xs
xsm
sm
md
lg

ภาคธุรกิจ-นักลงทุนจับตานโยบายเศรษฐกิจ ติงรัฐบาลซูจีให้ความสนใจน้อย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อเดือนก.พ. 2559 เผยให้เห็นโครงการก่อสร้างอาคารในนครย่างกุ้ง โครงการก่อสร้างอาคารสูงหลายแห่งถูกระงับหรือต้องปรับเปลี่ยนแบบโครงการ ตามการตรวจสอบของรัฐบาลชุดใหม่ ส่งผลให้บรรดาผู้พัฒนานักลงทุนเกิดความวิตกถึงผลกระทบที่จะตามมา ขณะเดียวกันบรรดานักธุรกิจนักลงทุนต่างเฝ้ารอรายละเอียดของนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลอองซานซูจี ด้วยในช่วงที่ผ่านมายังไม่มีการประกาศทิศทางหรือยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนใดๆ. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

รอยเตอร์ - พรรครัฐบาลของอองซานซูจี จะเสนอแผนการสำหรับเศรษฐกิจของพม่าในสัปดาห์นี้ ในการประกาศที่รอคอยกันมายาวนานที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ธุรกิจต่างๆ และนักลงทุนที่วิตกมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากขาดรายละเอียดด้านนโยบายที่ชัดเจน

ภาคเอกชนต่างหวังว่าชัยชนะของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปีก่อน จะช่วยกระตุ้นการปฏิรูปอย่างรวดเร็ว แต่ 8 เดือนผ่านไป ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของพรรค NLD ยังคงเป็นปริศนาเสียส่วนใหญ่

“เราไม่เคยได้ยินทิศทาง หรือนโยบายทางเศรษฐกิจในวงกว้าง ไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้นมากเท่าไหร่” วิน วิน ทิน ซีอีโอบริษัท City Mart Holdings Co. Ltd. ที่ดำเนินกิจการซูเปอร์มาร์เกตรายใหญ่ที่สุดของประเทศ กล่าว

วิน วิน ทิน ยังกล่าวว่า แผนขยายซูเปอร์มาร์เกต ไฮเปอร์มาร์เกต และร้านสะดวกซื้อของบริษัทอยู่ในระหว่างการปรับขนาดสำหรับปีหน้า ส่วนหนึ่งเนื่องจากยังขาดนโยบายเศรษฐกิจที่ช่วยสนับสนุน

ขณะที่แผนเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยเพิ่มความชัดเจนบางอย่าง แต่ก็มีแนวโน้มว่าอาจจะไม่มากพอที่จะระงับความกังวลทั้งหมดที่มีต่อทิศทางทางเศรษฐกิจในตอนต้นของรัฐบาล

การยกเลิกโครงการพัฒนาที่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารชุดก่อน และการตรวจสอบอย่างกว้างขวางกับโครงการก่อสร้างที่ทำให้งานก่อสร้างอาคารสูงซึ่งสร้างไปได้ครึ่งทางต้องหยุดชะงักลง ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจ

เจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรค NLD กล่าวว่า รัฐบาลจะสรุปวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศในปลายสัปดาห์นี้

หัน ตา มี้น ผู้แทนจากคณะกรรมการประสานงานด้านเศรษฐกิจแห่งชาติ (NECC) ชุดใหม่ กล่าวว่า นโยบายจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาเกษตรกรรม และการสร้างงานในภาคเอกชน แต่ยอมรับว่านโยบายยังมีรายละเอียดน้อย

“นโยบายจะครอบคลุมหลายสิ่งด้วยกัน แต่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงมากนัก” หัน ตา มี้น กล่าว

เศรษฐกิจที่ปิดตัวจากโลกภายนอกมาเป็นระยะเวลายาวนานของพม่าในเวลานี้กลายเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วที่สุดของโลก ด้วยอัตราการขยายตัวที่ 7-8% ต่อปี นับตั้งแต่ทหารยอมสละอำนาจการปกครองโดยตรงในปี 2554 และนำไปสู่การปฏิรูปอย่างกว้างขวางภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีเต็งเส่ง

แม้จะถูกห้ามจากการเป็นประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญที่ทหารร่างขึ้น แต่ออกซานซูจี เป็นผู้ตัดสินใจสุดท้ายในรัฐบาลพรรค NLD ที่เข้าบริหารประเทศในเดือน เม.ย.

