xs
xsm
sm
md
lg

ลาวผวาหนักสั่งสกัดสวนกล้วยจีนทั่วประเทศ พบสารเคมีพิษมีปัญหาเลิกสัญญาทันที

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ดูเหมือนล้างน้ำธรรมดา แต่เป็นการแช่สารเคมีทั้งหวี เพื่อให้เปลือกดูสวยงามเมื่อกล้วยหอมสุก ลาว ได้พบว่านักลงทุนจีนลักลอบนำสารเคมีเป็นพิษ เข้าไปใช้ในการปลูกกล้วยมากมาย. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์ลาวพัดทะนา.</font></b>

MGRออนไลน์ -- นักลงทุนจากจีนยังคงหลั่งไหลเข้าแสวงหาที่ดินเพื่อปลูกกล้วยหอมในลาวอย่างต่อเนื่อง จากแขวงชายแดนลามลงไปยังอีกหลายแขวง แต่หลังจากพบว่านักลงทุนจำนวนมาก ลักลอบนำเข้าสารเคมีที่เป็นพิษ เพื่อใช้ในการปลูกกล้วย และ ใช้เป็นปริมาณมากมาย รัฐบาลในนครเวียงจันทน์ ได้มีคำสั่งห้ามท้องถิ่นต่างๆ ออกใบอนุญาตแก่นักลงทุนจีนอีก และ สวนกล้วยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ห้ามขยายเพิ่มเติมอีก

นับเป็นสถานการณ์ล่าสุด หลังจากสวนกล้วยของนักลงทุนจีนในแขวงบ่อแก้ว ตกเป็นข่าวอื้อฉาว มีการใช้สารเคมีเป็นพิษมากมาย ส่งผลกระทบต่อคนและต่อสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง และ ในที่สุดแขวงดังกล่าว ไม่ออกใบอนุญาตให้นักลงทุนจากจีนรายใหม่ และ ไม่อนุญาตให้ขยายเนื้อที่เพาะปลูก

ตามรายงานของสื่อทางการ ไม่ได้มีแต่แขวงบ่อแก้วเท่านั้นที่ ใช้มาตรการปิดกั้นการลงทุนทำสวนกล้วยหอมของนักลงทุนจีน แต่รัฐบาลลาวได้สั่งห้ามทุกแขวงทั่วประเทศออกใบอนุญาตเพิ่มอีก รวมทั้งไม่อนุญาตให้ขยายเนื้อที่เพาะปลูกที่มีอยู่แล้วเช่นกัน

ตามรายงานของสื่อทางการ นักลงทุนจากจีนยังคงเข้าไปแสวงหาที่ดินในลาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อปลูกกล้วยหอมส่งออก จากแขวงชายแดนภาคเหนือเข้าสู่แขวงหลวงพระบาง ลงไปจนถึงเมืองวังเวียง ในแขวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ สวนกล้วยคืบใกล้เมืองหลวงเข้าไปทุกที

ในแขวงเวียงจันทน์ปัจจุบัน มีบริษัทจีน 2 บริษัท เข้าลงทุนทำสวนกล้วย ในเขตเมืองวังเวียง กับเมืองหินเหิบ รวมเนื้อที่ 177 เฮกตาร์ (1,100 ไร่เศษ) นักลงทุนอีกหลายรายทยอยเข้าสู่แขวงนี้ ด้วยจุดประสงค์เดียวกัน แต่รัฐบาลไม่ให้ออกใบอนุญาตเพิ่มเติมอีก หนังสือพิมพ์ "ลาวพัดทะนา" ของสมาคมนักข่าวแห่งชาติรายงาน อ้างนายพู่คำ แสงดาลา นักวิชาการแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงเวียงจันทน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์สำนักข่าวสารปะเทดลาวเมื่อเร็วๆ นี้

การปลูกกล้วยที่นั่นได้ผลดี และ "ในปัจจุบันมีหลายบริษัท (จากจีน) ได้แสดงเจตจำนง ขอเข้ามาลงทุนปลูกกล้วยในแขวงเวียงจันทน์ และ นักลงทุนรายเก่าขอขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่ม แต่อำนาจการปกครองแขวง ไม่อนุญาตให้ผู้ใด เนื่องจากรัฐบาลมีคำสั่งห้ามเด็ดขาด ไม่ให้มีการลงทุน และ ขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มเติมอีกในขอบเขตทั่วประเทศ.." เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าว

นายพู่คำเปิดเผยด้วยว่า รัฐบาลให้ใช้มาตรการเด็ดขาด หากพบนักลงทุนรายใด ใช้สารเคมีทีเป็นพิษมากเกินขนาด ทำให้เกิดผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อม กับสังคมโดยรวม ให้เพิกถอนใบอนุญาตทันที

