xs
xsm
sm
md
lg

หน่วยงานต่างชาติบ่นอุบพม่าปิดล้อมพื้นที่ขวางการทำงาน ชาวยะไข่โวยลำเอียงช่วยแต่โรฮิงญา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวพุทธยะไข่ตั้งป้ายที่มีข้อความเขียนว่า เราไม่ต้องการความช่วยเหลือใดๆ จากสหประชาชาติ องค์กรเอกชนนานาชาติ --หม่องดอ รัฐยะไข่ ที่ด้านนอกวัดแห่งหนึ่งซึ่งกลายเป็นที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ลี้ภัยในเมืองหม่องดอ เมื่อวันที่ 19 ต.ค. -- Agence France-Presse/Khine Htoo Mrat.</font></b>

เอเอฟพี - ความช่วยเหลือด้านอาหารสำหรับผู้คนมากกว่า 80,000 คน ในหลายพื้นที่ของภาคตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า ต้องถูกระงับลง เนื่องจากการปิดล้อมทางทหารในพื้นที่ ตามการระบุของโครงการอาหารโลก

กองกำลังทหารได้ระดมเข้าไปในพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ ใกล้ชายแดนบังกลาเทศ นับตั้งแต่เกิดเหตุโจมตีฐานตำรวจเมื่อกว่าสัปดาห์ก่อน และปิดพื้นที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา

กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้สังหารผู้ต้องสงสัยไปอย่างน้อย 30 คน นับตั้งแต่เกิดเหตุโจมตี ตามการรายงานของสื่อทางการ ขณะที่จำนวนผู้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่อย่างน้อย 40 คน โดยผู้ต้องสงสัย 11 คน ถูกจับกุมตัวในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา และตอนนี้เจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการสอบสวน ตามคำแถลงของรัฐบาล

โดยปกติโครงการอาหารโลกจะช่วยเหลือผู้คนราว 80,000-85,000 คน ในพื้นที่ที่ถูกปิดตาย แต่การจัดส่งความช่วยเหลือเวลานี้กลับถูกขัดขวาง เนื่องจากทหารห้ามเสบียงใดๆ ผ่านเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว

“มีทหารอยู่ทุกที่ และประกาศใช้เคอร์ฟิว ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะเข้าไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ตามปกติแล้วพื้นที่นั้นเราดำเนินโครงการอยู่” เจ้าหน้าที่จากสำนักงานหุ้นส่วนโครงการอาหารโลกในพม่า กล่าว

นักเคลื่อนไหวกล่าวว่า กองกำลังทหารปราบปรามพลเรือนชาวมุสลิมอย่างรุนแรง และเผาหมู่บ้าน แต่กองทัพระบุว่า เป็นการป้องกันการโจมตี

รัฐบาลกล่าวโทษเหตุโจมตีฐานชายแดนว่าเป็นฝีมือของกลุ่มชาวมุสลิมหัวรุนแรง ที่รู้จักในชื่อ Aqa Mul Mujahidin และกองกำลังต่อสู้ที่มีจำนวนหลายร้อยคนกำลังวางแผนที่จะโจมตีอีก

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดนี้ สร้างความวิตกว่าจะเกิดเหตุความรุนแรงระหว่างศาสนาซ้ำรอยปี 2555 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน และผลักดันให้ชาวโรฮิงญานับหมื่นต้องอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่น

ชาวโรฮิงญาถูกมองว่าเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ ที่พวกเขาต้องเผชิญต่อข้อจำกัดด้านความเคลื่อนไหว การศึกษา และการเข้าถึงอาหาร

ความตึงเครียดระหว่างชุมชนชาวพุทธยะไข่ และชาวมุสลิมโรฮิงญายังคงร้อนระอุตั้งแต่ปี 2555 ความไม่สงบที่เกิดขึ้นทำให้รัฐแตกแยกกันด้วยประเด็นชาติพันธุ์

ชาวยะไข่จำนวนมากที่ยังยากจน และเป็นเหมือนคนกลุ่มน้อยของประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์พม่า รู้สึกไม่พอใจอย่างมาต่อความช่วยเหลือจากต่างชาติที่มอบให้แก่ชาวโรฮิงญา

ในปี 2557 หน่วยงานบรรเทาทุกข์ส่วนใหญ่ถอนตัวออกจากรัฐ หลังม็อบชาวพุทธหัวรุนแรงเข้ารื้อค้นทำลายสำนักงานและคลังสินค้า ด้วยกล่าวหาว่า หน่วยงานเหล่านี้มีความลำเอียงเอื้อประโยชน์ให้ชาวมุสลิม

ความโกรธแค้นนั้นปรากฏให้เห็นที่ภายนอกวัดแห่งหนึ่งในเมืองหม่องดอ ที่เวลานี้กลายเป็นค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราวสำหรับชาวยะไข่ บนป้ายมีข้อความระบุว่า “เราไม่ต้องการการสนับสนุนใดๆ จากสหประชาชาติ หรือองค์กรเอกชนนานาชาติ -- หม่องดอ รัฐยะไข่”

“ผมรู้สึกโกรธมาก เมื่อตอนที่บ้านของพวกเราชาวยะไข่ถูกเผาทำลาย ถูกโจมตีเมื่อปี 2555 พวกเขาไม่เคยบอกให้โลกได้รับรู้” หล่า ฉ่วย ชาวยะไข่ ที่พักอยู่ในวัด กล่าว อ้างถึงหน่วยงานช่วยเหลือบรรเทาทุกข์

“เราคือคนที่กลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ เราคือคนที่ไม่ได้รับสิทธิของพลเมือง พวกเขาควรคิดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนของชาวยะไข่ด้วยเช่นกัน” หล่า ฉ่วย กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น