แต่จุดสนใจสำคัญของซูจี อยู่ที่กระบวนการสร้างสันติภาพของประเทศ และเมื่อปราศจากการขับเคลื่อนของซูจีในประเด็นทางเศรษฐกิจทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างเชื่องช้า

“ดูเหมือนว่าพวกเขาไม่ได้กำหนดให้ธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้น” วิน วิน ทิน เจ้าของบริษัท City Mart กล่าว

ความรับผิดชอบในการกำกับนโยบายทางเศรษฐกิจตกอยู่กับ กอ มิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและการวางแผน ตำแหน่งที่ต้องดูแลงานที่่ก่อนหน้านี้เคยแยกเป็น 2 กระทรวงแต่พรรค NLD ควบรวมเข้าด้วยกัน

จากการมีรัฐมนตรีช่วยเพียงคนเดียว และความรับผิดชอบที่รวมถึงการเป็นหัวหน้าในคณะกรรมการการลงทุนพม่า (MIC) ทำให้เกิดความวิตกว่า รัฐมนตรีผู้นี้รับผิดชอบงานเกินความสามารถ

และการปฏิรูปคณะกรรมการการลงทุนพม่า (MIC) คณะทำงานสำคัญที่อนุมัติรับรองโครงการการลงทุนจากชาวพม่า และชาวต่างชาติ ทำให้การอนุมัติโครงการต้องชะงักลง และกลับมาเริ่มต้นได้อีกครั้งเมื่อเดือน มิ.ย. เป็นเวลามากกว่า 2 เดือน หลังประธานาธิบดีถิ่น จอ เข้ารับตำแหน่ง

ความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้งานค้างสะสม มีโครงการการลงทุนจากต่างชาติรวมมูลค่า 2,300 ล้าน กำลังรอการอนุมัติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ธุรกิจกล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าจุดสนใจของพรรค NLD นั้นอยู่กับประเด็นอื่น
.
<br><FONT color=#000033>ชาวพม่าเดินผ่านพื้นที่โครงการก่อสร้างที่ถูกระงับในนครย่างกุ้ง . -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>
.
กอ วิน ทัน ผู้อำนวยการคณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารการจัดการการลงทุนและบริษัท กล่าวว่า MIC ได้ประชุมหารือมาแล้ว 2 ครั้ง นับตั้งแต่ปฏิรูปเมื่อเดือนก่อน และได้อนุมัติโครงการการลงทุนของท้องถิ่น และการลงทุนของต่างชาติแล้ว 11 โครงการ รวมมูลค่า 123 ล้านดอลลาร์

ตามข้อมูลของ MIC พบว่า ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รัฐบาลได้อนุมัติโครงการลงทุนจากต่างชาติ 64 โครงการ และโครงการของชาวพม่า 30 โครงการ รวมมูลค่าประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์

และในเดือน มิ.ย. เจ้าหน้าที่จาก MIC ระบุว่า มีอีกโครงการลงทุนอีก 102 โครงการ ที่รอการอนุมัติ

“การทำงานของรัฐบาลดูเชื่องช้า และหยุดชะงัก ผู้คนต่างรอคอยให้รัฐมนตรีตัดสินใจ และกระทรวงต่างๆ ก็มีงานล้นมือเพราะพวกเขาไม่เคยทำงานนี้ และไม่กล้าตัดสินใจ” ที่ปรึกษาธุรกิจที่มีสำนักงานในนครย่างกุ้ง กล่าว

การประกาศที่มุ่งความสนใจในด้านธุรกิจที่จับต้องได้มากที่สุด และใหญ่ที่สุดของรัฐบาลนับจนถึงตอนนี้ คือ การตรวจสอบอย่างกว้างขวางกับโครงการก่อสร้างอาคารสูงในนครย่างกุ้งที่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารชุดก่อน

การตรวจสอบที่รัฐบาลระบุว่า เป็นการตรวจตามกฎระเบียบการแบ่งเขต และความปลอดภัย ทำให้การทำงานในพื้นที่่ก่อสร้าง 185 จุดทั่วเมืองต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว และผลการตรวจสอบใน 12 โครงการแรกโดยรัฐบาล

นครย่างกุ้ง ได้ประกาศไปเมื่อช่วงต้นเดือน และพบว่า โครงการส่วนใหญ่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนโครงการอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นความเคลื่อนไหวที่สร้างความไม่พอใจให้แก่นักพัฒนา ที่พวกเขากล่าวว่า หากโครงการถูกยกเลิกอาจก่อให้เกิดความเสียหายเป็นมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์

“เรารู้สึกผิดหวัง” ติหา ซอ ผู้จัดการบริษัท PSWN Development ที่โครงการอพาร์ตเมนต์หรู 31 ชั้น ของบริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนชั้นลงเหลือเพียง 12 ชั้น กล่าว

บริษัทได้ลงทุนไปแล้ว 9-10 ล้านดอลลาร์ของโครงการมูลค่า 80 ล้านดอลลาร์ ตามการประเมินของบริษัท และจำเป็นที่จะต้องหาทางปรับแผนใหม่

ติหา ซอ ระบุว่า การตัดสินใจเริ่มส่งผลกระทบแบบโดมิโนในอุตสาหกรรมนี้ ทำให้ต้องปลดคนงานก่อสร้าง ผู้รับเหมาตกงาน และลูกค้าตั้งคำถามว่า อพาร์ตเมนต์ที่ซื้อไว้จะเสร็จสมบูรณ์หรือไม่

“หากคนเหล่านี้ไม่สามารถสร้างอาคารได้ ทุกคนที่เกี่ยวข้องต่อโครงการก็จะเดือดร้อน” ติหา ซอ กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น