อย่างไรก็ตามสำหรับแขวงเวียงจันทน์ เจ้าหน้าที่ได้ตรวจตราอย่างเข้มงวด ทำให้ทุกฝ่ายเคารพระเบียบและกฎหมาย แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้สกัดกั้นการใช้สารเคมีในสวนกล้วย อย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่ให้ใช้เกิดขนาด จึงยังไม่พบการใช้อย่างผิดกฎหมาย และ ไม่พบผลกระทบใดๆ ต่อสังคมในขณะนี้

"ถ้าหากเจ้าหน้าที่ตรวจพบเห็นการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง และ เกินกำหนด จะดำเนินการตามกฎหมาย และ ให้ยุติกิจกรรมการลงทุนในทันที" หนังสือพิมพ์ของทางการอ้าง นักวิชาการการเกษตรฯ แขวงเวียงจันทน์คนเดียวกัน

สัปดาห์ต้น เม.ย.นี้ แขวงบ่อแก้วตกเป็นข่าวครึกโครม เมื่อนายคำพัน เผยยะวง เจ้าแขวง ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวสารทางการว่า ที่นั่นไม่ออกใบอนุญาตให้นักลงทุนจากจีน เข้าเช่าที่ดินทำไร่กล้วยหอมอีก ทั้งยอมรับว่าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ไม่ได้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ปล่อยให้มีการนำเข้า และใช้สารเคมีที่มีพิษต่อสุขภาพร่างกายของผู้คนเป็นจำนวนมาก บางชนิดที่ชาวจีนนำไปใช้ ถูกยกเลิกใช้กันแล้วทั่วโลก

แขวงบ่อแก้ว เป็นเสมือน "สวนกล้วยหอมหลังบ้าน" ของจีน เนื่องจากปัจจุบัน มีนักลงทุนจากจีนเข้าไปปลูกกล้วยหอมที่นั่น มีเนื้อที่รวมกันทั้งหมดกว่า 10,000 เฮกตาร์ หรือ กว่า 62,500 ไร่

บ่อแก้วทั้งแขวงได้กลายเป็นปลายทางยอดนิยม ในการปลูกกล้วยหอม เพื่อส่งไปจำหน่ายในหลายเมือง และมณฑลทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ไปจนถึงบางมณฑลภาคใต้และภาคกลาง ทั้งนี้เนื่องจากบ่อแก้วการคมนาคมขนส่งสะดวกทั่วแขวง อยู่ริมแม่น้ำโขง มีเขตแดนติด อ.เชียงของ จ.เชียงราย เป็นต้นทางของทางหลวงสายเอเชีย เชื่อมไทย ลาว และจีน ระยะทางสั้นที่สุดและทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน

"เนื่องจากสภาพการลงทุนปลูกกล้วยของนักลงทุนต่างประเทศในแขวงบ่อแก้ว ในระยะที่ผ่านมาได้มีปัญหา โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยเคมี รวมทั้งยาฆ่าหญ้าและยาปราบศัตรูพืช ที่ไม่ได้รับการตรวจตราและคุ้มครองจากภาครัฐ ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทางเจ้าแขวงจึงได้มีคำสั่งยุติกิจกรรมปลูกกล้วย โดยไม่อนุญาตให้มีการขยายเนื้อที่ปลูกกล้วยเพิ่มเติมอีก..." สำนักข่าวของทางการกล่าว

เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องไม่ตรวจตราใกล้ชิดทั่วถึง ทำให้สวนกล้วยสร้างปัญหา .. "ทำให้มีการนำเข้าปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาปราบศัตรูพืชที่เป็นอันตรายร้ายแรง และ ที่สำคัญเป็นเคมีที่ทั่วโลกไม่ใช้กันแล้ว แต่นักลงทุนก็ยังคงลักลอบนำเข้ามาใช้.." เป็นอันตรายต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม

เจ้าแขวงบ่อแก้วกล่าวอีกว่า การอนุญาตให้นักลงทุนต่างประเทศปลูกกล้วยในช่วงที่ผ่านมา เกิดประโยชน์ด้านการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนจำนวนหนึ่ง เช่น รายได้จากการสัมปทาน (เช่า) ที่ดิน ทำให้คนในชุมชนมีงานทำ แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นรายรับที่ไม่มั่นคง การใช้แรงงานมีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพจากสารเคมีอันตราย และ ยังทำให้ดินมีสภาพเสื่อมโทรมเร็วอีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น