xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” ประเดิมงานทางการทูตพบหารือ รมว.ต่างประเทศจีน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>หวัง อี้ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศจีน (กลาง) เดินทางถึงกรุงเนปีดอ วันที่ 5 เม.ย. ในการเยือนพม่าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐบาลใหม่ของพม่าเข้าบริหารประเทศในวันที่ 30 มี.ค. -- Xinhua/U Aung.</font></b>

เอเอฟพี - อองซานซูจี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ของพม่า จะพบหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน ในกรุงเนปีดอ วันนี้ (5) ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่พม่า ในการทำหน้าที่การทูตระหว่างประเทศครั้งแรก นับตั้งแต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเข้าบริหารประเทศ

พม่า มองความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ และยังเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ ในฐานะนโยบายต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด ด้วยมีประเด็นเกี่ยวกับสงครามชายแดน และความขัดแย้งในโครงการขนาดใหญ่ที่ปักกิ่งให้การสนับสนุนเป็นวาระสำคัญ

ฝ่ายบริหารพลเรือนชุดใหม่ของพม่า ที่กล่าวสาบานตนในวันที่ 30 มี.ค. ต้องเผชิญต่อความท้าทายทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย เมื่อรัฐบาลเข้ารับช่วงต่อการปกครองจากทหาร

ซูจี ที่ครองตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญ หวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ร่วมหารือในกรุงเนปีดอ

“รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน และอองซานซูจี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของเราจะพบหารือกันในบ่ายวันนี้ในเมืองหลวง” เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

ซูจี ได้รับเชิญจากปักกิ่งในปี 2557 ในความพยายามของจีนที่จะปรับสมดุลผลประโยชน์ของประเทศในพม่าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก่อนการเลือกตั้งเมื่อปีก่อน

สื่อทางการของจีนยืนยันการเดินทางเยือนพม่านาน 2 วัน ของหวัง อี้

อดีตรัฐบาลเผด็จการทหารถูกวิพากษ์วิจารณ์จากความสัมพันธ์ที่แสนอบอุ่นกับจีน ประเทศที่ให้การสนับสนุนบรรดาผู้ปกครองทหารตลอดช่วงปีที่มืดมนที่สุดของการปกครอง ส่วนบรรดานายพลเหล่านั้นได้มอบสัญญาที่อนุญาตนักลงทุนจีนเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศ รวมทั้งการสร้างเขื่อน และเหมือง

ประชาชนที่โหวตให้พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของ ซูจี ในการเลือกตั้งเดือน พ.ย. ต่างหวังว่าการเข้าตักตวงทรัพยากรของประเทศจะยุติลง

ในเดือน มี.ค. ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของพรรค กล่าวว่า รัฐบาลชุดใหม่อาจคิดทบทวนโครงการเขื่อนที่จีนสนับสนุนในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือของประเทศ

โครงการเขื่อนไฟฟ้ามิตโสน มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ถูกระงับลงในปี 2554 โดยรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่ง แต่ปักกิ่งพยายามที่จะฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้ง

สองประเทศยังมีพรมแดนร่วมกัน พื้นที่ที่กลุ่มกบฏต่อสู้กับรัฐบาล และจีนถูกกล่าวหาว่า อนุญาตให้กลุ่มกบฏเข้าดำเนินการในเขตแดนของประเทศ ด้วยหวังคานอำนาจกับเพื่อนบ้าน รวมทั้งเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ต่อการค้าชายแดนผิดกฎหมายที่เป็นแหล่งทุนในการทำสงครามของกลุ่มกบฏ ทั้งหยก ยาเสพติด และไม้

แต่นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ปักกิ่งกระตือรือร้นที่จะแสดงการสนับสนุนรัฐบาลใหม่ และยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อวอชิงตันเพิ่มความสัมพันธ์กับพม่า

ซูจี ที่ถูกห้ามทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญ ได้แสดงให้เห็นแนวปฏิบัติในการจัดการต่อผลประโยชน์ของจีนที่เป็นข้อขัดแย้ง ด้วยการนำการสอบสวนเหมืองทองแดงเลตปะด่อง ในเมืองโมนยวา ที่เป็นการร่วมทุนระหว่างกองทัพพม่า และบริษัทวานเป่าของจีน หลังเกิดเหตุปราบปรามรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อผู้ชุมนุมประท้วง รวมทั้งพระสงฆ์ ในปี 2555

คณะทำงานของซูจี ชี้แนะว่า การก่อสร้างควรได้รับอนุญาตให้ดำเนินต่อไป แม้นักเคลื่อนไหวจะแสดงความวิตกกังวลก็ตาม.
กำลังโหลดความคิดเห็น