xs
xsm
sm
md
lg

ภาพชุด -- นำร่องบูรณะอาคารเก่าเมืองเก่าย่างกุ้ง ฟื้นมรดกสถาปัตยกรรมอาณานิคม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อาคารเก่ายุคอาณานิคมบนถนนเมอร์ชานท์ ได้รับการบูรณะฟื้นฟูขึ้นใหม่โดยกองทุน Turquoise Mountain ที่ร่วมมือกับองค์กร Yangon Heritage Trust ในโครงการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมของเมืองให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>

เอเอฟพี - อาคารเก่าทรุดโทรมที่สร้างขึ้นในสมัยอาณานิคมของนครย่างกุ้ง และถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยและร้านค้าของชาวพม่า กำลังกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง หลังได้ทุนบูรณะฟื้นฟูมูลค่า 325,000 ดอลลาร์ ที่ผู้เชี่ยวชาญหวังให้มรดกตกทอดจากยุคเก่าเหล่านี้ เป็นพิมพ์เขียวในการอนุรักษ์สมบัติทางสถาปัตยกรรมแห่งอื่นๆ ของเมือง ที่เสียหายเพราะการละเลยภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารนานหลายปี

ถนนเมอร์ชานท์ ตั้งอยู่ใจกลางย่านกลางเมืองนครย่างกุ้ง เป็นหนึ่งในถนนหลายสายที่เรียงรายไปด้วยโครงสร้างอาคารสูงตะหง่านแต่ทรุดโทรม ที่ย้อนกลับไปในช่วงการปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ที่สิ้นสุดลงในปี 2491 อาคารเก่าจำนวนมากถูกรื้อถอนทำลายจากคลื่นการลงทุนต่างชาติที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารในปี 2554 และผลักดันเมืองเข้าสู่การพัฒนา

แต่เมื่อรัฐบาลชุดใหม่ ที่นำโดยนางอองซานซูจี และพรรคที่สนับสนุนประชาธิปไตยของเธอ เข้ามาแทนที่ นักอนุรักษ์ต่างมีความหวังว่าการเกิดใหม่ของเมืองนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม

"เราไม่เคยเห็นการบูรณะเช่นนี้มาก่อน โดยทั่วไปแล้ว หากเป็นอาคารเก่าก็จะถูกทำลายและสร้างของใหม่ขึ้นมา" อ่อง ทู ผู้อยู่อาศัยที่เปิดร้านน้ำชาภายในอาคาร กล่าว

โครงสร้างอาคารที่งดงาม มีผู้พักอาศัยอยู่ 80 ชีวิต มีทั้งร้านขายก๋วยเตี๋ยว ร้านหนังสือ ร้านรีไซเคิลหนังสือพิมพ์ ร้านตัดผม ร้านรับจ้างพิมพ์ และร้านจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ ทั้งหมดอยู่ในอาคาร 1 หลังที่ได้รับการบูรณะใหม่

ผู้ที่อยู่อาศัยมีความเชื่อศาสนาแตกต่างหลากหลาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติในนครย่างกุ้ง ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่กลับช่วยย้ำเตือนให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างผู้ที่นับถือต่างศาสนาในประเทศที่ความตึงเครียดทางศาสนาได้ปะทุขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจากกลุ่มหัวรุนแรงชาวพุทธต่อต้านมุสลิม

หลายครอบครัวยังคงพักอาศัยอยู่ในอาคาร พร้อมๆ กับที่ช่างไม้ ช่างสี เข้าทำงานนานเกือบปี เพื่อเปลี่ยนโฉมโครงสร้างที่เคยหลุดร่อนให้กลับมาสวยงามเช่นในอดีตอีกครั้ง

"พวกเขามีความสุขกับอาคารใหม่ อาคารดูดีมากๆ" แฮร์รี่ วาร์ดิล จากกองทุนอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม "Turquoise Mountain" ที่ควบคุมงานฟื้นฟูโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายผู้อยู่อาศัย กล่าว

"มันดึงดูดความสนใจจากผู้คนที่เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของโครงการตัวอย่างนี้ เราต้องการที่จะสนับสนุนให้ประชาชนนึกถึงมรดกของตัวเอง" แฮร์รี่ วาร์ดิล กล่าว

นครย่างกุ้ง มีพื้นที่มรดกที่ได้รับการยอมรับ 189 แห่ง แต่ปัจจุบันขาดกฎหมายคุ้มครองเพื่อรักษาพื้นที่เหล่านั้น

.
<br><FONT color=#000033>คนงานวางไม้สักปูพื้นอาคารยุคอาณานิคมหลังหนึ่งในนครย่างกุ้ง. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>เจ้าของร้านค้านั่งดูคนงานปรับปรุงอาคาร ติดตั้งบานไม้สักที่บริเวณด้านหน้า. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>เจ้าของร้านน้ำชานั่งดูคนงานเร่งติดตั้งแผงไม้ด้านหน้าอาคาร. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>แฮร์รี่ วาร์ดิล ตรวจสอบอาคารยุคอาณานิคมหลังหนึ่งที่ได้รับการบูรณะใหม่ โดยหวังให้เป็นโครงการนำร่องให้ประชาชนและทางการเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์อาคารโบราณเหล่านี้. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
ตัน มี้น-อู นักประวัติศาสตร์ที่บริหารองค์กร Yangon Heritage Trust ต้องการที่จะเห็นการปรับโฉมถนนเมอร์ชานท์ ที่องค์กรให้ทุนสนับสนุน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการบูรณะสถานที่อื่นๆ และหวังให้โฉมใหม่ของอาคารช่วยโน้มน้าวคนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่เห็นถึงคุณค่าของการอนุรักษ์ และนำมาซึ่งการระดมทุนเพื่อใช้ในโครงการบูรณะฟื้นฟูสถานที่อื่นๆ ในอนาคต แทนการพึ่งพาการบริจาคเพียงอย่างเดียว

"สำหรับคนส่วนใหญ่ในย่างกุ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศ ผมคิดว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะจินตนาการว่าอาคารเก่าเหล่านี้จะเป็นอย่างไรหากได้รับการบูรณะอย่างดี" ตัน มี้น-อู กล่าว

นักประวัติศาสตร์ผู้นี้ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยมกับรัฐบาลและมุขมนตรีนครย่างกุ้ง ที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด

กลุ่มของเขากำลังผลักดันการวางแผนชุมชนเมืองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ด้วยตระหนักว่านครย่างกุ้งกำลังพยายามที่จะจัดการกับปัญหาคนเร่ร่อนหลายแสนคน การจราจรที่แออัด และการพัฒนาที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว

"มันคือการพิจารณาทุกปัญหาที่แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยราคาถูกหรือระบบขนส่งมวลชน และการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบโดยรวมนี้"
.

.

.
<br><FONT color=#000033>ยังมีอาคารเก่ายุคอาณานิคมอีกหลายแห่งในนครย่างกุ้งที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมเนื่องจากถูกละเลยดูแลตั้งแต่สมัยรัฐบาลเผด็จการทหาร. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น