xs
xsm
sm
md
lg

มาตามนัด ชาวยะไข่นับร้อยชุมนุมขับไล่ “โคฟี อันนัน” ให้หยุดแทรกแซงเรื่องในท้องถิ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (กลาง) ที่ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาแก้ไขความขัดแย้งในรัฐยะไข่ เดินทางถึงเมืองสิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ วันที่ 6 ก.ย. โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้ความอารักขาดูแล ท่ามกลางการชุมนุมประท้วงต่อต้านของคนในพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้ชาวต่างชาติแทรกแซงกิจการในท้องถิ่น. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>

รอยเตอร์ - ชาวพม่าหลายร้อยคนชุมนุมประท้วงต่อต้านคณะกรรมการที่ปรึกษาที่นำโดย นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ที่จะหาทางแก้ไขปัญหาต่อความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมโรฮิงญาของประเทศ

ชะตากรรมของชาวโรฮิงญาถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของอองซานซูจี ต่อปัญหาสิทธิมนุษยชน และยังแสดงให้เห็นว่า เป็นประเด็นอ่อนไหวทางการเมืองสำหรับพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี ที่ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปีก่อน

พระสงฆ์ และชาวบ้านในพื้นที่รวมตัวประท้วงกันในวันนี้ (6) ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายสิบนาย ทา่มกลางสายฝนที่ตกลงมาในรัฐยะไข่ ด้วยมองว่าเป็น “การแทรกแซงอย่างลำเอียงของชาวต่างชาติ” จากคณะกรรมการทั้ง 9 คน

คำเยาะเย้ยถากถาง และร้องตะโกนประณามคณะกรรมการทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อเครื่องบินของ นายโคฟี อันนัน เดินทางมาถึง กลุ่มผู้ชุมนุมติดตามขบวนรถเข้าไปในตัวเมือง ที่ นายอันนัน ขึ้นกล่าวสุนทรจน์ และพบหารือกับสมาชิกจากทั้งชุมชนชาวพุทธยะไข่ และชาวโรฮิงญา ระหว่างการเยือนเมืองสิตตเว เป็นเวลา 2 วัน

“เรามาที่นี่เพื่อช่วยหาแนวทางและคำแนะนำ” นายอันนัน กล่าวต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และแกนนำจากชุมชนชาวพุทธยะไข่ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนของผู้ชุมนุมประท้วงด้านนอกอาคาร

ชาวยะไข่ อายุ 52 ปี ระบุว่า ไม่ต้องการเห็นชาวต่างชาติมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดนี้ แต่ต้องการให้ชาวยะไข่มีส่วนร่วม ส่วนสมาชิกของคณะกรรมการที่เป็นชาวยะไข่ 2 คนนั้นไม่ได้เป็นตัวแทนของคนในรัฐ

คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งในรัฐยะไข่ ประกอบด้วย ชาวพม่า 6 คน และชาวต่างชาติ 3 คน เดินทางลงพื้นที่เป็นเวลา 2 วัน เพื่อพบหารือกับชุมชนท้องถิ่น และจะเดินทางไปยังค่ายพักของชาวมุสลิมไร้สัญชาติในวันพุธ (7) โดยทางคณะกรรมการหวังว่าจะสามารถเสนอสิ่งที่ค้นพบได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

การประท้วงต่อต้านการเดินทางเยือนของคณะกรรมการชุดนี้ เกิดขึ้นจากการเรียกร้องของแกนนำบางส่วนในพรรคแห่งชาติอาระกัน (ANP) กลุ่มทางการเมืองที่มีอำนาจในรัฐ ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการ และยืนยันว่า ชาวต่างชาติไม่สามารถเข้าใจประวัติศาสตร์ของพื้นที่ได้

“ประเทศนี้มีอธิปไตยของตัวเอง เราจะไม่ยอมรับการแทรกแซงของต่างชาติในกิจการของท้องถิ่น” อ่อง ตัน ไว เลขาธิการคณะกรรมการบริหารพรรค ANP กล่าว

นายอันนัน ได้กล่าวต่อเพื่อนสมาชิกคณะกรรมการ และซูจี ในการประชุมคณะครั้งแรกในนครย่างกุ้ง เมื่อวันจันทร์ (5) ว่า เขาวางแผนที่จะเข้าถึงข้อขัดแย้งของพื้นที่ด้วยความเป็นธรรมอย่างยิ่งยวด และจะรับฟังทุกด้านของความขัดแย้ง.
.

.

.

.

.

.

.

.

.

.
<br><FONT color=#000033>อดีตเลขาธิการสหประชาชาติกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม หลังเดินทางถึงเมืองสิตตเว พร้อมคณะกรรมการที่ปรึกษา. -- Reuters/Wa Lone.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>มุขมนตรีรัฐยะไข่กล่าวต้อนรับนายโคฟี อันนัน และคณะ ก่อนหารือร่วมกันเพื่อหาทางแห้ไขปัญหาในรัฐยะไข่. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.

.
<br><FONT color=#000033>นายโคฟี อันนัน และเจ้าหน้าที่ในคณะกรรมที่ปรึกษารัฐยะไข่ ร่วมหารือกับคณะสงฆ์ในเมืองสิตตเว. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น