดูสถานการณ์จริงในพื้นที่

ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำพม่า กล่าวว่า การละเมิดอย่างร้ายแรงที่ประกอบด้วย การทารุณ การสังหาร การจับกุมตัวโดยพลการ และการทำลายมัสยิด และที่อยู่อาศัย เป็นภัยคุกคามประชาธิปไตยของประเทศ

“จากภาพกว้างๆ ดูเหมือนรัฐบาลจะไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อทหาร” คริส เลวา ผู้อำนวยการโครงการอาระกัน ที่เป็นกลุ่มช่วยเหลือที่มุ่งเน้นชาวโรฮิงญา กล่าว

รัฐธรรมนูญของพม่าที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้อำนาจ และอิสระแก่กองทัพ

ความรุนแรงที่ปะทุขึ้นนาน 3 สัปดาห์จากกองกำลังทหาร เป็นผลสืบเนื่องจากเหตุสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจ 9 นาย ที่ฐานชายแดน เมื่อวันที่ 9 ต.ค. ในรัฐยะไข่ ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวโรฮิงญามากกว่า 800,000 คน

แม้ชาวโรฮิงญาเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในพม่ามาหลายชั่วอายุคน แต่ชาวโรฮิงญาถูกขัดขวางจากการเป็นพลเมืองของพม่า และนับตั้งแต่ความรุนแรงระหว่างชุมชนปะทุขึ้นในปี 2555 มีประชาชนมากกว่า 100,000 คน ต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัยของตนเองไปพักในค่ายผู้พลัดถิ่นชั่วคราวที่มีตำรวจควบคุม บางคนพยายามที่จะหลบหนีทางเรือ แต่หลายคนจบเส้นทางการหลบหนีด้วยการกลายเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ หรือถูกจับตัวเรียกค่าไถ่

การปราบปรามของทหารในเวลานี้ได้ทำให้ประชาชนราว 15,000 คน ในพื้นที่รัฐยะไข่ ต้องหลบหนีออกจากบ้านในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และภาพถ่ายดาวเทียมจากฮิวแมนไรท์วอชยังเผยให้เห็นหมู่บ้านที่ถูกเผา และประชาชนรายงานว่า เสบียงอาหารกำลังร่อยหรอลงเรื่อยๆ ขณะอยู่ภายใต้การปิดล้อมโจมตี

สก็อต มาเซียล ทูตสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศพม่าสืบสวนในข้อกล่าวหาและอนุญาตให้หน่วยงานด้านมนุษยธรรมเข้าถึงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือ

“เราได้รับรายงานการละเมิดที่ร้ายแรงมาก เราได้แสดงความวิตกต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลและเรียกร้องให้รัฐบาลมีความโปร่งใส ดำเนินการตามกฎหมาย และเคารพสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคนในการตอบสนองต่อเหตุโจมตี และรายงานการละเมิดที่มีขึ้นหลังจากนั้น” โฆษกสถานทูตสหรัฐฯ ในนครย่างกุ้ง กล่าว

หลายครอบครัวในรัฐยะไข่พึ่งพาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งอาหาร และการดูแลสุขภาพ แต่ว่าการสนับสนุนดังกล่าวต้องยุติลงหลายสัปดาห์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้คนนอกเข้าไปในพื้นที่.
กำลังโหลดความคิดเห็น