xs
xsm
sm
md
lg

พม่าสั่งแบน “สิ้นแสงฉาน” รักข้ามทวีป ในเทศกาลหนังสิทธิมนุษยชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ใบปิดภาพยนตร์ เจ้าหญิงแห่งรัฐชาน จากเทศกาลภาพยนตร์สิทธิมนุษยชน ในนครย่างกุ้งสัปดาห์นี้ หนังแนวรักโรแมนติ หระหว่างหญิงสาวชาวออสเตรเลีย กับเจ้าฟ้าแห่งชาน กลายเป็นความอื้อฉาว เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถูกสั่งแบนในเทศกาลนี้ โดยคำสั่งของรัฐบาลพลเรือน. </b>

เอเอฟพี - คณะกรรมการตรวจสอบภาพยนตร์ของพม่า ระบุว่า คณะได้สั่งห้ามฉายภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวความรักของผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วยวิตกว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวจะทำให้กระบวนการสร้างสันติภาพกับกองกำลังกลุ่มกบฏที่กำลังดำเนินอยู่ต้องหยุดชะงัก

ภาพยนตร์เรื่อง “Twilight Over Burma : My Life as a Shan Princess” หรือในชื่อไทยว่า “สิ้นแสงฉาน” กำกับโดยผู้กำกับชาวออสเตรีย บอกเล่าเรื่องราวความรักที่เกิดขึ้นจริงของหญิงชาวออสเตรีย และการสมรสกับเจ้าชายแห่งรัฐชาน ที่ถูกจับกุมตัวในการทำรัฐประหารของฝ่ายทหารในปี 2505 ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้มีกำหนดออกฉายในคืนวันแรกของเทศกาลภาพยนตร์สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในนครย่างกุ้ง เมื่อวันอังคาร (14)

“เรากังวล และกลัวว่าจะเกิดปัญหาที่ไม่จำเป็นเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ ในขณะที่เรากำลังทำงานเพื่อบรรลุความปรองดองแห่งชาติ” ธิดา ติน รองประธานคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ของกระทรวงแถลงข่าวพม่า กล่าว

ธิดา ติน กล่าวว่า คณะกรรมการมีความวิตกว่า ภาพยนตร์อาจสร้างความไม่พอใจ ขณะที่ฝ่ายบริหารของซูจีเตรียมการที่จะเจรจาสันติภาพครั้งสำคัญกับกลุ่มกบฏชาติพันธุ์ ที่ต่อสู้กับกองทัพมาเป็นเวลายาวนาน และกล่าวหาว่า กองทัพละเมิดสิทธิมนุษยชน

ความขัดแย้งยังคงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่บริเวณชายแดนของประเทศ หลังข้อตกลงหยุดยิงที่ลงนามกันในปีก่อนไม่ประสบความสำเร็จที่จะรวมทุกกลุ่มที่ต่อสู้ในประเทศ

การตรวจสอบคาดว่าจะสร้างความผิดหวังให้แก่หลายคนในแวดวงภาพยนตร์พม่า ที่หวังว่า การเป็นผู้นำของซูจีจะนำมาซึ่งยุคใหม่ของเสรีภาพทางศิลปะ

“มันเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่หนึ่งในภาพยนตร์ของเราไม่ผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ” มิน ถิ่น โก โก ยี ผู้ก่อตั้งงานเทศกาล กล่าว

ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร ภาพยนตร์ และรายงานข่าวจะถูกตรวจสอบเนื้อหาพิจารณาว่า สร้างความเสียหายต่อการปกครองหรือไม่ ขณะที่อดีตรัฐบาลกึ่งพลเรือนที่ยุติการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารในปี 2554 ได้ยกเลิกกฎหมายเซ็นเซอร์ และข้อจำกัดต่างๆ จำนวนหนึ่ง แต่การวิจารณ์กองทัพยังคงเป็นประเด็นอ่อนไหวด้วยกองทัพยังคงมีบทบาทอำนาจในพม่า ที่ควบคุมกระทรวงสำคัญและครองที่นั่ง 1 ใน 4 ของสภา.
.
<br><FONT color=#000033>ผู้ชมภาพยนตร์เดินออกจากโรงหนังที่ตกแต่งด้วยโปสเตอร์งานเทศกาลภาพยนตร์ที่เป็นรูปของนางอองซานซูจี ผู้เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยพม่า บริเวณโถงทางเข้า ระหว่างการจัดฉายภาพยนตร์ในงานเทศกาลภาพยนตร์สิทธิมนุษยชนนานาชาติ ที่จัดขึ้นนาน 6 วัน เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
2
กำลังโหลดความคิดเห็น