xs
xsm
sm
md
lg

จีนเล็งเสริมสัมพันธ์ทางทหารกับพม่าใกล้ชิดขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของพม่า (ซ้าย) สัมผัสมือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เมื่อครั้งเดินทางเยือนกรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 19 ส.ค. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทูตและเศรษฐกิจ และในการเยือนพม่าเเมื่อวันศุกร์ (9) พล.อ.เอก สวี่ ฉีเลี่ยง รองประธานคณะกรรมาธิการกลางของจีน ระบุว่าต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางทหารกับพม่าให้แน่่นแฟ้นยิ่งขึ้น. -- Agence France-Presse.</font></b>

รอยเตอร์ - กองทัพจีนต้องการที่จะเสริมความสัมพันธ์กับพม่าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยการดำเนินการแลกเปลี่ยน และร่วมมือมากขึ้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนกล่าวต่ออองซานซูจี ระหว่างเยือนพม่า สื่อของทางการจีนรายงานวันเสาร์ (10)

นับตั้งแต่รัฐบาลของซูจีเข้าสู่อำนาจในเดือน เม.ย. จีนดำเนินการทางการทูตเชิงรุกด้วยมีเป้าหมายที่จะสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านที่อุดมด้วยทรัพยากรแห่งนี้

เมื่อเดือนก่อน ซูจี เดินทางเยือนจีน และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนกล่าวต่อซูจีว่า ต้องการที่จะทำให้แน่ใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง

พล.อ.เอก สวี่ ฉีเลี่ยง รองประธานคณะกรรมาธิการกลางของจีน ที่ควบคุมกองทัพ กล่าวต่อซูจีว่า จีนให้คุณค่าเป็นอย่างสูงต่อความร่วมมือที่เป็นมิตรระหว่างสองประเทศ สำนักข่าวซินหวาของทางการจีน ระบุ

“จีนมั่นคงในนโยบายที่เป็นมิตรต่อพม่า และสนับสนุนกระบวนการสร้างความปรองดองแห่งชาติของพม่า” พล.อ.เอก สวี่ ฉีเลี่ยง กล่าวระหว่างพบหารือเมื่อวันศุกร์ (9) ที่กรุงเนปีดอ

รายงานระบุว่า พล.อ.เอก ฉีเลี่ยง ยังอ้างถึงการเยือนจีนของอองซานซูจี เมื่อไม่นานนี้ ที่ซูจีได้บรรลุมติกับผู้นำจีนเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างจีน และพม่า

และเสริมว่า จีนจะยังคงทำหน้าที่อย่่่างสร้างสรรค์ในการผลักดันกระบวนการสันติภาพของพม่า และหวังให้สองประเทศสามารถทำงานร่วมกันเพื่อรักษาความสงบสุข และความมั่นคงของชายแดน

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซูจี จัดการประชุมครั้งสำคัญที่มีเป้าหมายจะยุติการต่อสู้ระหว่างกองทัพ และกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ ที่หลายครั้งการต่อสู้ส่งผลกระทบต่อฝั่งจีน และมีผู้ลี้ภัยข้ามแดนไปจีนจำนวนมากซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ปักกิ่ง

ซูจี กล่าวว่า การเสริมสร้างมิตรภาพ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทั้งสองประเทศ ตามการรายงานของซินหวา และได้ขอบคุณจีนสำหรับบทบาทในกระบวนการสันติภาพของพม่า

จีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอดีตรัฐบาลเผด็จการทหาร แต่ก็มีความกังวลใจอยู่บ้างต่อกระบวนทางประชาธิปไตยของพม่า

จีนพยายามผลักดันให้พม่าฟื้นการทำงานของโครงการเขื่อนมิตโสน มูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ ที่จีนลงทุน ซึ่งตามแผนเดิมนั้น 90% ของพลังงานที่ผลิตได้จะส่งไปจีน แต่ในปี 2554 ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ของพม่าในขณะนั้น สร้างความไม่พอใจให้แก่จีน เนื่องจากสั่งระงับโครงการเขื่อน ที่ตั้งอยู่ในจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สาย ทางภาคเหนือ ในลุ่มน้ำอิรวดี ด้วยมีการประท้วงเกี่ยวกับความวิตกต่อสิ่งแวดล้อม.
กำลังโหลดความคิดเห็น